กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวต้นแบบด้านการจัดการขยะแบบครบวงจร
รหัสโครงการ 66-3357-01-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาโหนด งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 138,835.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิภาดา เต็มยอด หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลนาโหนด
พี่เลี้ยงโครงการ นางธมล มงคลศิลป์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด3,048 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนที่มีการคุัดแยกขยะ 624 ครัวเรือน

20.47
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,048 ครัวเรือน
ครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร 440 ครัวเรือน

14.43
3 ปริมาณขยะทั้งหมดที่ครัวเรือนผลิตต่อวัน (ก.ก.)

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,048 ครัวเรือน
ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน 0.66 กก.

2,011.68

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจข้อมูลประชากร ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 ตำบลนาโหนด มีจำนวนประชากรตามฐานทะเบียนราษฎร์ จำนวน 8,473 คน ครัวเรือนทั้งสิ้นจำนวน 3,048ครัวเรือน ซึ่งในปี 2565 เทศบาลตำบลนาโหนด ได้ดำเนินการโครงการตำบลสะอาด ลดแหล่งพาหนะนำโรค ชุมชนนาโหนด โดยได้ทำการลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการคัดแยกขยะแก่ครัวเรือนนำร่องใน 11 หมู่บ้าน ๆ ละ 40 ครัวเรือน รวม 11 หมู่บ้าน 440 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 14.43 ของครัวเรือนทั้งหมด และให้ครัวเรือนนำร่องนำความรู่้ที่ได้รับจากการอบรมไปขยายผลยังครัวเรือนข้างเคียง และตอบแบบสำรวจการจัดการขยะในครัวเรือน ปรากฏว่ามีครัวเรือนที่ตอบแบบสำรวจ จำนวน 707 ครัวเรือน มีการคัดแยกขยะ จำนวน 624 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 88.26 ของครัวเรือนที่ตอบแบบสำรวจ และคิดเป็นร้อยละ 20.47 ของครัวเรือนทั้งหมด ในส่วนของปริมาณขยะที่จัดเก็บได้ต่อวัน โดยคิดเฉลี่ยตามน้ำหนักขยะที่เทศบาลนำไปกำจัดที่เทศบาลเมืองพัทลุง ปริมาณน้ำหนักขยะ เฉลี่ยเดือนละ 2,000 กิโลกรัม หรือ 2 ตัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

20.47 70.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร และสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดการขยะแบบครบวงจร และสามารถเป็นครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ

14.13 50.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิดต่อวัน

ปริมาณขยะทั้งหมดที่ครัวเรือนผลิตต่อวัน/ครัวเรือน (ก.ก.)

2011.68 1524.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 138,835.00 1 425.00
17 - 20 ม.ค. 66 กิจกรรมประชุมเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 0 675.00 425.00
24 - 27 ม.ค. 66 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน 0 4,085.00 -
6 - 10 ก.พ. 66 กิจกรรมสำรวจข้อมูลการจัดการขยะครัวเรือน แนะนำและสาธิตการจัดการขยะแบบครบวงจรในครัวเรือนเป้าหมาย 0 110,000.00 -
1 มี.ค. 66 - 20 ส.ค. 66 กิจกรรมติดตามประเมินผล 0 2,875.00 -
28 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 21,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2.ครัวเรือนมีการจัดการขยะแบบครบวงจร และสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ครัวเรือนอื่นๆ ได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3.ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลง โดยครัวเรือนเป้าหมายมีปริมาณขยะต่อวันไม่เกิน 0.50 กก.
4.ปริมาณขยะในภาพรวมลดลง โดยมีขยะเฉลี่ยต่อวัน ไม่เกินวันละ 1,500 กิโลกรัม หรือ 1.5 ตัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2565 00:00 น.