กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักลูก รักษ์ฟัน ร่วมกันสร้างสุขภาพ @ BETONG
รหัสโครงการ 2566-L7161-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 29 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 109,774.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศุภัศร์มา ยี่สุ่นศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 261 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 326 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 275 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 76 ของเด็กนักเรียนพบปัญหาฟันน้ำนมผุ
70.00
2 ร้อยละ 24 ของเด็กนักเรียนพบปัญหาฟันแท้ผุ
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพฟันของเด็กมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของเด็ก การมีสุขภาพฟันดี ฟันไม่ผุ ย่อมส่งผลดีในเรื่องการเคี้ยวอาหาร การพูด การยิ้มของเด็ก สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก นอกจากนี้หากฟันน้ำนมหลุดไปตามวัยอันควร จะทำให้ฟันแท้ขึ้นได้ตรง เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาการพัฒนานิสัยในทุกๆด้าน ดังนั้นการส่งเสริมการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กให้มีคุณภาพดีจึงมีความสำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการบ่มเพาะสุขนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องแก่เด็กตั้งแต่วัยเริ่มแรกของชีวิต ซึ่งจะต้องพัฒนาเป็นแบบแผนพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดีต่อเนื่องถึงเติบใหญ่และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ การดูแลสุขภาพช่องปากจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลตั้งแต่เด็กเพราะหากเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การหลับคาขวดนมการไม่ดื่มน้ำตามหลังจากดื่มนมขวด การดื่มนมที่มีรสหวาน หากเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้ติดเป็นนิสัย ก็อาจส่งผลให้เด็กฟันผุ เพราะโรคฟันผุในเด็กมีสาเหตุสำคัญมาจากการได้รับเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของฟันผุ ในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้นมาในช่องปาก ร่วมกับการที่เด็กกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง และไม่ได้รับการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ปัจจุบันพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก ผลิตภัณฑ์นม ขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มชนิดต่างๆที่ปรากฏทางโทรทัศน์อย่างมากมาย ดังนั้นขนมที่มีมากขึ้น ทำให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการเลือกขนมที่ทำให้ฟันผุมากขึ้นจากสภาพที่พ่อแม่ต้องทำงานนอกบ้านมีการแข่งขันกันทำมาหากินกันมากขึ้นทำให้เกิดค่านิยมการรับประทานอาหารจานด่วน มีอาหารสำเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาดทั่วๆไปอาหารเหล่านี้มีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง ทำให้เด็กไทยได้รับน้ำตาลเข้าไปในชีวิตประจำวันจำนวนมากมาย ได้แก่ อาหารจำพวกของขบเคี้ยว ลูกอม ขนมหวาน เครื่องดื่มและน้ำอัดลมการทำให้ เด็กคุ้นเคยกับความหวาน ตั้งแต่วัยทารกมีโอกาสนำไปสู่การติดหวานเมื่อโตขึ้นการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปในกลุ่มเด็กทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในกลุ่มเด็กอย่างชัดเจน 2 ปัญหาคือ ปัญหาโรคฟันผุและโรคอ้วน ผลจากการสำรวจภาวะทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเบตง และเด็กนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง ปีการศึกษา 2565 ทั้งหมด จำนวน 835 คน ได้รับการตรวจฟัน จำนวน 769 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.10 พบฟันน้ำนมผุ จำนวน 588 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.46 พบฟันแท้ผุ จำนวน 181 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.54 พบหินน้ำลาย จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.50 และได้รับการทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ จำนวน 769 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.10 (เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข ปัญหาโรคฟันผุ(ในฟันแท้) เกินร้อยละ 20 เป็นปัญหา)และปัจจุบันกรมอนามัย กองทันตสาธารณสุข ได้ใช้วิธีการแปรงแห้ง “ Spit don’t rinse” หรือ “ถุยทิ้ง ไม่ต้องบ้วนปาก” และสูตรในการแปรงฟัน 2-2-2 คือ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แปรงนานครั้งละ 2 นาทีขึ้นไป และงดกินอาหาร 2 ชั่วโมงหลังแปรงฟัน
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการรักลูก รักษ์ฟัน ร่วมกันสร้างสุขภาพ @ BETONG ขึ้นโดยตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็ก มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปาก ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และชุมชนเป็นผู้สนับสนุนและผลักดันให้เกิดพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อที่จะเป็นส่วนช่วยให้เกิดความเข้มแข็งในประเด็นสุขภาพด้านอื่นๆต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 85 ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก

0.00
2 2. เพื่อให้ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี

0.00
3 3. เพื่อให้ตัวแทนผู้ปกครอง/เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความเข้าใจเรื่องโภชนาการ(ป้องกันฟันผุ)มากขึ้น

ร้อยละ 80 ตัวแทนผู้ปกครอง/เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความเข้าใจเรื่องโภชนาการ(ป้องกันฟันผุ)มากขึ้น

0.00
4 4. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง

ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง ร้อยละ 2

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการ(2 ต.ค. 2566-29 ธ.ค. 2566) 91,774.00            
2 กิจกรรมที่ 2. ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ(2 ต.ค. 2566-29 ธ.ค. 2566) 18,000.00            
3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ(1 ธ.ค. 2566-29 ธ.ค. 2566) 0.00            
รวม 109,774.00
1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 601 91,774.00 7 90,857.00
2 ต.ค. 66 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน/ครูอนามัยครู หรือผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ 601 91,774.00 90,857.00
13 ธ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการฯ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองเบตง 0 0.00 0.00
14 ธ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการฯ โรงเรียนเทศบาล1(บ้านกาแป๊ะ 0 0.00 0.00
15 ธ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการฯ โรงเรียนเทศบาล2(บ้านกาแป๊ะกอตอ) 0 0.00 0.00
18 ธ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการฯ โรงเรียนเทศบาล3(บ้านกุนุงจนอง) 0 0.00 0.00
19 ธ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการฯ โรงเรียนเทศบาล4(บ้านกาแป๊ะฮูลู) 0 0.00 0.00
20 ธ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และอบรมเชิงปฎิบัติการฯ โรงเรียนเทศบาล6(ประชาสันติ์) 0 0.00 0.00
2 กิจกรรมที่ 2. ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 993 18,000.00 7 15,001.40
22 ม.ค. 67 - 9 ก.พ. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 993 18,000.00 15,001.40
22 ม.ค. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 0 0.00 0.00
24 ม.ค. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 0 0.00 0.00
25 ม.ค. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 0 0.00 0.00
26 ม.ค. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 0 0.00 0.00
29 ม.ค. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 0 0.00 0.00
9 ก.พ. 67 ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ 0 0.00 0.00
3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 ของ ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก
    1. ร้อยละ 70 ตัวแทนผู้ปกครอง/ตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีทักษะในการแปรงฟันที่ถูกวิธี
    2. ร้อยละ 80 ตัวแทนผู้ปกครอง/เจ้าหน้าที่หรือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง มีความเข้าใจเรื่องโภชนาการ
    3. ร้อยละ 90 ของเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเบตง ได้รับการทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ เพื่อป้องกันโรคฟันผุ อัตราการเกิดฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2566 00:00 น.