กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยวิธี 5 อ.
รหัสโครงการ 66-L3325-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสวน
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภารดี เหลือเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมทรง ประยูรวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านสวน พัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
86.41
2 ร้อยละของเด็ก 2-5 ปีที่มีภาวะผอม
9.80
3 ร้อยละของเด็ก 2-5 ปีที่มีภาวะเตี้ย
13.50
4 ร้อยละของเด็ก 2-5 ปีที่มีภาวะอ้วน
13.50

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย จำเป็นที่ผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนในการดูแลควบคู่ไปกับครูผู้ดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด้กได้มีสุขอนามัย และพัมนาการที่เหมาะสมกับวัย โดยการใช้หลัก 5 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ และอุจจาระ ฉะนั้น การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในมิติของการป้องกันโรคและการสร้างเสริมสุขภาพ การมีพัฒนาการที่ดี ที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัย จะสร้างความเเข็งเเรงของหัวใจ กล้ามเนื้อและกระดูก พัฒนาการเคลื่อนไหว สร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง เสริมทักษะการเข้าสังคม พัฒนาสมอง พัฒนาภาวะทางอารมณ์ โดยในวัยเด็กควรมีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน ปัจจุบันกลุ่มเด็กมีอัตรากิจกรรมทางกายลดลง สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เพิ่มขึ้น โดยพฤติกรรมเนือยนิ่ง 4 อันดับแรกของคนไทยที่ทำติดต่อกันนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อครั้ง คือ นั่ง/นอนดูโทรทัศน์ ร้อยละ 50.0 นั่งคุย/นั่งประชุม ร้อยละ 28.4นั่งทำงาน/นั่งเรียน ร้อยละ 27 และนั่งเล่นเกมโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 20.1 ซึ่งพบว่ากลุ่มเด็กและวัยรุ่น มีพฤติกรรมอยู่หน้าจอ ได้แก่ การนั่งดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ เข้าร้านเกม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาอยู่หน้าจอนานกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันแล้ว ยังจะต้องดำเนินการควบคู่กับอาหารและโภชนาการที่ดีเพื่อพัฒนาการของเด็กที่สมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน เช่น การชักเย่อ ม้าก้านกล้วย และมอญซ่อนผ้า รวมถึง การส่งเสริมโภชนาการของเด็กโดยการเพิ่มการกินผักและผลไม้โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการลดพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัดในกลุ่มเด็ก เพื่อลดภาวะเสี่ยงเด็กอ้วน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กอายุ 2-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

86.41 90.00
2 เพื่อลดภาวะทุพโภชนาการของเด็ก

ร้อยละของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

37.03 30.00
3 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาทั้ง 4 ด้าน เหมาะสมกับวัย

ร้อยละของเด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย

86.41 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,250.00 9 19,750.00
20 เม.ย. 66 ประชุมชี้แจงคณะทำงาน 0 300.00 300.00
18 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 การปลูกผัก 0 4,850.00 4,850.00
18 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 การละเล่นพื้นบ้าน 0 0.00 0.00
18 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 ให้ความรุ้เรื่องอาหารและโภชนาการ 0 1,500.00 1,000.00
19 - 23 พ.ค. 66 การประเมินภาวะโภชนาการเด็กก่อนเริ่มโครงการ 0 0.00 0.00
26 พ.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมดูแลสุขภาพเด็กตามหลัก 5 อ. 0 12,400.00 12,400.00
17 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการปรุงอาหารจากผักใน ศพด. เพื่อเสริมสร้างโภชนาการในเด็ก 0 1,000.00 1,000.00
31 ส.ค. 66 การประเมินภาวะโภชนาการเด็กหลังจัดทำโครงการ 0 0.00 0.00
1 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานและผู้ปกครอง ถอดบทเรียน สรุปโครงการและคืนข้อมูล 0 200.00 200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลาง - มาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) มีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 90 2.เด็กอายุ 2-5 ปี มีภาวะสูงดีสมส่วนร้อยละ 62 3.เด็กบริโภคผักเพิ่มขึ้น 4.เด็กดื่มน้ำอัดลม และเครื่องดื่มรสหวานจัดลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2566 13:22 น.