กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบครบวงจร

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พระหลวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อน โรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบครบวงจร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พระหลวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระหลวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพระหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่นยงและกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานความดัน
1. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงของปีที่ผ่านมา
2. เพื่อใหประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ ปกติได้หรือลดลงจากเดิม

กิจกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้มพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรค
2. เพื่อป้องกันการเกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อน หรือป้องกันนไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มจากที่เป็นอยู่

กิจกรรมการป้องกันโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด
1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเช้าใจเกี่ยวกับ โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตระหนักถึงผลกระทบของพฤติกรรมเสี่ยงจ่อการเกิดโรคหัวใจเเละหลอดเลือด
3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัว สามารถนำความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้สำหรับการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่นยงและกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานความดัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่นยงและกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานความดัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุม วางแผน การดำเนินงานกับอสม.ในแต่ละหมู่บ้าน นัดหมายกลุ่มย่อยเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และอธิบายการใช้เครื่องมือ
  2. คัดกรองค้นหาเบื้องต้น กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและ โคความดันโลหหิตสูง ในกลุ่มประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป ในชุมชนพื้นที่ตำบลพระหลวง โดยเจ้าหน้าที่สาธาณรสุข และอสม. ในช่วง (1ต.ค. 64 - 30 ธ.ค.64)
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการเจาะน้ำตาลในเลือด และวัดความดันโลหิตซ้ำ
  4. ประเมินพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดย

- กิจกรรมทบทวนความรู้ในการปฏิบัติตัว การดูแลตนเองในกลุมเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- กิจกรรม "คุณเลือกแบบไหน" โดยรูปแบบกิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เลือกอาหารและเครื่องดื่ม ในร้านขายของชำ หรือร้านสะดวกซื้อ นำมาวิเคราะห์รูปแบบการบริโภค ตลอดจนน้ำตาลและปริามาณโซเดียม 6. ติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย โดยใช้กิจรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประบเปลี่ยนพฤติกรรม และการเยี่ยมบ้าน ติดตามหลังจากให้ความรู้แล้วทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน 7. ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 พฤษภาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยรายใหม่จากโรคเบาหวานน้อยกว่าหรือเท่ากับปีที่ผ่านมา
  2. อัตราป่วยรายใหม่จากโรคความดันโลหิตสูงน้อยหว่าหรือเท่ากับปีที่ผ่านมา
  3. ร้อยละ 50 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้อยกว่า 110 mg%(จากรายงานผลการตรวจ DTX)
  4. ร้อยละ 50 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิต Systolic >= 140 มม.ปรอท และ/หรือ ความดันโลหิต Diastolic >= 90 มม.ปรอท อยู่ในระดับปกติ (จากรายงานผลการตรวจวัดความดันโลหิต)
  5. ร้อยละ 60 ของกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการตรวจติดตาม (อ้างอิงจากผลงานใน HDC)
  6. ร้อยละ 70 ของกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) (อ้างอิงจากผลงานใน HDC)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดเลือกผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบเข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวาน จากผลการตรสตระดับน้ำตาลในคลินิก โปรแกรม Hos XP เกิน 130 mg%
  2. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  3. ประเมินสภาพของผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน เช่น ระดับน้ำตาลในเลือด ทุกเดือนเป็นเวลา 3 เดือน
  4. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 5.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 50 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไม่เกิน 130 mg% หรือระดับน้ำตาลลดลงจากเดิท (จากรายงานผลการตรวจ FBS)
    2.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตา
  2. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนที่เท้า
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดกรองค้นหาเบื้องต้น กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงโรคหัวใจเเละหลอดเลือด 2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดแจ้งผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น 3.จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  2. ประเมินติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด หลังจากผ่านการอบรมความรู้ และประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยโปรแกรม CV risk มหาวิทยาลัยมหิดล
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของกลุ่มปวยโรคเรื้อรัง มีความรู้ความใจเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง หลังการอบรม (ใช้แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม)
  2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (CVD Risk)
  3. ร้อยละ 5 ของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง ไม่ไเกิดผลกระทบและภาวแทรกซ้อนโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง (รายงานสถิติ จากงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.สูงเม่น)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
2. อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน รายใหม่ลดลง
3. กลุ่มเสี่ยงมีความรุ้ ในการปรับเปลี่่ยนพฤติกรรมสุขภาพ นำไปสู่การลดเสี่ยง เลี้ยงโรคได้
4. ผู้ปวยเบาหวานมีความรู้และความเข้าใจ ในการปฏิบัติตัว
5. ผุ้ป่วยเบาหวานไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิต
6.ผู้ป่วยโรคเรื้อรั มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
7.ผู้ป่วสยโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และสามารถนำความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้สำหรับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


>