กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

การป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

1.นายอารีสกุลรอหะหัวหน้าโครงการ
2.นางสาวอัศลีนา จิงดาราคณะทำงานโครงการ

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

30.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี
พื้นที่ตำบลลางา พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 50 ราย คิดเป็น 756.55 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้วยสภาพอากาศที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดบวกกับสภาพแวดล้อมที่เป็นกึ่งเมื่อกึงชุนบท มีน้ำขังตามแหล่งชุมชนต่างๆ ทำให้ยุงสามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรค ไม่ว่าจะเป็น การรักษาความสะอาด การสำรวจลูกน้ำยุงลาย การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การพ่นหมอกควัน เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลลางาจึงได้จัดทำโครงการ “โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่” ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราการป่วยและการระบาดของโรคไข้เลือดออก

1 .ดัชนียุงลายน้อยกว่า 10
2.ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกน้อยกว่า 20 ต่อประชากรแสนคน

10.00 1.00
2 2.เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

1.พื้นที่ที่มีโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุม ป้องกัน ไม่มีรายที่ เกิดขึ้นในช่วงของการระบาด

10.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มอสม.และเครือข่ายในพื้นที่ในการป้องกัน ควบคุมโรคอย่างมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มอสม.และเครือข่ายในพื้นที่ในการป้องกัน ควบคุมโรคอย่างมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มอสม.และเครือข่ายในพื้นที่ในการป้องกัน ควบคุมโรคอย่างมีส่วนร่วม เพื่อหาแนวทางในการจัดการโรคไข้เลือดออก ชุมขนมีส่วนในการป้องกันโรค ลดความรุนแรงและการเสียชีวิต รวมทั้งการการประสานงาน เฝ้าระวัง ส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง น้อยกว่า 50 ต่อแสนประชากรค่า House Index (HI) น้อยกว่า 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 2.การป้องกันและควบคุมการระบาดในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
2.การป้องกันและควบคุมการระบาดในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่ อสม.และเครือข่ายในพื้นที่ ลงพื้นที่ในการป้องกัน ควบคุมโรค ให้ความรู้ รณรงค์ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งการจัดการเมื่อมีการระบาด ลดความรุนแรง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ -จัดซื้อทรายอะเบท จำนวน2 ถังๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
-จัดซื้อน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 2 ขวดๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
-จัดซื้อโลชั่นกันยุง จำนวน 200 ซองๆละ 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
-จัดซื้อสเปรย์กันยุงภายในบ้าน จำนวน 50 ขวด ขวดละ 80 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท
-จัดซื้อแก๊สกระป๋องเพื่อใช้สำหรับพ่นหมอกควัน จำนวน 50 กระป๋องๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-จัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควันขนาดพกพา จำนวน 2 เครื่องๆละ 6,700 บาท เป็นเงิน 13,400 บาท -จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล จำนวน 20 ลิตรๆละ 33 บาท เป็นเงิน 660 บาท -ค่าติดตามและลงพื้นที่สอบสวนโรค ควบคุมการระบาดในพื้นที่ของอสม.และเครือข่าย จำนวน 50 คนๆละ 50 บาท จำนวน2 ครั้ง เป็นเงิน 5,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 37,060 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
มีการควบคุมโรคทางระบาดของโรคไข้เลือดได้ทันเวลา ผู้ป่วยไม่มีอาการที่รุนแรงและไม่พบเสียชีวิตด้วยไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37060.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,060.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยงบประมาณในโครงการได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
2.ลดอัตราการเกิดรายใหม่ของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและมีการควคุมได้ทันเวลา


>