กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

อสม.เครือข่ายศูนย์บริการสาธารณสุขเมืองกิโลเมตรที่ 3 โรงพยาบาลเบตง
กลุ่มคน (ระบุ 5 คน)
1. นายอับดุลซอมะ แดบ็อกโทร 0987274849
2. นายมาโซ มะดะฮู โทร 0842142859
3. นายจิตรภณ บุญเกิดโทร 0650497364
4. นางจรรยา บากาโทร 0883962162
5. นางสิทธิสา มะราฮิงโทร 0937871042

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่ามีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ ๒ ปี (พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๔) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๕ จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง ๙๕,๐๐๐ ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ ๑๐,๐๐๐ – ๑๖,๐๐๐ รายต่อเดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน)
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การทีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
PCU กม.3 แกนนำสุขภาพ มีประชากรในเขตพื้นที่จำนวนชุมชนมีประชากร ทั้งหมด 9,233 คน จำนวนบ้านทั้งหมด 2,826 ครัวเรือน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่ายังพบอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ปี 2564 จำนวน - คน อัตราป่วย - ต่อแสน ,ปี 2565 จำนวน 7 คน อัตราป่วย 0.01ต่อแสน,จากสถานการณ์ในปัจจุบันแม้อัตราป่วยในปี 2565 ยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานแต่ด้วยความรุนแรงของโรค ถือว่าโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในท้องถิ่นที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข PCU งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยให้ อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีส่วนร่วมรณรงค์ในการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดยุงตัวแก่ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน เทศบาลโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองเบตง จึงได้จัดทำโครงการ “รวมพลังพิชิตยุงลายป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น
ดังนั้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข PCU กม.3 แกนนำสุขภาพ ได้เล็งเห็นถึงอันตรายและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักของการเกิดโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในประชาชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอนึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและสร้างเครือข่ายในการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก

ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรค  ก่อนและหลังเข้าร่วมอบรมโดยเกณฑ์ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อสร้างความร่วมมือกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่าเข็มแข็ง

ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่พบค่า HI น้อยกว่า 10

0.00
3 เพื่อให้อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าปีที่ผ่านมา

พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่าที่ผ่านมา (ปี 2565)

0.00
4 เพื่อไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำในครอบครัวเดิม

เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำในครอบครัวเดิมลดลง หรือไม่เกิดเลยเมื่อเทียบกับรอบปีที่ผ่านมา  2565

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32600.00

กิจกรรมที่ 2 มหกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ดำเนินการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ PCU กม.3 จำนวน 10 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
มหกรรมเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ดำเนินการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ในพื้นที่ PCU กม.3 จำนวน 10 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,900.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.1เสนอโครงการเพื่อการอนุมัติตามวาระการประชุมของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
1.2 ประสานงานกับผู้นำชุมชน/ อสม./และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้
1.3 ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม
1.4 จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
1.5 จัดกิจกรรมมหกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่เขตเทศบาลเบตง อำเภอเบตง จำนวน ๑ ครั้ง
๑.๖ ดำเนินการมอบทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย สารออกฤทธิ์กำจัดยุงร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองในพื้นที่ เพื่อร่วมรณรงค์ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเบตง อำเภอเบตง
๑.๗ จัดกิจกรรมการสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด โดยการประสานกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่เดือนละ 1 ครั้ง
๑.๘ เน้นสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในบ้านที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกหรือสงสัยป่วยในปีที่ผ่านมา
๑.๙ ดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ วัดและโรงเรียน ๓ เดือนต่อครั้งและดำเนินการพ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในรัศมี ๑๐๐ เมตร บริเวณรอบ ๆ บ้านพักที่เกิดโรค
๑.๑๐ อบรมการใช้เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุง
1.11 สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 อสม. เยาวชนและประชาชนทุกชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
2 ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
3 อัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
4 ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำ ในบ้านที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกหรือสงสัยป่วยในรอบปีที่ผ่านมา
5 ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ CI ไม่เกินร้อยละ 1 ของชุมชน โรงเรียน และวัด


>