กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

สำนักงานเลขาฯ กองทุนฯ

ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกันพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ
ดังนั้น คณะกรรมการจริงควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุนมีความรู้ความความเข้าใจในบทบาทหน้าที่มีวิสัยทัศน์มีทัศนคติเชิงบวกต่อการดำเนินงานของกองทุนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนให้โอกาสในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเสมอภาคเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นร่วมตัดสินใจมีการตรวจสอบและให้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียมกันซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างของคณะกรรมการให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการอยู่แล้วคณะกรรมการทุกคนจึงควรมีเจตคติความเข้าใจที่มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันคือทำให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่มีคุณภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลเปาะเส้งควรมีการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจและการประชุมสัมมนาและการศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องต่าง ๆได้แก่
1.การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการทำงานการสร้างจิตสำนึก
2.การทำงานเป็นทีมและการสร้างผู้นำ
3.การสร้างเสริมสุขภาพในทุกกลุ่มอายุ
4.การป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
6.ระบบการบริหารจัดการที่ดีมีธรรมภิบาลยึดระบบคุณธรรม
7.อบรมการบันทึกโปรแกรมข้อมูลกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
8.การจัดทำแผนทางเดินยุทธศาสตร์แผนสุขภาพชุมชน
9.การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
10.การเขียนโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการเป็นต้น
เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องอันได้แก่คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพสุขภาพตำบลเปาะเส้งจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ ที่จำเป็นมาใช้ในงานของกองทุน ฯจ่ายเบี้ยเลี้ยงในการประชุมค่าอาหารและอาหารว่างและเครื่องดื่มรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำแผนที่ยุทศาสตร์หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหารจัดการ 2.เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องเข้าใจการบริหารกองทุนไปในทิศทางเดียวกัน 3.เพื่อประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่โดยเน้นการมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการ 4.เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างอย่างต่อเนื่อง 5.เพื่อจัดซื้อวัสดุ และครุภัณฑ์ ที่จำเป็นมาใช้ในงานของกองทุนฯ 6.เพื่อเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงในการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการของกองทุนฯ 7.ค่าอาหารและอาหารว่าง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 31

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุม

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเปาะเส้ง - ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ฯ จำนวน 19 คนๆละ 400.- บาท x 4 ครั้ง = 30,400.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35.- บาท x 19 คน x 4 ครั้ง = 2,660.- บาท รวม33,060.- บาท 2.จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน Long term care
- ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการฯ Long term care จำนวน 10 คนๆละ 300.- บาท x 3 ครั้ง= 9,000.- บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35.- บาท x 10 คน x 3 ครั้ง= 10,050.- บาท รวม 10,050.- บาท 3.ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค จำนวน 1 เครื่องๆ = 24,000.- บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานในการดำเนินงาน = 2,690.- บาท
รวม 26,690.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 69,800.- บาท (หกหมื่นเก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43450.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์
    • ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คจำนวน 1 เครื่องๆ = 24,000.-บาท
    • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานในการดำเนินงาน =2,350.-บาท
      รวม26,350.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 69,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำแผนที่ยุทธศาสตร์หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหารจัดการ
2.คณะกรรมการฯสามารถเข้าใจในการบริหารกองทุนฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เกิดการประชุมสัมพันธ์และการเน้นการมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกันแบบบูรณาการ
4.เกิดการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพอย่างต่อเนื่อง


>