กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและเพิ่มกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาโหนด ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด/งานสวัสดิการสังคม

ตำบลนาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1,556 คน
จำนวนผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) จำนวน 300 คน

300.00
2 จำนวนผู้สุงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 6 อ

จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1,556 คน
จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 6อจำนวน 300 คน

300.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย/สมุนไพรรักษาโรค

จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1,556 คน
จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย/สมุนไพรรักษาโรค 450 คน

450.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัด SKT1 ลดเครียด ลดโรค

จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1,556 คน
จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัด SKT1 ลดเครียด ลดโรค 150 คน

150.00

ประเทศไทยได้เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศซึ่งจำนวนผู้สูงอายุในตำบลนาโหนด มีทั้งสิ้น จำนวน 1,556 คน อัตราการเกิดที่ลดลงและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทําให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น การที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศต้องมีรายจ่ายด้านสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ครอบครัวต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุเองเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นก็ยิ่งต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมถึงความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ความพิการหรือทุพพลภาพ
นอกจากนี้ สภาพครอบครัวไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต จากที่มีคนหลายรุ่นอยู่ในครัวเรือนเดียวกันกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กันตามลำพังขาดผู้ดูแล และอาจเกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย สถานการณ์ของผู้สูงอายุไทยจึงน่าวิตก การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงควรดำเนินการควบคู่กับมาตรการอื่นๆ ของรัฐเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ซึ่งผู้มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวชุมชน และท้องถิ่นโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีภารกิจโดยตรงในการดูแลผู้สูงอายุรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนและแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดภูมิปัญญา หรือการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการ สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง และชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีความสุข และมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี
ประกอบกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กำหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งได้จำแนกที่มาของอำนาจหน้าที่ดังกล่าวดังนี้ (7) ส่งเสริมพัฒนาสตรี เด็กเยาวชนผู้สูงอายุ และผู้พิการ และมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 มาตรา 16 (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนา คุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาสเทศบาลตำบลนาโหนด จึงได้กำหนดจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและเพิ่มกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุตำบลนาโหนด ประจำปีงบประมาณ 2566เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี และเสริมสร้างการพัฒนาตนเองการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผุ้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาที/สัปดาห์)

ผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาที/สัปดาห์) เพิ่มขึ้น

300.00 370.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 6อ

จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 6อ เพิ่มขึ้น

300.00 370.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย/สมุนไพรรักษาโรค

จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยแพทย์แผนไทย/สมุนไพรรักษาโรค เพิ่มขึ้น

450.00 520.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัด SKT1 ลดเครียด ลดโรค

จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมาธิบำบัด SKT1 ลดเครียด ลดโรค เพิ่มขึ้น

150.00 220.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามหลัก 6 อ. (อาหาร/ออกกำลังกาย/อารมณ์/อนามัยสิ่งแวดล้อม/อโรคยา/อบายมุข)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตามหลัก 6 อ. (อาหาร/ออกกำลังกาย/อารมณ์/อนามัยสิ่งแวดล้อม/อโรคยา/อบายมุข)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ ตามหลัก 6 อ. อาหาร/ออกกำลังกาย/อารมณ์/อนามัยสิ่งแวดล้อม/อโรคยา/อบายมุขกิจกรรมอบรมเรียนรู้จำนวน1 วัน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1 ค่าป้าย โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปีงบประมาณ 2566ขนาด 1.2ม.x2.4ม.จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
2 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากร จำนวน 1มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากร จำนวน 2มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
4 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
รวมทั้งสิ้น 12,200

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้สูงอายุ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คน
ผลลัพธฺ์
1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการอบรมเรียนรู้ตามหลัก 6 อ. (อาหาร/ออกกำลังกาย/อารมณ์/อนามัยสิ่งแวดล้อม/อโรคยา/อบายมุข)
2.ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ นำความรู้มาพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3.ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น
4.ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมทางกายต่อวันเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย รำผ้าขาวม้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการออกกำลังกาย รำผ้าขาวม้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเรียนรู้กิจกรรมเข้าจังหวะ การออกกำลังกายด้วยท่ารำผ้าขาวม้า กิจกรรมอบรมเรียนรู้ จำนวน 1 วัน โดยมีค่าใข้จ้า่ย ดังนีั้
1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 1มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 2มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในการออกกำลังกายผ้าขาวม้าผ้าขาวม้า จำนวน 70 ผืน ผืนละ 100 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 18,600

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้สูงอายุจำนวน 70 คนได้รับการอบรมเรียนรู้กิจกรรมเข้าจังหวะ การออกกำลังกายด้วยท่ารำผ้าขาวม้า จำนวน 1 วัน
ผลลัพธ์
1)ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ นำความรู้มาพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2)ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น 3)คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
4) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดต่อไป
5) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายต่อวันเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการฝึกโยคะเบื้องต้น ฝึกระบบหายใจ ลดความเครียด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการฝึกโยคะเบื้องต้น ฝึกระบบหายใจ ลดความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเรียนรู้ฝึกปฏิบัติเรื่องโยคะเบื้องต้น ฝึกระบบหายใจ ลดความเครียดจำนวน 1 วัน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 1มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 2มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
3 ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 6ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
4 ค่าอุปกรณ์ เสื่อโยคะจำนวน 70 ผืน ผืนละ 300 บาทเป็นเงิน 21,000 บาท
รวมทั้งสิ้น 32,600

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้สูงอายุจำนวน 70 คนได้รับการอบรมเรียนรู้ฝึกปฏิบัติโยคะเบื้องต้น จำนวน 1 วัน
ผลลัพธ์
1)ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ นำความรู้มาพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2) ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
3) ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุได้เรียนโยคะได้ฝึกระบบหายใจ ลดความเครียด
4) ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น 5) คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
6) ผู้สูงอายุ มีกิจกรรมทางกายต่อวันเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทย/สมุนไพรรักษาโรค ต้านโควิด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแพทย์แผนไทย/สมุนไพรรักษาโรค ต้านโควิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเแพทย์แผนไทยเบื้องต้น เรียนรู้ การสาธิตการนวดแพทย์แผนไทย การทำน้ำสมุนไพรรักษาโรค ต้านโควิด อบรมเรียนรู้การทำลูกประคบ จำนวน 1 วัน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 1มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 2มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
3 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ การทำน้ำสมุนไพรรักษาโรค ต้านโควิด และลูกประคบ วัสดุทำลูกประคบ (วัสดุและสมุนไพรต่างๆ) เป็นเงิน 4,200 บาท
5.วัสดุอุปกรณ์ในการต้มน้ำสมุนไพร (หม้อ/ ขวดแบ่งสำหรับใส่น้ำสมุนไพร/แก๊ส ฯลฯ) เป็นเงิน 4,500 บาท
รวมทั้งสิ้น 20,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้สูงอายุจำนวน 70 คนได้รับการอบรมเรียนรู้เรื่องแพทย์แผนไทยเบื้องต้นเรียนรู้การสาธิตการนวดแพทย์แผนไทย-อบรมทำน้ำสมุนไพรรักษาโรค ต้านโควิด กิจกรรมอบรมเรียนรู้ -อบรมเรียนรู้ทำลูกประคบ จำนวน 1 วัน
ผลลัพธ์
1)ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ นำความรู้มาพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2) ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น
3) คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
4) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดต่อไป 5) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายต่อวันเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20300.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสมาธิบำบัด SKT 1 ลดเครียด ลดโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยสมาธิบำบัด SKT 1 ลดเครียด ลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรม เรียนรู้เรื่องสมาธิบำบัด SKT 1 ลดเครียด ลดโรคและเรียนรู้กิจกรรมทางกายปันสุข เช่น -กิจกรรมปิดตาแต่งหน้า-กิจกรรมตีกอฟสล์-กิจกรรมการแสดงกล่อมลูกน้อย จำนวน 1 วัน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 1มื้อๆ ละ 50 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการฯเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและวิทยากรจำนวน 2มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
3 ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 6ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมทางกายปันสุข ประกอบด้วย
-กิจกรรมปิดตาแต่งหน้า (เสื้อแม่ไก่/ปัดแก้ม/แป้งฝุ่น/ลิป/เขียนคิ้ว/คาดผม/ยางมัดผม) เป็นต้น
-กิจกรรมตีกอล์ฟ (มะเขือยาว/ลูกปิงปอง/เชือก) เป็นต้น
-กิจกรรมการแสดงกล่อมลูกเป็นเงิน 3,000 บาท รวมทั้งสิ้น14,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้สูงอายุจำนวน 70 คนได้รับการอบรมเรียนรู้สมาธิบำบัด SKT 1 ลดเครียด ลดโรค และกิจกรรมทางกายปันสุข จำนวน 1 วัน เช่น -กิจกรรมปิดตาแต่งหน้า-กิจกรรมตีกอฟสล์-กิจกรรมการแสดงกล่อมลูกน้อย
ผลลัพธ์
1)ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุ นำความรู้มาพัฒนาตนเองให้มีสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 2) ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น 3) คุณค่าทางภูมิปัญญาของผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ
4) ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นดำรงสืบทอดต่อไป 5) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายต่อวันเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 98,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุไ้ด้รับการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 6อ เพิ่มขึ้น ทำให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุได้เรียนโยคะได้ฝึกระบบหายใจ ลดความเครียด
3ผู้เข้าสู่วัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมีกิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น
4. ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายต่อวันเพิ่มขึ้น


>