กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่าควาย

1. นางณฐมน ผุดพัฒน์ ประธานอสม. หมูที่ 5
2. นางฉ้าย เหมือนศรีประธานอสม. หมูที่ 6
3. นางธนภรณ์ มหาแสนประธานอสม. หมูที่ 12
4. นางระวิวรรณ หนูทองประธานอสม. หมูที่ 14
5. นางหนูจิน คงเหล่ประธานอสม. รพ.สต. บ้านท่าควาย

หมูที่ 5, หมูที่ 6, หมูที่ 12, หมู่ที่ 14 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีที่ผ่านมา

 

13.00
2 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีที่ผ่านมา

 

49.00

จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีที่ผ่านมา 13 คน และจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีที่ผ่านมา 49 คน ตามลำดับ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ ขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง จากการสำรวจของกรมอนามัย พบว่า คนไทยมีเพียง 5 ล้านคนเท่านั้น ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ และจากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยอายุมากกว่า 15 ปี เฉลี่ยการบริโภคผักและผลไม้ เท่ากับ 5.97 และ 4.56 วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการ ได้แก่
1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที
2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณ ครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเรื้อรัง

อัตราร้อยละกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเรื้อรังหลังการอบรม

80.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

อัตราร้อยละกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหากลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  2. จัดทำโครงการเสนอกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง
  3. ประชุม อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินการตามโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย การกินผักและไม้ จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย การกินผักและไม้ จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการ

08.30–09.30 น. ลงทะเบียน / ทดสอบความรู้ก่อนอบรม

09.30–10.30 น. ประเมินรอบเอว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 1

10.30–10.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.40–12.00 น. ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.

12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00–15.00 น. กินผักผลไม้ให้เพียงพอ ช่วยต้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

15.00–15.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.10–16.00 น. ทดสอบความรู้หลังอบรม


ค่าอาหารว่าง 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2566 ถึง 20 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตาม ประเมินการดำเนินกิจกรรม ปลูกผักสวนครัว และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
การติดตาม ประเมินการดำเนินกิจกรรม ปลูกผักสวนครัว และการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ส่งเสริมครัวเรือนมีการปลูกผัก และกินผักที่ถูกต้อง
  2. ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านมีออกกำลังกาย และต่อเนื่องตลอดทั้งปี
  3. การจัดตั้งกลุ่มชมรมในหมู่บ้านเช่น กลุ่มชมรมการกินผัก และการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในกลุ่ม
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 20 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบในชุมชนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบในชุมชนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. มีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. ประกวดบุคคลต้นแบบสุขภาพดี
  3. ประกวดเมนูชูสุขภาพ
  4. ประเมินรอบเอว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 2
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท
  • ค่าของรางวัลประกวดบุคคลต้นแบบสุขภาพดี เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าของรางวัลประกวดเมนูชูสุขภาพ เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าเช่าเวที เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียงเป็นเงิน1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2566 ถึง 8 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9650.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการประเมินสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการประเมินสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สรุปผลการดำเนินงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การวัดรอบเอว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด
    ของกลุ่มเสี่ยง
  2. นำผลการศึกษาในที่ประชุม อสม. และประชาสัมพันธ์ในชุมชนได้รับทราบ เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง และมีชุมชนต้นแบบการจัดการสุขภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,650.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณใช้จ่ายในกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีชุมชนต้นแบบการจัดการสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองทางสุขภาพได้
2. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5.00 และความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 2.50


>