กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการครอบครัวต้นแบบด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล

เทศบาลตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด3,048 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนที่มีการคุัดแยกขยะ 624 ครัวเรือน

20.47
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,048 ครัวเรือน
ครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร 440 ครัวเรือน

14.43
3 ปริมาณขยะทั้งหมดที่ครัวเรือนผลิตต่อวัน (ก.ก.)

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,048 ครัวเรือน
ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน 0.66 กก.

2,011.68

จากการสำรวจข้อมูลประชากร ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 ตำบลนาโหนด มีจำนวนประชากรตามฐานทะเบียนราษฎร์ จำนวน 8,473 คน ครัวเรือนทั้งสิ้นจำนวน 3,048ครัวเรือน ซึ่งในปี 2565 เทศบาลตำบลนาโหนด ได้ดำเนินการโครงการตำบลสะอาด ลดแหล่งพาหนะนำโรค ชุมชนนาโหนด โดยได้ทำการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการคัดแยกขยะแก่ครัวเรือนนำร่องใน 11 หมู่บ้าน ๆ ละ 40 ครัวเรือน รวม 11 หมู่บ้าน 440 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 14.43 ของครัวเรือนทั้งหมด และให้ครัวเรือนนำร่องนำความรู่้ที่ได้รับจากการอบรมไปขยายผลยังครัวเรือนข้างเคียง และตอบแบบสำรวจการจัดการขยะในครัวเรือน ปรากฏว่ามีครัวเรือนที่ตอบแบบสำรวจ จำนวน 707 ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะ จำนวน 624 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.26 ของครัวเรือนที่ตอบแบบสำรวจ และคิดเป็นร้อยละ 20.47 ของครัวเรือนทั้งหมด ในส่วนของปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ต่อวัน โดยคิดเฉลี่ยตามน้ำหนักขยะที่เทศบาลนำไปกำจัดที่เทศบาลเมืองพัทลุง ปริมาณน้ำหนักขยะ เฉลี่ยเดือนละ 2,000 กิโลกรัม หรือ 2 ตัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

20.47 70.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร และสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร และสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

14.13 50.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิดต่อวัน

ปริมาณขยะทั้งหมดที่ครัวเรือนผลิตต่อวัน/ครัวเรือน (ก.ก.)

2011.68 1524.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครัวเรือนในตำบลนาโหนด 1,100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมผู้แทนหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน ๆ ละ 2 คน รวม 22 คนเพื่อกำหนดจำนวนครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ พร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ
2.แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบครัวเรือนเป้าหมาย โดยคณะทำงาน 1 คน รับผิดชอบครัวเรือนเป้าหมาย 10ครัวเรือน
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับตัวแทนหมู่บ้านที่เข้าร่วมประชุม จำนวน 22 คน และผู้เกี่ยวข้อง 5 คน รวม 27คน ๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 675 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2566 ถึง 20 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ผู้แทนหมู่บ้านเข้าร่วมประชุม จำนวน 22 คน และเจ้าหน้าที่ 5 คน รวม 27 คน
ผลลัพธ์
1.ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบแนวทางการดำเนินโครงการ
2.ได้จำนวนครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ
3.มีคณะทำงานรับผิดชอบครัวเรือนเป้าหมาย 1คน/10 ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
675.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงานเพื่อรับทราบรายละเอียดโครงการ และรับมอบหมายภารกิจ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน จำนวน 110 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน รวม 115 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,875 บาท
2.ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน จำนวน 1,100 ชุด ๆ ละ 2 ใบ ๆ ละ 0.55 บาท เป็นเงิน 1,210 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มกราคม 2566 ถึง 27 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 115 คน
2.ได้แบบสำรวจข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือน จำนวน 1,100 ชุด
ผลลัพธ์
คณะทำงานรับทราบรายละเอียดโครงการ และรับทราบภารกิจที่จะต้องดำเนินการ และสามารถดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4085.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือน แนะนำและสาธิตการจัดการขยะแบบครบวงจรในครัวเรือนเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือน แนะนำและสาธิตการจัดการขยะแบบครบวงจรในครัวเรือนเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมแนะนำให้ความรู้การจัดการขยะแบบครบวงจร และสาธิตการทำถังขยะเปียกในครัวเรือนเป้าหมาย โดยคณะทำงานของแต่ละหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ จำนวน 1,100 ครัวเรือน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าสำรวจและบันทึกข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือน จำนวน 1,100 ครัวเรือน ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 11,000 บาท
2.ค่าวัสดุสาธิต (ถังขยะเปียก) จำนวน 1,100 ใบ ๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน 99,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
ครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 1,100 ครัวเรือน ได้รับการสำรวจการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน
ผลลัพธ์
1.มีข้อมูลการจัดการขยะในครัวเรือนของครัวเรือนเป้าหมาย จำนวน 1,100 ครัวเรือน
2.ครัวเรือนเป้าหมาย มีความรู้ในการจัดการขยะแบบครบวงจร มีการจัดทำถังขยะเปียกประจำครัวเรือน
3.เกิดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะแบบครบวงจรที่เป็นแบบอย่างแก่ครัวเรือนอื่นๆ ได้
4.ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
110000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คณะทำงานติดตามผลการดำเนินการบริหารจัดการขยะครัวเรือนเป้าหมาย ครัวเรือนละ 1 ครั้ง/เดือน จำนวน 6 เดือนรวม 6 ครั้ง พร้อมบันทึกผลการติดตามตามแบบฟอร์มบันทึกผล
2.จัดประชุมคณะทำงานเพื่อนำเสนอผลการติดตามต่อเจ้าหน้าที่โครงการ
3.นำเสนอครัวเรือนที่มีผลการบริหารจัดการขยะในครัวเรือนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด หมู่บ้านละ 3 ครัวเรือน
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับการประชุมคณะทำงานเพื่อนำเสนอผลการติดตามฯ จำนวน 115 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,875บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 20 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
คณะทำงานเข้าร่วมประชุม จำนวน 110 คน เจ้าหน้าที่ 5 คน รวม 115 คน
ผลลัพธ์
1.รับทราบผลการดำเนินการบริหารจัดการขยะของครัวเรือนเป้าหมาย
2.รับทราบปริมาณขยะของครัวเรือนเป้าหมาย ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ
3.ได้ครัวเรือนตัวอย่างที่มีการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน ตามเกณฑ์ที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2875.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีการนำเสนอผลการบริหารจัดการขยะของกลุ่มเป้าหมายต่อชุมชน นำเสนอผลิตพันธ์ที่ได้จากการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน มอบเกียรติบัตรแก่ครัวเรือนที่มีการบริหารจัดการขยะดีเด่่น โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน (อาหารกล่อง) สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
3.ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 33 ชิ้น ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท
4. ค่าจัดสถานที่ สำหรับการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยเรียนรู้เป็นเงิน 3,000 บาท
5.ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าถ่ายเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 150 คน
ผลลัพธ์
1.ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร
2.มีครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะแบบครบวงจรในตำบล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 138,835.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2.ครัวเรือนมีการจัดการขยะแบบครบวงจร และสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ครัวเรือนอื่นๆ ได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง โดยครัวเรือนเป้าหมายมีปริมาณขยะต่อวันไม่เกิน 0.50 กก.
4.ปริมาณขยะในภาพรวมลดลง โดยมีขยะเฉลี่ยต่อวัน ไม่เกินวันละ 1,500 กิโลกรัม หรือ 1.5 ตัน


>