กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1.นางเพลินพิศขุนเศรษฐ โทร.0980209596
2.นางสาวอารีย์พูลสมบัติ
3.นางชฎาภรณ์ คงพลับ
4.นางยุพินชิตสุข
5.นางสาวลักษิกา เที่ยงธรรม

ม.4,6,8 และ 9 ต.มะกอกเหนือ เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านดอนศาลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

71.43
2 ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

 

6.98
3 ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

 

53.18
4 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

7.75
5 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

14.80

หลักการและเหตุผล
งานอนามัยแม่และเด็ก เป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการดูแล ตั้งแต่การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดและการดูแลหลังคลอดเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ที่สำคัญ คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่สมบูรณ์ปลอดภัย รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิด - 5ปี ให้มีภาวะโภชนาการที่ดี มีพัฒนาการสมวัย และมีสุขภาพช่องปากที่ดี จากสถานการณ์งานอนามัยและเด็กของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลาทั้ง 4 หมู่บ้าน ยังพบปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรกไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการฝากครรภ์ครั้งแรกช้า เกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อการคลอดเด็กทารกมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และจะเกิดผล
กระทบต่อเนื่อง โดยเด็กอายุ 0-5 ปี พบปัญหาภาวะอ้วน เตี้ย และผอม ปัญหาด้านพัฒนาการเด็ก
จากปัญหาดังกล่าว กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กให้มีคุณภาพมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กปี 2565 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

71.43 75.00
2 เพื่อลดปัญหาเด็กแรกเกิด นน.น้อย

ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลง

6.98 5.00
3 เพิ่มเด็กแรกเกิดที่กินนมแม่

ร้อยละของเด็ก 0-6 เดือนที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

53.18 60.00
4 เพื่อลด เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม  ลดลง

7.75 5.00
5 เพื่อลดเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย ลดลง

14.80 11.00

1.เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด รวมถึงเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี
2.เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิด - 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
3. เพื่อสนับสนุนให้เด็กแรกเกิด - 2 ปี มีพัฒนาการสมวัยสูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ
4. เพื่อส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในการเลี้ยงดูเด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้นำชุมชน แกนนำ อสม. และผู้ปกครองเด็ก 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 15/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ท่าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ จำนวน 10 ท่าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อกำหนดแนวทาง แผนการดำเนินงานและ จัดทำโครงการเพื่อขอรับความเห็นชอบและอนุมัติประสานงานเพื่อเตรียมชุมชน สถานที่ และสำรวจกลุ่มเป้าหมาย ประสานวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์โครงการต่อกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2565 ถึง 6 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แกนนำโครงการ และจำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็ก 0-5 ปี พัฒนาการเด็ก 0-5 ปี แก่วิทยากรประจำฐานการเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด เด็ก 0-5 ปี พัฒนาการเด็ก 0-5 ปี แก่วิทยากรประจำฐานการเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมวิทยากร เพื่อมอบหมายเรื่องการแบ่งฐานการเรียนรู้ของงานอนามัยแม่และเด็ก ประกอบด้วย ฐานที่ 1 ฐานเรียนรู้เรื่องนมแม่ ฐานที่ 2 ฐานเรียนรู้โภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ฐานที่ 3 ฐานชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเพื่อประเมินภาวะโภชนาการเด็ก ฐานที่ 4 ฐานส่งเสริมการอ่าน ฐานที่ 5 ฐานตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิชเด็ก ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 บาท x 1 มื้อ x 10 คน เป็นเงิน250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2565 ถึง 13 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วิทยากรประจำฐานทำความเข้าใจกับเนื้อหาแต่ละฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้และประกวดแข่งขันการคลาน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และประกวดแข่งขันการคลาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ - โภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด- ประโยชน์นมแม่ - โภชนาการเด็ก 0-5 ปี- พัฒนาการเด็ก 0-5 ปี- การส่งเสริมการอ่าน- การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กและหญิงมีครรภ์ ฐานที่ 1ฐานเรียนรู้เรื่องนมแม่ ไวนิล ขนาด 112x 114 cm.จำนวน 2 แผ่นๆละ 190 บาท เป็นเงิน 380 บาท
ฐานที่ 2 ฐานเรียนรู้โภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ไวนิล ขนาด 112x 114 cm. จำนวน 2 แผ่นๆละ 190 บาท เป็นเงิน 380 บาท
ฐานที่ 3 ฐานชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเพื่อประเมินภาวะโภชนาการเด็กค่าอุปกรณ์ในการชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง เครื่องชั่งน้ำหนักแบบนอน 1 เครื่อง ราคา 3,500 บาท เครื่องชั่งดิจิตอลแบบยืน 1 เครื่อง ราคา 1,250 บาท เครื่องวัดส่วนสูงแบบไม้ยกเคลื่อนที่ได้ 1 อัน ราคา 2,800 บาท ไวนิล ขนาด 112x 114 cm.ภาวะโภชนาการเด็ก 2 แผ่นๆละ 190 บาท เป็นเงิน 380 บาท ฐานที่ 4 ฐานส่งเสริมการอ่าน ไวนิล ขนาด 112x 114 cm.จำนวน 2 แผ่นๆละ 190 บาท เป็นเงิน 380 บาท ฐานที่ 5 ฐานตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิชเด็กไวนิล ขนาด 112x 114 cm. จำนวน 2 แผ่นๆละ 190 บาท เป็นเงิน 380 บาท
ค่าวิทยากรประจำฐานที่ 1-4 (ฐานที่ 3 วิทยากร 2 คน) รวมวิทยากรจำนวน 5 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 4,500บาท (อสม.แนะนำให้ความรู้ประจำฐาน) ค่าวิทยากรประจำฐานที่ 5 จำนวน1 คน x 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท (ทันตาภิบาลประจำฐาน) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม,ผู้ร่วมโครงการและวิทยากร จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท x 60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม,ผู้ร่วมโครงการและวิทยากรจำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท x ุ60 คน เป็นเงิน 3,000 บาท ค่านมและไข่มอบให้แก่หญิงตั้งครรภ์และแม่หลังคลอดเพื่อบำรุงน้ำนมและเด็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์เป็นเงิน 3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2565 ถึง 11 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนหญิงมีครรภ์,หญิงหลังคลอด และแกนนำ เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน หญิงมีครรภ์และหลังคลอด ลงบันทึกในสมุดอนามัยแม่และเด็กได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25500.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 1 เล่ม เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2565 ถึง 20 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เอกสารผลการดำเนินงาน จำนวน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,950.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 75
2.หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 75
3.หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
4.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมไม่เกินร้อยละ 7
5. เด็กมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ


>