กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการต้านภัยวัณโรค พิชิตกลุ่มเสี่ยง
รหัสโครงการ 002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกาบัง
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรค มี ๗ กลุ่ม ดังนี้ ๑.ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค ๒.ผู้สูงอายุ ๓. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดัน/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง) ๔.ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs ๕. แรงงานต่างด้าว ๖. ผู้ต้องขัง ๗. ผู้ติดสุรา/ยาเสพติด สำหรับข้อมูลผลการดำเนินงานกลุ่มเสี่ยง ๓ ปี ย้อนหลัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๓-๒๕๖๕ ร้อยละ๘๗.๕๗ ๙๔.๘๗ ๙๗.๐๐ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมที่ดีและถูกต้องตามแนวทาง อาจก่อให้เกิดการระบาดของวัณโรคในอนาคตได้ ดังนั้น เพื่อผลสำเร็จในการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวัณโรค จึงจัดทำโครงการ ต้านภัยวัณโรค พิชิตกลุ่มเสี่ยงปี ๒๕๖๖ โดยหน่วยงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกาบัง ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่และติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรควัณโรคเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๖๐ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม)

ร้อยละ ๖๐ กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสามารถป้องกันตนเองในการแพร่ระบาดในชุมชนได้ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม)

50.00 60.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมายสามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนได้ และประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อระบบการส่งต่อในการรักษาได้เร็วขึ้น

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม คัดกรองอาการเสี่ยงเกี่ยวกับโรควัณโรคด้วยตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย ได้รับบริการคัดกรองอย่างครอบคลุม และเกิดการตระหนักในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,200.00 0 0.00
1 ส.ค. 66 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวัณโรคแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง 0 12,600.00 -
1 ส.ค. 66 ลงพื้นที่ติดตาม เฝ้าระวัง หากลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม ใช้แบบคัดกรอง (ICF1) ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคปอด 0 3,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละ ๖๐ กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันตนเองในการแพร่ระบาดในชุมชนได้ (จากการทำแบบทดสอบก่อน-หลัง การอบรม)และได้รับบริการคัดกรองอย่างครอบคลุม เกิดการตระหนักในเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น สามารถค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนได้ และประสานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อระบบการส่งต่อในการรักษาได้เร็วขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 00:00 น.