กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกาศ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ต้นแบบสูงวัยออกกําลังกายป้องกันภัยพลัดตกหกล้ม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกาศ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข

นางปริญญาวงค์ดาว ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6และคณะ

หมู่ที่ 6 ต.บ้านกาศ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้น ไป มากกว่าร้อยละ 20 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสถิติผู้สูงอายุจากกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่าภาคเหนือเป็นภาคที่มีผู้สูงอายุมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 19.87 และพบว่าจังหวัดแพร่จัดเป็นอันดับที่ 4 ใน 5 จังหวัดที่มีร้อยละผู้สูงอายุมากที่สุดคือร้อยละ 23.99 (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2563) จากแนวโน้มที่เพิ่ม มากขึ้นอย่างต่อเนื่องของประชากรผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและประสาทสัมผัส เป็นต้น ซึ่งจากความเสื่อมต่าง ๆ ดังกล่าว ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และเพิ่มความรุนแรงของโรคประจําตัวมากขึ้น และปัญหาที่พบได้ บ่อยคือ ปัญหาการพลัดตกหกล้ม และมีข้อสะโพกหัก ซึ่งบางรายไม่ไปรับการรักษาโดยการผ่าตัด ทําให้ไม่ สามารถเคลื่อนไหวได้ กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง และเสียชีวิตในที่สุด (โสภิต เลาหภักดี, 2563) เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว การส่งเสริมศักยภาพการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จึงมีความสําคัญและลดอัตราการพลัดตกหกล้มตลอดจนพิการ และเสียชีวิตในผู้สูงอายุได้
จากการศึกษาข้อมูลบ้านกาศเจริญ หมู่ 6 ระหว่างวันที่ 13-17 ธันวาคม 2564 พบว่ามีครัวเรือน ทั้งหมดจํานวน 158 ครัวเรือน จํานวนครัวเรือนที่สํารวจ คือ 116 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 78.37 มีจํานวน ประชากรทั้งหมด 359 คน พบผู้สูงอายุจํานวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 38.44 และปัญหาของชุมชนที่พบ ได้แก่ ผู้สูงอายุไม่มีการออกกําลังกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100 คนในชุมชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 50.71 คนอายุ 35 ปีขึ้นไป ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจําปี คิดเป็นร้อยละ 49.29 และคนอายุมากกว่า 15 ปีมีพฤติกรรมการดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 30.27 (ที่มา : ผลการสํารวจข้อมูลชุมชนบ้านกาศเหนือ โดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่)
และจากการทําประชาคมในหมู่บ้านพบว่าปัญหาที่ได้จากการจัดลําดับความสําคัญลําดับที่หนึ่ง คือ ผู้สูงอายุไม่มีการออกกําลังกายอย่างถูกต้องและเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 100 และจาการวิเคราะห์หาสาเหตุ ของปัญหาแบบมีส่วนร่วม พบสาเหตุที่สําคัญของการไม่ออกกําลังกายในผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุคิดว่าการ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือการออกกําลังกาย การมีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ปวดข้อเข่า ปวดหลัง ทําให้ไม่ สามารถออกกําลังกายได้ และไม่ตระหนักถึงความสําคัญของการออกกําลังกาย นอกจากนี้จากการสํารวจ ข้อมูล ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุใน ชุมชน พบว่าผู้สูงอายุบ้านกาศเจริญ มีความรู้ยังไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 43.33 ทัศนคติเกี่ยวกับการออก กําลังกายไม่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 30 และไม่มีการออกกําลังกาย คิดเป็นร้อยละ 100
จากปัญหาและผลกระทบของการไม่ออกกําลังกายในผู้สูงอายุข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตําบลบ้านกาศ แกนนําชุมชนบ้านกาศเจริญ หมู่ 6 ตําบลบ้านกาศ อําเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และคณะ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่ ได้เห็นถึงความสําคัญของการออก กําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จึงได้ร่วมกันจัดทําโครงการสูงวัยออกกําลังกาย ป้องกันภัยพลัดตกหกล้มขึ้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุบ้านกาศเจริญหมู่ 6 มีความรู้ มีทัศนคติที่ดี และมี พฤติกรรมในการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยมีการพัฒนา ศักยภาพแกนนําชุมชน ได้แก่ อสม. และแกนนําชมรมผู้สูงอายุบ้านกาศเจริญ หมู่ 6 ให้มีศักยภาพในการดูแล และป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนําชุมชน (อสม.) และแกนนําชมรมผู้สูงอายุในชุมชนในการส่งเสริม การออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ

แกนนําชุมชน (อสม.) และแกนนําผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 สามารถส่งเสริมการ ออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตก หกล้มอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการ พลัดตกหกล้มอย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีต่อการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม ที่เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม อย่างเหมาะสม

0.00
4 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 มีพฤติกรรมการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม อย่างถูกต้องและเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 24
กลุ่มผู้สูงอายุ 143
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/05/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพแกนนําชุมชนบ้านกาศเจริญ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนําชุมชนบ้านกาศเจริญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนําชุมชน(อสม.) และแกนนําชมรมผู้สูงอายุ โดยให้ ความรู้เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุบ้านกาศเจริญ หมู่ที่ 6
- ประเมินความรู้โดยใช้แบบวัดความรู้การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (pre-test) - ให้แกนนําทําแบบประเมินความรู้และแบบประเมินสมรรถนะแห่งตนในการ ป้องกันการพลัดตกหกล้มก่อนเข้าร่วมกิจกรรม - สอนการใช้แบบประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุและวิธีการ ประเมินสมรรถนะทางกายให้กับแกนนําชุมชน - ให้ความรู้เรื่องการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่ ความหมายของการพลัดตกหก ล้ม สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการพลัดตกหกล้ม ผลกระทบของการพลัดตกหกล้ม และการ ป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ - สาธิตวิธีการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุให้กับแกนนํา ชุมชนโดยใช้รูปแบบการออกกําลังกายแบบ OTAGO exercise - แกนนําชุมชนสาธิตย้อนกลับการออกกําลังกายแบบ OTAGO exercise - ประเมินความรู้โดยใช้แบบวัดความรู้การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุหลังการอบรม (post-test)

ค่าใช้จ่าย -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ  บาท 25
เป็นเงิน 750 บาท -  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม             จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ  บาท 70
เป็นเงิน 2,100 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                  เป็นเงิน  2,400 บาท -  ค่าถ่ายเอกสารเข้าเล่ม เอกสารความรู้ จำนวน 30 เล่มๆละ 25  บาท เป็นเงิน 750 บาท -  ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน ป้าย1 ๆละ 450 บาท เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6450.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการการคัดกรองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

  • ค่าเอกสารแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป จำนวน  137 ชุด ชุดละ 1  บาท เป็นเงิน 137 บาท
  • ค่าเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงภาวะหกล้ม (Thai FRAT) จำนวน 137 ชุด ชุดละ 1  บาท เป็นเงิน 137 บาท
  • ค่าเอกสารแบบคัดกรองภาวะหกล้ม (TUGT)จำนวน 137 ชุด ชุดละ 1  บาท เป็นเงิน 137 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
411.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้และสาธิตวิธีการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยใช้รูปแบบการออกกําลังกายแบบ OTAGO exercise ให้กับผู้สูงอายุบ้านกาศเจริญ หมู่ที่ 6
- ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้สูงอายุชุมชนบ้านกาศเจริญ โดยการนัดหมายรวมกลุ่ม ผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันเพื่อออกกําลังกายป้องกันการพลัดตกหกล้ม - จัดกิจกรรมการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โดยเป็น การออกกําลังกายในรูปแบบโอทาโก (OTAGO exercise) - ประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (Fall risk assessment)ทดสอบ สมรรถภาพทางกาย โดยใช้การประเมิน Time up and go test Five time sit to stand test - ให้ความรู้เรื่องการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่ ความหมายของการพลัดตกหก ล้ม สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการพลัดตกหกล้ม ผลกระทบของการพลัดตกหกล้ม และการ ป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ - สาธิตวิธีการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุโดยใช้รูปแบบ การออกกําลังกายแบบ OTAGO exercise 9 ท่า ได้แก่ ท่าที่ 1 นั่งยกขา ท่าที่ 2 ยืนยกขาไป ด้านข้าง ท่าที่ 3 งอเข่าไปด้านหลัง ท่าที่ 4 ยืนเขย่งเท้า ท่าที่ 5 ยืนย่อ ท่าที่ 6 ลุกนั่ง ท่าที่ 7 ยืน ต่อส้นเท้า ท่าที่ 8 ยืนงอเข่าไปด้านหลังค้างไว้ และท่าที่ 9 ก้าวชิดไปด้านข้าง - ผู้สูงอายุสาธิตย้อนกลับการออกกําลังกายแบบ OTAGO exercise - ประเมินความรู้โดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการออกกําลัง กาย เรื่อง การออกกําลังกายเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ หลังการอบรม (Re KAP)

ค่าใช้จ่ายประชุมให้ความรู้เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการฝึกการทรงตัว และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ การจัดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ในกลุ่มเสี่ยงที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คนๆละ 1 มื้อๆละ  25 บาท เป็นเงิน 750 บาท -  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คนๆละ1 มื้อๆละ บาท 70 เป็นเงิน 2,100 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท                  เป็นเงิน  2,400 บาท -  ค่าถ่ายเอกสารเข้าเล่ม เอกสารความรู้ จำนวน 30 เล่มๆละ 25 บาท  เป็นเงิน 750 บาท -  ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสาร จำนวน 2  เล่มๆละ100                 บาทเป็นเงิน  200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,061.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดภาระของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุในเรื่องการพลัดตกหกล้ม
2. ลดปัญหาการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน และทําให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3. ผู้สูงอายุมีความรู้และพฤติกรรมการออกกําลังกายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มอย่างถูกต้อง เหมาะสมและสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนได้
4. แกนนําชุมชนสามารถส่งเสริมและพัฒนาควาสามารถในการออกกําลังกายเพื่อป้องกัน การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง


>