กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยวิธี 5 อ.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน

1.นางนนทิชาเลื่อนจันทร์
2.นางสาวจีรวรรณหนูเอียด
3.นางสุวรรณทิพย์ตันนิมิตรกุล
4.นางสาวพรรณีสุขชุม
5.นางภารดีเหลือเทพ080-1109607

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

 

86.41
2 ร้อยละของเด็ก 2-5 ปีที่มีภาวะผอม

 

9.80
3 ร้อยละของเด็ก 2-5 ปีที่มีภาวะเตี้ย

 

13.50
4 ร้อยละของเด็ก 2-5 ปีที่มีภาวะอ้วน

 

13.50

การดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย จำเป็นที่ผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนในการดูแลควบคู่ไปกับครูผู้ดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด้กได้มีสุขอนามัย และพัมนาการที่เหมาะสมกับวัย โดยการใช้หลัก 5 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ และอุจจาระ ฉะนั้น การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ การมีพัฒนาการที่ดี ที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จะสร้างความเเข็งเเรงของหัวใจ กล้ามเนื้อและกระดูก พัฒนาการเคลื่อนไหว สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเข้าสังคม พัฒนาสมอง พัฒนาภาวะทางอารมณ์ โดยในวัยเด็กควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ปัจจุบันกลุ่มเด็กมีอัตรากิจกรรมทางกายลดลง สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง 4 อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ ร้อยละ 50.0 นั่งคุย/นั่งประชุม ร้อยละ 28.4นั่งทำงาน/นั่งเรียน ร้อยละ 27 และนั่งเล่นเกมโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 20.1 ซึ่งพบว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่น มีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ ได้แก่ การนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้ว ยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับอาหารและโภชนาการที่ดีเพื่อพัฒนาการของเด็กที่สมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน เช่น การชักเย่อ ม้าก้านกล้วย และมอญซ่อนผ้า รวมถึง การส่งเสริมโภชนาการของเด็กโดยการเพิ่มการกินผักและผลไม้โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการลดพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัดในกลุ่มเด็ก เพื่อลดภาวะเสี่ยงเด็กอ้วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กอายุ 2-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

86.41 90.00
2 เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของเด็ก

ร้อยละของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

37.03 30.00
3 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมกับวัย

ร้อยละของเด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย

86.41 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน 12
ผู้ปกครองนักเรียน 72

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงคณะทำงาน จำนวน 12 คนประกอบด้วยครูผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่กองการศึกษา -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 12 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2566 ถึง 20 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 2.มีการประชุมร่วมกัน 1 ครั้งจำนวน 12 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 2 การประเมินภาวะโภชนาการเด็กก่อนเริ่มโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินภาวะโภชนาการเด็กก่อนเริ่มโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการบันทึกน้ำหนักและส่วนสูงเด็กทุกคนก่อนเริ่มโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2566 ถึง 23 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบข้อมูลสุขภาพเด็กทุกคนก่อนเริ่มโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมดูแลสุขภาพเด็กตามหลัก 5 อ.

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมดูแลสุขภาพเด็กตามหลัก 5 อ.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์โครงการผู้ปกครองเด็ก และครู เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวนและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและ การบริโภคอาหารที่ปลอดภัย
1.ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 80 คนๆละ 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
4.ค่าป้ายโครงการ1.8 x 2.4เป็นเงิน 500 บาท 5.ค่าเอกสารในการอบรมและแฟ้มจำนวน 70 ชุด ชุดละ 30 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 พฤษภาคม 2566 ถึง 26 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก ผู้ปกครองเด็ก และครู เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ของการมีกิจกรรมทางกายและการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 4 การปลูกผัก

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปลูกผักสวนครัวโดยจัดให้เด็กๆช่วยกันปลูก รดน้ำพรวนดิน ในวันจันทร์-วันศุกร์ ช่วงเวลา 10.00-10.30 น.
1. ค่าเมล็ดพันธ์ผัก ถั่วฝักยาวเป็นเงิน 250 บาท เมล็ดพันธ์บวบเป็นเงิน 250 บาท 2. ค่าอุปกรณ์การเกษตร ตาข่ายค้างผัก 3 หัวๆละ 100 บาท เป็นเงิน 300 บาท บัวรดน้ำสำหรับเด็ก 10 อันๆละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท พรั่วพรวนดิน 10อันๆละ 70 บาท เป็นเงิน 700 บาท เชือกฟาง 3 ม้วนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 150 บาท ปุ๋ยคอก 40 กระสอบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท รองเท้าบูท 6 คู่คู่ๆละ 250 เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง - มาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4850.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการปรุงอาหารจากผักใน ศพด. เพื่อเสริมสร้างโภชนาการในเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการปรุงอาหารจากผักใน ศพด. เพื่อเสริมสร้างโภชนาการในเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุมชี้แจงผู้ปกครองเกี่ยวกับการรับประทานผักที่ปลอดภัยต่อสารเคมี -ผู้ปกครองและครูร่วมกันนำผักที่ปลอดสารเคมีมาปรุงอาหารสัปดาห์ละ 1ครั้ง ( ทุกวันศุกร์ 21,28 ก.ค 66 และ 4,11,18,25 ส.ค 66 ) เพื่อเสริมสร้างโภชนาการที่ดีให้กับเด็ก -ค่าเครื่องปรุง เช่น น้ำมัน น้ำปลา น้ำมันหอย 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีการบริโภคผักที่ปลอดภัยต่อสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 6 การละเล่นพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
การละเล่นพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ครูจัดกิจกรรมการละเล่นไทยให้แก่เด็ก เช่น การเล่นม้าก้านกล้วย มอญซ่อนผ้า การเล่นว่าว โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วมสนับสนุนอุปกรณ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เด็กๆได้ร่วมทำกิจกรรมออกกำลังกายโดยการละเล่นพื้นบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ให้ความรุ้เรื่องอาหารและโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรุ้เรื่องอาหารและโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ครูประจำชั้นจัดการเรียนการสอนโดนสอดแทรก เรื่องโทษของการกินอาหารที่มีรสเค็มจัด และหวานจัด รวมถึงโทษของการดื่มน้ำอัดลมในช่วงเวลา 14.00 - 14.30 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เด็กมีความรู้เกี่ยวกับโทษของการกินอาหารที่มีรสเค็มจัด และหวานจัด รวมถึงโทษของการดื่มน้ำอัดลม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์แจกแก่ผู้ปกครองให้ทราบถึงโทษของการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดและหวานจัด รวมถึงโทษของการดื่มน้ำอัดลม จำนวน 70 แผ่น -ให้เด็กๆเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์โทษของการการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดและหวานจัด รวมถึงโทษของการดื่มน้ำอัดลม
ค่าใช้จ่าย -ป้ายประชาสัมพันธ์โทษของการการกินอาหารที่มีรสเค็มจัดและหวานจัด รวมถึงโทษของการดื่มน้ำอัดลม ขนาด 50x100 เซนติเมตร จำนวน 5 ป้ายๆละ 300 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในกิจกรรม เด็กๆกินอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด และดื่มน้ำอัดลมลดลง -ไม่มีร้านค้าขายเครื่องดื่มน้ำหวานในบริเวณ ศพด.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 9 การประเมินภาวะโภชนาการเด็กหลังจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การประเมินภาวะโภชนาการเด็กหลังจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเด็กที่เข้าร่วมโครงการและมีการประเมินภาวะสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบภาวะสุขภาพเด็กที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 10 ประชุมคณะทำงานและผู้ปกครอง ถอดบทเรียน สรุปโครงการและคืนข้อมูล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้ปกครอง ถอดบทเรียน สรุปโครงการและคืนข้อมูล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม ชี้แจงถอดบทเรียน สรุปโครงการและคืนข้อมูล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 1 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและจัดทำเล่มรายงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,250.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลาง - มาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
2.เด็กอายุ 2-5 ปี มีภาวะสูงดีสมส่วนร้อยละ 62
3.เด็กบริโภคผักเพิ่มขึ้น
4.เด็กดื่มน้ำอัดลม และเครื่องดื่มรสหวานจัดลดลง


>