กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา(Covid-19) โรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

1. นายชัยนุนอาบีดีนหะยีสะอิ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ
2. นายอัหมัดนุร หะยีสะอิ ผู้จัดการโรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ
3. นายเจะอาลี เจะและผู้อำนวยการโรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ
4. นายอันนูวา สะตาปอผู้ประสานงานโครงการ
5. นางรัชนีหะยีสะอิ ผู้เสนอและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

โรงเรียนปัตตานีวิทยา ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรในปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 และตามมติคณะรัฐมนตรีได้ขยาย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปถึง 30 กันยายน 2564 และในปี2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจา-นุเบกษา เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19)ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุม ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ประกาศระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 นั้น สถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่รวมทั้งพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และปัจจุบันการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล ฉะนั้นการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
ในการนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้โรงเรียนเปิดเรียนแบบ on-site โดยต้องทำเป็นพื้นที่ปลอดโควิด หรือ Covidfreesetting(เปิดเทอมปลอดภัยห่างไกลโควิด-19) ดังนั้นโรงเรียนจึงให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากร ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมาได้มีกิจกรรมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบถ้วน และมีแผนการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงและสุ่มตรวจ ATK เชิงรุกในกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Covid-19) ให้ทันต่อสถานการณ์
โรงเรียนวิทยาอิสลามมูลนิธิ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหานักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) เชิงรุกด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในสถานศึกษา

ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK)

0.00 100.00
2 . เพื่อคัดกรองนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา จากการติดเชื้อโรคไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันและลดการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัด

ร้อยละ 100 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทาง  การศึกษา ที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์สามารถเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

0.00 100.00
3 เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจในชุมชน มีความรู้ในเรื่องวิธีการใช้ชุดตรวจ ATK และการรู้เท่าทันโรคระบาดเชื้อไวรัส โคโรนา (Covid-19) สายพันธุ์ใหม่ Omicron

ร้อยละ 80 ของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจในการนำไปปฏิบัติได้ในการใช้ชุดตรวจ ATK  (Home use)        และการรู้เท่าทันโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) สายพันธุ์ใหม่ Omicron

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 327
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อ/จัดจ้าง ค้นหาและคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อ/จัดจ้าง ค้นหาและคัดกรองด้วยชุดตรวจ ATK ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แอลกอฮอล์สำหรับเช็ดอุปกรณ์ต่าง ๆขนาด 5 ลิตรจำนวน 5 แกลอน ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 2,250.- บาท
  2. เจลล้างมือชนิดขวดฝาปั๊ม ขนาด 450 มล. จำนวน 20 ขวด ๆ ละ 75 บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท
  3. ชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (น้ำลายและจมูก) จำนวน 377 ชุด ๆ ละ 75 บาทเป็นเงิน 28,275.- บาท
  4. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (ผู้ใหญ่)จำนวน20 กล่อง ๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 2,000.- บาท
  5. น้ำยาฆ่าเชื้อ ขนาด 2500 มล. จำนวน 10 ขวด ๆ ละ90 บาท เป็นเงิน 900.-บาท
  6. ถุงมือยางป้องกันเชื้อโรค จำนวน 2 กล่อง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 400.- บาท
  7. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดจำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ1,900 บาท เป็นเงิน 3,800.-บาท
  8. ถุงแดงใส่ขยะติดเชื้อ ขนาด 26×34 นิ้ว จำนวน 5 ห่อ ๆละ 80 บาทเป็นเงิน400.-บาท
  9. ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด 1.0 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 900.- บาท (สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ)รวม40,425บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการคัดกรองโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40425.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้กับนักเรียนแกนนำครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจในชุมชน เรื่อง วิธีการใช้ชุดตรวจ โควิด-19 และการรู้เท่าทัน โรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) สายพันธุ์ใหม่ Omicron

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กับนักเรียนแกนนำครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจในชุมชน เรื่อง วิธีการใช้ชุดตรวจ โควิด-19 และการรู้เท่าทัน โรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) สายพันธุ์ใหม่ Omicron
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600.- บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000.-บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน 2,800.- บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม

- กระดาษถ่ายเอกสาร A4 80 แกรม 500 แผ่น
จำนวน 1 ห่อ ๆ ละ 145 บาทเป็นเงิน 145.- บาท - ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับใบความรู้
จำนวน 100 แผ่น ๆ 0.35 บาทเป็นเงิน 35.- บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินโครงการฯ
จำนวน 100 แผ่น ๆ 0.35 บาทเป็นเงิน 35.- บาท (สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ) รวม8,615 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8615.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,040.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นด้วยชุดตรวจ ATK ไม่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในสถานศึกษาและชุมชน
2. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่สนใจในชุมชนได้รับความรู้เรื่องวิธีการใช้ชุดตรวจ
ATK และการรู้เท่าทันโรคระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) สายพันธุ์โอมิครอน
3. สถานศึกษามีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอในการค้นหาและคัดกรองนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา


>