กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง

ตำบลศรีสาคร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ Pap smear และคัดกรองตรวจเต้านมด้วยต้นเอง ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไปทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง เห็นถึงความสำคัญในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และ คัดกรองมะเร็งปากมดลูก จึงได้จัดทำโครงการสร้างแรงจูงใจใหม่เพื่อสตรีไทยร่วมใจป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมายจะต้องได้รับการตรวจ เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวในการพัฒนางานสาธารณสุขของตำบลศรีสาคร มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและแนวโน้มสุขภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งปากมดลูก ได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นในระยะที่มีการลุกลาม ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง จึงได้จัดทีม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งปากมดลุก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อให้กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม

กลุ่มสตรีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม เพิ่มร้อยละ ๘๐

0.00
2 ๒ เพื่อให้กลุ่มสตรีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ มะเร็งเต้านม ลดอัตราการเกิดระยะเริ่มแรกและระยะก่อนเป็นได้

กลุ่มสตรีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มและระยะก่อนเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ร้อยละ ๑๐๐

0.00
3 ๓ เพื่อให้กลุ่มสตรีมีสามารถถ่ายทอดความรู้และสร้างพฤติกรรมการเฝ้าระวัง และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ให้กับผู้อื่นได้

กลุ่มสตรีที่สามารถถ่ายทอดความรู้และสร้างพฤติกรรมการเฝ้าระวัง และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ให้กับผู้อื่นได้ร้อยละ 80 (แบบสอบถามก่อน-หลัง)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.การจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
๑.การจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.๑ กิจกรรมย่อย...อบรมให้ความรู้และความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ ๓๐ ปี ขึ้นไป จำนวน ๒๐๐ คน ๔ รุ่นๆละ ๕๐ คน -ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บาท x ๒๐๐ คน = ๑๐,๐๐๐ บาท -ค่าอาหารว่าง ๒๕ บาท x ๒๐๐ คน x ๒ มื้อ = ๑๐,๐๐๐ บาท                                           รวมเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท

๑.๒ กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
           -ชี้แจงให้ อสม.ในการติดตามกลุ่มเป้าหมาย            -กลุ่มเป้าหมายมาคัดกรอง -ค่าอาหารว่าง ๒๕ บาท x ๕๑ คน x ๑ มื้อ = ๑,๒๗๕ บาท -ค่าอาหารว่าง ๒๕ บาท x ๔๐ คน x ๑ มื้อ = ๑,๐๐๐ บาท                                            รวมเป็นเงิน  ๒,๒๗๕ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๒๒,๒๗๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.กลุ่มสตรีที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ –๖๐ ปี จะได้รับความรู้ความเข้าใจ และแรงจูงใจ ในการมาตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ๒.กลุ่มสตรีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ มะเร็งเต้านม สามารถลดอัตราการเกิดและอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ๓.กลุ่มสตรี สามารถถ่ายทอดความรู้และสร้างพฤติกรรมการเฝ้าระวัง และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ให้กับผู้อื่นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.กลุ่มสตรีที่มีอายุตั้งแต่ ๓๐ –๖๐ ปี จะได้รับความรู้ความเข้าใจ และแรงจูงใจ ในการมาตรวจคัดกรอง โรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม
๒.กลุ่มสตรีได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear และ มะเร็งเต้านม สามารถลดอัตราการเกิดและอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม
๓.กลุ่มสตรี สามารถถ่ายทอดความรู้และสร้างพฤติกรรมการเฝ้าระวัง และดูแลตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม ให้กับผู้อื่นได้


>