กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุและเเกนนำชุมชน ลดพุง ลดโรค ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุและเเกนนำชุมชน ลดพุง ลดโรค ด้วยการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองการศึกษา เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

กองการศึกษา เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ในสภาวะสังคมปัจจุบัน วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนคนไทย เข้าสู่สภาวะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอยู่ การดำเนินชีวิตประจำวันถูกครอบงำด้วยวิถีสังคมแบบโลกตะวันตก และสังคมเมือง พฤติการณ์การบริโภคอาหารสำเร็จรูป อาหารจำพวกแป้ง และอาหารขยะที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามกระแสนิยมและสื่อโฆษณาต่าง ๆ การผลิตอาหารของผู้ประกอบการที่มีการแข่งขัน ทำให้ต้องใช้สารเคมีชนิดต่าง ๆ เข้ามาเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเร่งผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคจนขาดการตระหนักถึงสารเคมีตกค้างที่อาจสะสมในร่างกาย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าคนไทย พฤติกรรมสุขภาพของประชากร ปี 2564 สำรวจ 84,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ พบว่า พฤติกรรมของคนไทยที่นิยมรับประทานเป็นประจำ หรือความถี่ 3-7 วันต่อสัปดาห์คือ อาหารไขมันสูง 42% อาหารแปรรูป 39% และเครื่องดื่มเติมน้ำตาลบรรจุขวดที่ไม่มีแอลกอฮอล์ 34% สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยกำลังขาดความมั่นคงทางอาหาร และยังเสี่ยงต่อการป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ในระยะยาว วัยเด็กวัยเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง เรียกว่าตั้งแต่เกิด เราเจอปัญหาเด็กรุ่นใหม่ที่ได้กินนมแม่มีแค่ 17-25% ทั้งที่นมแม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ส่วนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทยกินหวาน มันเค็มมากขึ้นจนมีภาวะอ้วน ทั้งยังไม่มีกิจกรรมทางกาย เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วน และเผชิญโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะโรค NCDs" จากพฤติกรรมดังกล่าวของประชาชนพบว่าประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาโรคติดต่อเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ๕ โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ซึ่งมีแนวโน้มและสถานการณ์เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์ระบบทุนนิยมที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ เกิดความเสื่อมถอย และล่มสลายของสถาบันครอบครัว สถานบันทางสังคม การดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบ เกิดค่านิยม วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่เพียงพอ และขาดความสมดุล สภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัย ขาดการใส่ใจดูแลและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมบริโภคไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย เกิดจากความเครียดไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมหาทางออกโดยการกินอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ทำให้มีภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน เป็นสาเหตุหลักของโรคที่เกิดจากการดำเนินวิถีชีวิต หากไม่หยุดยั้งปัญหาได้จะทำให้เกิดการเจ็บป่วย พิการและเสียชีวิตมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาลนั้น
เทศบาลตำบลทุ่งหว้าได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯพนักงานเทศบาล ผู้สูงอายุและผู้นำชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการรักษาและการดูแลเอาใจใส่สุขภาพในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทายกายที่เหมาะสม๓ อ. (ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาหารสะอาดปลอดภัย อารมณ์ดี)
๒ ส. (งดสูบบุหรี่ งดสุรา ) ๑ ฟ. (ฟันสะอาด)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุและแกนนำชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและดูแลเอาใจใส่สุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  1. ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและดูแลเอาใจใส่สุขภาพตัวเองด้วยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพร้อยละ 100
100.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชน มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเกิดจากการสูบบุหรี่

2.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเกิดจากการสูบบุหรี่ร้อยละ 100

100.00 0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชน มีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน

3.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชน ลดพุง ลดโรค ด้วยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชน ลดพุง ลดโรค ด้วยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ประชุมคณะทำงานผู้เกี่ยวข้องตามโครงการ 2. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ 3. จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับวัยและความสนใจ 4. ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย และการสาธิตการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 5. ติดตามประเมินผล สรุปโครงการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคต่างๆที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
กิจกรรมที่ 1 2 ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน ๆ คนละ  3 ชั่วโมง ๆ ละ
300.-บาท  เป็นเงิน  1,800.-บาท 2 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน
80 ชุด ๆ ละ 25.-บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000.- บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท  เป็นเงิน 4,000.- บาท กิจกรรมที่ 2 1. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้การฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยวิธีการเต้นบาสโลบ จำนวน 40 วันๆ ละ 1 ชั่วโมง ๆ ละ 300.-บาท  เป็นเงิน 12,000.-บาท ค่าใช้สอย 1. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.20X2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย  เป็น 432.-บาท ค่าวัสดุ 1. ค่าวัสดุสำหรับการอบรม (กระเป๋าพร้อมสกรีน สมุด ปากกา)  จำนวน 80  ชุด ๆละ 115.-บาท เป็นเงิน  9,200 บาท
2. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เช่น น้ำดื่ม ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น) เป็นเงิน  4,368-บาท ค่าครุภัณฑ์ 1. ค่าเครื่องขยายเสียงชนิดเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์แบบพกพา
จำนวน  1 ชุด เป็นเงิน 10,000 บาท ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง 2.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงสามารถต่อยอดการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างสม่ำเสมอได้ 3. ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนหันมาสนใจการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
2.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนมีสุขภาพแข็งแรงสามารถต่อยอดการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน อย่างสม่ำเสมอได้
3.ผู้บริหาร สมาชิภสภาฯ พนักงาน ผู้สูงอายุ และแกนนำชุมชนหันมาสนใจการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย


>