กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคโควิด19ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านลานช้าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

รพ.สต.บ้านลานช้าง

อบต.เขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙ กระจายไปทุกพื้นที่และในแต่ละวันมีจำนวนผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยโควิด ๑๙ ในประเทศไทย ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๔ มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน ๑๓,๕๗๖ คน , มีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน ๑,๔๔๗,๖๑๔ คนและมีผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน ๑๑๗ คนสำหรับจังหวัดพัทลุง มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน ๓๒ คน มีผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน ๓,๘๖๕ คน มีผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน ๓๕ คน ซึ่งผู้ป่วยโควิดส่วนใหญ่จะมีอาการมีไข้ ตัวร้อน ไอแห้ง อ่อนเพลียซึมลง เจ็บหน้าอกเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายหน้ามืด เวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้องถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส เป็นต้น ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีทางเลือกในการบรรเทาอาการโรคโควิด ๑๙ หลายวิธี เช่น การรับประทานฟ้าทะลายโจรการดื่มน้ำกระชายขาว การสุมยา เป็นต้น สำหรับการสุมยาจะรักษาอาการทางระบบทางเดินหายใจได้ดี เช่น อาการไอจาม เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ฯลฯ
การสุมยา คือ การนำสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า 2 ชนิด มารวมกัน แล้วใช้ความร้อนจากน้ำร้อนเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในตัวยา ระเหยออกมาเพื่อลดอาการหวัดคัดจมูก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานช้าง จึงนำการสุมยามาเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาอาการดังกล่าวข้างต้นแก่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในพื้นที่ เพื่อบรรเทาอาการไอ จาม เจ็บคอ เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคโควิด๑๙

อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคโควิด๑๙      ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้อสม. มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด ๑๙ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด ๑๙ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย        ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้อสม. สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด ๑๙ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้

อสม. สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด ๑๙ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้แก่ผู้อื่นร้อยละ ๘๐

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดกลุ่มให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดกลุ่มให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม25 บ. x 40 คน x1 มื้อ
    = 1000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บ. = 900บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1900.00

กิจกรรมที่ 2 ผลิตและสาธิตการทำสุ่มยาแก่ อสม. จำนวน 40 คน จำนวน 1/2 วัน

ชื่อกิจกรรม
ผลิตและสาธิตการทำสุ่มยาแก่ อสม. จำนวน 40 คน จำนวน 1/2 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่ากะละมังสแตนเลส จำนวน 5 ใบ ใบละ 160 บ. = 800 บาท
  • ค่าผ้าขนหนู ขนาด 30x60 นิ้ว จำนวน 5 ผืน ผืนละ 160 บ. = 800 บาท
  • ตะไคร้ จำนวน 50 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 45บ.
    = 2250 บาท
  • ข่า จำนวน 50 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 45 บ.
    = 2250 บาท
  • ขิง จำนวน 50 กิโลกรัม กิโลกรัมละ  150 บ. = 7500 บาท
  • หัวหอม จำนวน 50 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 50 บ.
    = 2500 บาท
  • มะกรูด จำนวน 50 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 100 บ.
    = 5000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคโควิด ๑๙

2. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด ๑๙ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

3. อสม. สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคโควิด ๑๙ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้แก่ผู้อื่น


>