กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการต้านภัยวัณโรค พิชิตกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

โรงพยาบาลกาบัง

-

ลานหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค มี ๗ กลุ่ม ดังนี้ ๑.ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ๒.ผู้สูงอายุ ๓. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดัน/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง) ๔.ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs ๕. แรงงานต่างด้าว ๖. ผู้ต้องขัง ๗. ผู้ติดสุรา/ยาเสพติด สำหรับข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มเสี่ยง ๓ ปี ย้อนหลัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ร้อยละ๘๗.๕๗ ๙๔.๘๗ ๙๗.๐๐ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีและถูกต้องตามแนวทาง อาจก่อให้เกิดการระบาดของวัณโรคในอนาคตได้
ดังนั้น เพื่อผลสำเร็จในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัณโรค จึงจัดทำโครงการ ต้านภัยวัณโรค พิชิตกลุ่มเสี่ยงปี ๒๕๖๖ โดยหน่วยงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่และติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๖๐ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม)

ร้อยละ ๖๐ กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถป้องกันตนเองในการแพร่ระบาดในชุมชนได้ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม)

50.00 60.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนได้ และประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อระบบการส่งต่อในการรักษาได้เร็วขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม คัดกรองอาการเสี่ยงเกี่ยวกับโรควัณโรคด้วยตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับบริการคัดกรองอย่างครอบคลุม และเกิดการตระหนักในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 126
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๙๐ คนๆ ละ ๕๐ บาท จำนวน ๑ มื้อเป็นเงิน๔,๕๐๐บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๙๐ คนๆ ละ ๓๕ บาท จำนวน ๒ มื้อเป็นเงิน๖,๓๐๐บาท
    • ค่าวิทยากรอัตรา ๓๐๐ บาท/ชม. จำนวน ๖ ชั่วโมงเป็นเงิน๑,๘๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๖๐ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม) และคัดกรองอาการเสี่ยงเกี่ยวกับโรควัณโรคด้วยตนเองได้ ผลลัพธ์:ร้อยละ ๖๐ กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันตนเองในการแพร่ระบาดในชุมชนได้ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม) และได้รับบริการคัดกรองอย่างครอบคลุม เกิดการตระหนักในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ติดตาม เฝ้าระวัง หากลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม ใช้แบบคัดกรอง (ICF1) ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคปอด

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ติดตาม เฝ้าระวัง หากลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม ใช้แบบคัดกรอง (ICF1) ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคปอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าตอบแทนในการลงพื้นที่ จำนวน ๑๐๐บาท x๑๒ คน x ๓ ครั้ง              เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 1 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต:เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์:กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนได้ และประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อระบบการส่งต่อในการรักษาได้เร็วขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ร้อยละ ๖๐ กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันตนเองในการแพร่ระบาดในชุมชนได้ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม)และได้รับบริการคัดกรองอย่างครอบคลุม เกิดการตระหนักในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น สามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนได้ และประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อระบบการส่งต่อในการรักษาได้เร็วขึ้น


>