กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปกครองร่วมใจ ลดภัยอุบัติเหตุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลร่มเมือง

ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง

๑.นายประพาส แก้วจำรัส
๒.นางชะอ้อนนิลพันธ์
๓.นายสวาทจันทมาส
๔.นายประทีปปาลนิล
๕.นายอำนวยบุญชูศรี

เขตพื้นที่ตำบลร่มเมือง (หมู่ที่ ๑ - ๙)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

 

2.00
2 จำนวนจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน

 

4.00
3 จำนวนประชาชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

 

0.00
4 จำนวนประชาชนที่สวมหมวกกันน็อกเมื่อขับขี่มอเตอร์ไซต์/คาดเข็มขัดนิรภัย (คน)

ผู้ที่สวมหมวกกันน๊อคเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ลดลง

2.00 1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนประชาชนที่สวมหมวกกันน็อกเมื่อขับขี่มอเตอร์ไซต์/คาดเข็มขัดนิรภัย

จำนวนประชาชนที่สวมหมวกกันน็อกเมื่อขับขี่มอเตอร์ไซต์/คาดเข็มขัดนิรภัย เพิ่มขึ้น

100.00 300.00
3 เพื่อลดจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนลง

จำนวนจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ลดลง

4.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้วินัยจราจร ขับขี่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้วินัยจราจร ขับขี่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ประชุมวางแผนกำหนดการจัดอบรม ๒.ประสานทีมวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติ ๓.จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร อาหาร สำหรับฝึกอบรม
๔.ดำเนินการอบรมตามกำหนดการ ๕.ประเมินผลการอบรม ๖.สรุปผลและรายงานผลกิจกรรม งบประมาณ ๑.ค่าป้ายกิจกรรมอบรม ขนาด ๑.๒ X ๒.๔ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๕๐๐ บาท ๒.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน ๒ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท ๓.ค่าวิทยากรในการฝึกปฏบัติ จำนวน ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๒ คนเป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท ๔.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คนเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท ๕.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕๐ คน คนละ ๖๐ บาทเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤษภาคม 2565 ถึง 25 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้กฎ กติกา ด้านการจราจรเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถสื่อสารความตระหนัก ความปลอดภัยของชีวิตจากการขับขี่สู่สมาชิกในครอบครัว ๓.มีจำนวนของผู้ปกครองสวมหมวกกันน๊อคในการขับขี่ไปรับส่งบุตรหลานในเขตพื้นที่ตำบลร่มเมือง ร้อยละ ๑๐๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยเหลือชีวิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยเหลือชีวิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ประชุมวางแผนกำหนดการจัดอบรม ๒.ประสานทีมวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติ ๓.จัดเตรียมสถานที่ เอกสาร อาหาร สำหรับฝึกอบรม
๔.ดำเนินการอบรมตามกำหนดการ ๕.ประเมินผลการอบรม ๖.สรุปผลและรายงานผลกิจกรรม งบประมาณ ๑.ค่าป้ายกิจกรรมอบรม ขนาด ๑.๒ X ๒.๔ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๕๐๐ บาท ๒.ค่าวิทยากรในการบรรยาย จำนวน ๒ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาทเป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท ๓.ค่าวิทยากรในการฝึกปฏบัติ จำนวน ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๔ คนเป็นเงิน ๗,๒๐๐ บาท ๔.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ คนเป็นเงิน ๒,๕๐๐ บาท ๕.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕๐ คน คนละ ๖๐ บาทเป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 มิถุนายน 2565 ถึง 8 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้การช่วยเหลือชีวิต และความปลอดภัยเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒.สามารถลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บในการช่วยเหลือผุ้ประสบภัย ร้อยละ ๑๐๐ ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการสาธารณสุข ๓.สามารถพัฒนาศักยภาพด้านบุคลากรที่จะช่วยเสริมในการบริการช่วยเหลือฉุกเฉินกรณีอุบัติเหตุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยน สร้างความปลอดภัย ลดจุดเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยน สร้างความปลอดภัย ลดจุดเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ประสานหน่วยงานร่วมบริเวณจุดเสี่ยง ๒.ดำเนินการแจ้งประสานในเวทีการประชุมประจำเดือนฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง ๓.กำหนดทีมทำงานในการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง จำนวน ๔ จุด ได้แก่
๑. พื้นที่ ม.๑ บริเวณแยกวัดนาโอ่ และหน้าโรงเรียนวัดนาโอ่ ปิปฺผลิกประชาสรรค์
๒.พื้นที่ ม.๘ บริเวณหน้าวัดกลาง และหน้าโรงเรียนวัดกลาง ๓.พื้นที่ ๗ บริเวณสามแยกซอยบ้านกลาง ๔.พื้นที่ ม.๕ บริเวณปากซอย ๔.สรุปและรายงานผล งบประมาณ ๑.ค่าชุดป้ายแสดงเขตชุมชน ขนาด ๓๐ X ๔๕ ซม. พร้อมเสาติดตั้ง ขนาดสูง ๓ เมตร จำนวน ๑๐ ชุด ชุดละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท ๓.ค่าสีสะท้อนแสงสำหรับทาพื้นถนนบริเวณพื้นที่หน้าโรงเรียน ตลาดนัด และวัด ขนาด ๓ ลิตร จำนวน ๑๐ กระป๋อง เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ๔.ค่าอุปกรณ์ในการทาสี (แปรงตาสี , ลูกกลิ้งทาสี) เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 24 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง ร้อยละ ๑๐๐ ๒.เกิดความตระร่วมกันของชุมชน ผู้นำในการสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.สามารถสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
๒.แก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงอุบัติเหตุในชุมชน
๓.ผู้นำชุมชนและได้พัฒนาศักยาภาพของตนเอง
๔.ประชาชนมีความตระหนักร่วมในการสวมหมวกกันน๊อค


>