กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักลูก รักษ์ฟัน ร่วมกันสร้างสุขภาพ @ BETONG

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง

ในเขตเทศบาลเมืองเบตง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 76 ของเด็กนักเรียนพบปัญหาฟันน้ำนมผุ

 

70.00
2 ร้อยละ 24 ของเด็กนักเรียนพบปัญหาฟันแท้ผุ

 

30.00

สุขภาพฟันของเด็กมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของเด็ก การมีสุขภาพฟันดี ฟันไม่ผุ ย่อมส่งผลดีในเรื่องการเคี้ยวอาหาร การพูด การยิ้มของเด็ก สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก นอกจากนี้หากฟันน้ำนมหลุดไปตามวัยอันควร จะทำให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรง เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาการพัฒนานิสัยในทุกๆด้าน ดังนั้นการส่งเสริมการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กให้มีคุณภาพดีจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการบ่มเพาะสุขนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องแก่เด็กตั้งแต่วัยเริ่มแรกของชีวิต ซึ่งจะต้องพัฒนาเป็นแบบแผนพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดีต่อเนื่องถึงเติบใหญ่และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ การดูแลสุขภาพช่องปากจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลตั้งแต่เด็กเพราะหากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การหลับคาขวดนมการไม่ดื่มน้ำตามหลังจากดื่มนมขวด การดื่มนมที่มีรสหวาน หากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ติดเป็นนิสัย ก็อาจส่งผลให้เด็กฟันผุ เพราะโรคฟันผุในเด็กมีสาเหตุสำคัญมาจากการได้รับเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของฟันผุ ในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้นมาในช่องปาก ร่วมกับการที่เด็กกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และไม่ได้รับการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก ผลิตภัณฑ์นม ขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มชนิดต่างๆที่ปรากฏทางโทรทัศน์อย่างมากมาย
ดังนั้นขนมที่มีมากขึ้น ทำให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการเลือกขนมที่ทำให้ฟันผุมากขึ้นจากสภาพที่พ่อแม่ต้องทำงานนอกบ้านมีการแข่งขันกันทำมาหากินกันมากขึ้นทำให้เกิดค่านิยมการรับประทานอาหารจานด่วน มีอาหารสำเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาดทั่วๆไปอาหารเหล่านี้มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง ทำให้เด็กไทยได้รับน้ำตาลเข้าไปในชีวิตประจำวันจำนวนมากมาย ได้แก่ อาหารจำพวกของขบเคี้ยว ลูกอม ขนมหวาน เครื่องดื่มและน้ำอัดลมการทำให้
เด็กคุ้นเคยกับความหวาน ตั้งแต่วัยทารกมีโอกาสนำไปสู่การติดหวานเมื่อโตขึ้นการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปในกลุ่มเด็กทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในกลุ่มเด็กอย่างชัดเจน 2 ปัญหาคือ ปัญหาโรคฟันผุและโรคอ้วน
ผลจากการสำรวจภาวะทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเบตง และเด็กนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง ปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน 835 คน ได้รับการตรวจฟัน จำนวน 769 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.10 พบฟันน้ำนมผุ จำนวน 588 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.46 พบฟันแท้ผุ จำนวน 181 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.54 พบหินน้ำลาย จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.50 และได้รับการทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ จำนวน 769 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.10 (เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข ปัญหาโรคฟันผุ(ในฟันแท้) เกินร้อยละ 20 เป็นปัญหา)และปัจจุบันกรมอนามัย กองทันตสาธารณสุข ได้ใช้วิธีการแปรงแห้ง “ Spit don’t rinse” หรือ “ถุยทิ้ง ไม่ต้องบ้วนปาก” และสูตรในการแปรงฟัน 2-2-2 คือ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แปรงนานครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป และงดกินอาหาร 2 ชั่วโมงหลังแปรงฟัน
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการรักลูก รักษ์ฟัน ร่วมกันสร้างสุขภาพ @ BETONG ขึ้นโดยตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็ก มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และชุมชนเป็นผู้สนับสนุนและผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อที่จะเป็นส่วนช่วยให้เกิดความเข้มแข็งในประเด็นสุขภาพด้านอื่นๆต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 85 ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

0.00
2 2. เพื่อให้ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

0.00
3 3. เพื่อให้ตัวแทนผู้ปกครอง/เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความเข้าใจเรื่องโภชนาการ(ป้องกันฟันผุ)มากขึ้น

ร้อยละ 80 ตัวแทนผู้ปกครอง/เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความเข้าใจเรื่องโภชนาการ(ป้องกันฟันผุ)มากขึ้น

0.00
4 4. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง

ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง ร้อยละ 2

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 261
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 326
กลุ่มวัยทำงาน 275
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 29/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน/ครูอนามัยครู หรือผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน/ครูอนามัยครู หรือผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่
                 (จำนวน 601 คน X 35 บาท X 1 มื้อ)               เป็นเงิน       21,035 บาท   - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง        (เหมาจ่ายครั้งละ 1,200 บาท)                    เป็นเงิน        7,200 บาท   - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ครั้ง
            (เหมาจ่ายครั้งละ 3,000 บาท : วัน)          เป็นเงิน        18,000 บาท   - ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ         ขนาด 2 เมตร * 1.5 เมตรๆละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน  เป็นเงิน          750 บาท   - ค่าเอกสารประกอบการอบรม เช่น แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภค แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบทดสอบก่อน–หลังการอบรม      เป็นเงิน       800 บาท   - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม  (ภาคผนวกแนบท้าย)    เป็นเงิน    43,989 บาท                                รวมเป็นเงิน  91,774.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
91774.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • Fluoride varnish  จำนวน 15 หลอดๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
  • ผ้าก๊อซ (ขอสนับสนุนจากโรงพยาบาลเบตง)
  • สำลีก้าน (ขอสนับสนุนจากโรงพยาบาลเบตง)
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 29 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ Fluoride varnish  จำนวน 15 หลอด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 109,774.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>