กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการถังขยะปั้นปุ๋ย และถังขยะเปียก สร้างเสริมสุขภาวะที่ดีคนคอหงส์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองคอหงส์

1. นายรวี ไกรมุ่ย ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรื่อนที่มีรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

 

0.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่สามารถนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อประโยชน์ในการปลูกพืชผักปลอดภัยในครัวเรือน

 

0.00

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีต้นทางมาจากขยะครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ การจัดการขยะครัวเรือนโดยการพัฒนาเทคโนโลยีการต่างๆที่สามารถเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า และใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จึงเป็นทางเลือกที่สามารถจัดการขยะให้ยั่งยืน เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาจากต้นทาง ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพทางเลือกให้กับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 4 ชุมชนๆ ละ 25 ครัวเรือน รวมเป็นจำนวน 100 ครัวเรือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรค

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

0.00 50.00
2 เพื่อนำขยะอินทรีย์ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อประโยชน์ในการปลูกพืชผักปลอดภัยในครัวเรือน และมีสุขภาพที่ดี

ร้อยละของครัวเรือน มีการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักมาใช้ในการปลูกพืชผักปลอดภัย สร้างการบริโภคที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น

0.00 50.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะครัวเรือน

ร้อยละของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีขยะอินทรีย์ในครัวเรือนลดลง

0.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 15/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ถังขยะปั้ยปุ๋ย)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ถังขยะปั้ยปุ๋ย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 ครั้ง ๆ ละ 1 ชุมชน
  • ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะปั้นปุ๋ยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย เพื่อนำไปทดลองปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
    โดยฝ่ายพัฒนาชุมชนดำเนินการกำหนดกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 5 ชุมชน ประกอบด้วย
    ชุมชนบ้านคลองเตย 1 จำนวน 10 ครัวเรือน ชุมชนบ้านปลักธง จำนวน 10 ครัวเรือน
    ชุมชนบ้านในไร่ จำนวน 10 ครัวเรือน ชุมชนบ้านทุ่งโดน 3 จำนวน 10 ครัวเรือน รวมจำวนวน 50 ครัวเรือน
  • ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องถังขยะปั้นปุ๋ย ย่อยขยะอินทรีย์ในครัวเรือนเป็นปุ๋ย (ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2.4 x 4.5 เมตร x 150 บาท เป็นเงิน 1,620 บาท
3. ค่าอุปกรณ์สาธิต จำนวน 1 ชุด x 1,700 บาท เป็นเงิน 1,700 บาท
4. ค่าเอกสารใบความรู้ จำนวน 50 ชุด x 8 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4970.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะปั้นปุ๋ยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะปั้นปุ๋ยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะปั้นปุ๋ยสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน
  • สนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย

ค่าใช้จ่าย
1. ถังขยะปั้นปุ๋ยและอุปกรณ์ประกอบ จำนวน 50 ชุด x 1,700 บาท เป็นเงิน 85,000 บาท
2. ค่าดินผสม (ดินพร้อมปลูก) จำนวน 250 ถุง x 33 บาท เป็นเงิน 8,250 บาท
3. ค่าปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย จำนวน 50 ชุด x 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
98250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ถังขยะเปียก)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย (ถังขยะเปียก)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 ครั้ง ๆ ละ 50 คน
  • ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องถังขยะเปียกในครัวเรือน (ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ)

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (รวมเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง) จำนวน 500 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 12,500 บาท
2. ค่าเอกสารใบความรู้ จำนวน 500 ชุด x 8 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมสนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะเปียกสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะเปียกสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สนับสนุนปัจจัยการผลิตถังขยะเปียกสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน

ค่าใช้จ่าย
1. ถังขยะเปียกพร้อมติดตั้ง จำนวน 500 ชุด x 100 บาท เป็นเงิน 50,000 บาท
2. ค่าดินผสม (ดินพร้อมปลูก) จำนวน 1,500 ถุง x 33 บาท เป็นเงิน 49,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
99500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 219,220.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง เกิดการแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นดินพร้อมปลูกใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ช่วยลดแหล่งอาหารและลดการเพาะขยายพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคระบาดในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
2. ประชาชนมีองค์ความรู้ เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีจนสามารถนำไปปฏิบัติ ในครัวเรือนของตนเองได้
3. ประชาชนสามารถผลิตพืชอาหารปลอดภัยที่ส่งผลให้สุขภาพดี ช่วยลดความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
4. มีต้นแบบในการจัดการขยะครัวเรือนในแต่ละชุมชน ที่จะสามารถขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ ในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้


>