กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/โรคเอดส์ในวัยเรียนตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/โรคเอดส์ในวัยเรียนตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

กลุ่มเพื่อนควนกาหลง

1.นาง ดุจฤดี แสงเพ็ชร
2.นายสุวัฒน์ ขวัญทอง
3. นาง สุปราณี บุตรา
4. นาย คุณากร แสงศศิธร
5. นาง สมบูรณ์ หนูยี่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

 

0.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์

 

0.00

โรคเอดส์เป็นปัญหาสังคมที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันการแพร่เชื้อเอชไอวี มีอยู่อย่างต่อเนื่องและไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระดับการศึกษาหรือสถานะทางเศรษฐกิจก็ไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ หากมีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความตระหนักของคนในการป้องกันตรเอง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และต้องเป็นองค์ความรู้ที่ทันต่อสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเป็นโรคที่ ยังไม่มียาที่รักษาให้หายขาดได้ ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคที่ได้ผล และยังเป็นโรคที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อภาวะจิตใจของผู้ติดเชื้อและครอบครัว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปสู่ชุมชน สังคม หรือในอีกแง่มุมหนึ่งยังสะท้องถึงสภาพปัญหาการดำเนินชีวิตของประชาชน ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ขาดการดูแลเอาใจใส่หรือไม่ได้รับการดูแลจากครอบครัวเท่าที่ควร ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยต่อเนื่องไปยังประสิทธิผลของการรักษา จากการติดตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ พบว่าผู้ป่วยจะต้องยืนหยัดด้วยตนเอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องมีระบบการดูแลระยะยาว ที่มีความต่อเนื่องทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน จากสถานการณ์ของโรค มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่ขึ้นทะเบียนในจังหวัดสตูลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,240 ราย ร้อยละ 97.63 ปี 2559 ในพื้นที่ อำเภอควนกาหลง คลินิก ARV โรงพยาบาลควนกาหลง ปี 2559 มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 98 ราย รับยาต้านไวรัสเอดส์ จำนวน 91 ราย ยังไม่ได้รับยาต้านไวรัส จำนวน 6 ราย ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าการแพร่ของเชื้อเอชไอวีจะพบได้ทุกกลุ่มอายุ สำหรับในกลุ่มเยาวชนพบจำนวน 5 ราย ร้อยละ 5.10 แต่ละปีก็จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันจะพบว่ากลุ่มที่มีการติดเชื้อที่มีแนวโน้วเพิ่มขึ้น จะอยู่ในกลุ่มชายรักชายและกลุ่มที่ใช้ยาเสพติด ซึ่งในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ดั้งนั้น กลุ่มเพื่อนควนกาหลง คลินิก ARV กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลควนกาหลง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เยาวชนในตำบลอุใดเจริญ ได้มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ รวมถึงการปรับทัศนคติและการมีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และมีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับโรคเอดส์

เด็กและเยาวชนมีความรู้และมีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับโรคเอดส์ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง

เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองที่ถูกต้องร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2017

กำหนดเสร็จ 31/01/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้กับเด็ก และเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้กับเด็ก และเยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เด็กและเยาวชน ได้มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ งบประมาณ เป็นเงิน 20,600 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด14 ม. ผืนละ 600 จำนวน 1 ผืน= 600 บ. - ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชมๆ.ละ 600 บ.1 วัน = 3,000 บ. - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 120 คน* 1มื้อๆละ 50 บ. = 6,000 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 120คนๆละ 25 บ*2 มื้อ = 6,000 บ. - ค่าเอกสารประกอบการอบรมร้อมชุดอุปกรณ์ จำนวน 120 ชุดๆละ 35 บ. = 4,200 บ. - ค่าวัสดุอื่นๆเช่น กระดาษขาวเทา,กระดาษ A4,ปากกาเคมีเป็นต้น เป็นเงิน = 800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กและเยาวชนมีความรู้และมีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับโรคเอดส์ร้อยละ 80
  • เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเองที่ถูกต้องร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์และมีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับโรคเอดส์
2. เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเอง


>