กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนสตรีพัฒน์ปลอดขยะ(Zero Waste Satripat School)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ตันหยงลุโละ

โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา

โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

4.00
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

5.00
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

100.00

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจาก ขยะ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของโรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา “หะยีนิเซาะ อาเก็บอุไร –บำเพ็ญ ”หมู่ที่ 3 ตำบลตันหยงลุโละ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี มีจำนวนครู/บุคลากร 23 คนจำนวนนักเรียน 157 คน มีอาคารเรียน 1 หลัง 3 ชั้นด้วยกัน ซึ่งจะมีห้องเรียนทั้งหมด 10 ห้อง ภายในห้องเรียนจะมีถังขยะ ห้องละ 1 ถัง ถังขยะภายในโรงเรียน มี 2 ถัง และมีจุดทิ้งขยะรวม 1 จุด ภายในโรงเรียนไม่มีจุดคัดแยกขยะ
ซึ่งปัญหาขยะในโรงเรียน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนอย่างมากมาย อาทิเช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ ของพาหะนำโรค เช่นแมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคมีกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดความ รำคาญทำลายสุนทรียภาพด้านสิ่งแวดล้อมเกิดสภาพไม่น่าดูสกปรกน่ารังเกียจ เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน
โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา “ หะยีนิเซาะ อาเก็บอุไร –บำเพ็ญ ”ได้เห็นความจำเป็นต่อการจัดการแก้ปัญหาขยะที่มีอยู่ในโรงเรียน จึง เห็นว่าการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะในโรงเรียนและอีกทั้งยังต้องการให้นักเรียนทุกคนมีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง รวมถึงมีจุดคัดแยกขยะที่เพียงพอถูกสุขลักษณะ และที่สำคัญเพื่อต้องการลดปริมาณขยะในโรงเรียนให้ลดลงอีกด้วย
โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา “ หะยีนิเซาะ อาเก็บอุไร –บำเพ็ญ ” ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องดังกล่าว จึงจัดทำโครงการโรงเรียนสตรีพัฒน์ปลอดขยะ ( Zero Waste Satripat School ) ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

4.00 3.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

5.00 6.00
3 เพื่อให้นักเรียนสามารถคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ ได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 95 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการคัดแยกขยะตามประเภทของขยะอย่างถูกต้อง

5.00 100.00
4 เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียน และการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์

ร้อยละ 95 ของปริมาณขยะในโรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา มีปริมาณที่ลดลง

5.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/08/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ การจัดการขยะ ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ในโรงเรียน การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง และการปลูกฝั่งจิตสำนึกเรื่องขยะให้กับนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ การจัดการขยะ ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ในโรงเรียน การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง และการปลูกฝั่งจิตสำนึกเรื่องขยะให้กับนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1×3  เมตร จำนวน 1 ผืน × 750 บาท  เป็นเงิน 750 บาท
  2. ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง × 300 บาท 1 คน เป็นเงิน 900 บาท
  3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 25 บาท × 100 คน × 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 4,150 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2566 ถึง 17 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายจุดคัดแยกขยะในโรงเรียน
    เป็นเงิน 500 บาท
  2. ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตสำหรับการอบรมให้ความรู้ เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประกวดห้องเรียนปลอดขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประกวดห้องเรียนปลอดขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่ารางวัลประกวดห้องเรียนปลอดขยะ
    เป็นเงิน 1,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมธนาคารขยะโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมธนาคารขยะโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ธนาคารขยะ
เป็นเงิน 500 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 1,150 บาท รวมเป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนมีจุดคัดแยกขยะตามประเภทของขยะ ให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ
2. นักเรียน สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับ ไปใช้ประโยชน์ใหม่และปริมาณขยะในโรงเรียนลดลงอีกด้วย


>