กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกเพื่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกแมว

1.นายโชคชัย สิงห์ดำ
2.นางสุภาพร พวงพวา
3.นายวิเชียร พิมสาย
4.นางวรัตมาแสงจันทร์
5.นายประยุทธ์ อิทรสุวรรณ

บ้านโคกแมว หมู่ที่ 10 ตำบลโคกม่วงอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละปริมาณการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดพัทลุง แสดงถึงจำนวน ผู้ถือครอง และใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จำนวนครัวเรือนที่ใช้สารเคมี 888 ครัวเรือน พบจำนวนหมู่บ้านที่มีเกณฑ์การใช้สารเคมี

 

88.71
2 ร้อยละข้อมูลการใช้สารเคมี โดยเฉพาะหมู่ที่ 10 บ้านโคกแมว มีครัวเรือนทำการเกษตร จำนวน129 ครัวเรือน พบว่า มีครัวเรือนใช้สารเคมี จำนวน 105 ครัวเรือน

 

81.40

หลักการและเหตุผล
ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลโคกม่วงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก มีการปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล และพืชไร่ ส่วนหนึ่งมีใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง การใช้สารเคมีในกำจัดศัตรูพืช ส่งผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทําให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงเกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรเอง
สำหรับการรับประทานผัก และผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรที่เป็นสารก่อโรค เช่น โรคมะเร็งนับเป็นสาเหตุหนึ่ง โดยเฉพาะจากยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งสมอง และมะเร็งเม็ดเลือด และยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตบางชนิดเช่น คาร์บาริล (Carbaryl) และคาร์โบฟูแรน (Carbofuran) ที่เป็นสารก่อมะเร็งนอกจากนี้ปริมาณไนเตรท และไนไตรท์ ที่ไม่เพียงแต่ได้รับจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปเท่านั้น แต่ยังได้รับจากพืชผักด้วย โดยในการปลูกผักใบ เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม ไนเตรท ปุ๋ยยูเรีย เพื่อส่งเสริมการเจริญของยอดและใบ ทำให้ผลผลิตเจริญเติบโตเร็ว แต่การใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ทำให้มีการตกค้างของไนเตรทปริมาณสูงในผัก และการได้รับสารไนเตรตสะสมเป็นเวลานานๆ นี้เองที่กลายเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มไนโตรซามีน (Nitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร
จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดกระแสการบริโภคผักปลอดสารพิษ โดยเฉพาะผักอินทรีย์ เนื่องจากผักในระบบนี้มีความปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีในระบบการผลิต แต่การบริหารจัดการในแปลงค่อนข้างยุ่งยากกว่าการปลูกในระบบเคมี การถ่ายทอดความรู้เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ผลิต คือตัวเกษตรกร มีความสำคัญยิ่งในการสนับสนุนให้เกิด ผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทางกลุ่มจึงจัดทำโครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกเพื่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพแก่เกษตรกร

เกษตรกรมีความรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพได้

20.00 20.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกของเกษตรกร

เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกได้

20.00 20.00
3 เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษ

จำนวนครัวเรือนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษ

246.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมความรู้พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมความรู้พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากร จำนวน1 ชมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (จำนวน 20 คน) จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
-ค่าวัสดุ ,สื่อ ,สมุดบันทึกต่างๆป้ายโครงการ เป็นจำนวนเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มกราคม 2567 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมฝึกอบรมจำนวน 1 ครั้ง จำนวน 20 คน
เกษตรกรมีความรู้และตระหนักถึงพิษของสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาทักษะการเพาะปลูกพืชแบบปลอดภัยต่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาทักษะการเพาะปลูกพืชแบบปลอดภัยต่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ฝึกการทำปุ๋ยอินทรีย์ / สารชีวภัณฑ์
- ค่าวัสดุสาธิตทำปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 1 ตัน ๆละ 4,000 บาท รวม 4,000 บาท
- ค่าวัสดุฝึกทำสารชีวภัณฑ์ 400 บาท
- ค่าวิทยากร สาธิตการทำปุ๋ยชีวภาพการทำสารชีวภัณฑ์และการเทคนิคการเพาะกล้า จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชม ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2.กิจกรรมปลูกผักแบบปราณีต
- ค่าวัสดุฝึกการเพาะปลูกอย่างประณีตเช่น เมล็ดพันธุ์ผัก และวัสดุเพาะกล้า ฯลฯจำนวน 2,000 บาท
- ค่าวิทยากร ฝึกการปลูกผักแบบปราณีต จำนวน1 ครั้ง ๆละ 1 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
- ฝึกการจำแนกโรคพืชและแมลงศัตรูพืช จำนวน 1 ชั่วโมง
- ค่าวิทยากรฝึกการจำแนกโรคพืช และแมลงศัตรูพืช จำนวน 1 ครั้ง ๆ ละ 1ชม.ๆละ 600 บาท รวม 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ฝึกอบรม 2 ครั้ง
-เกษตรกรมีทักษะการเพาะปลูกพืชแบบปลอดภัยต่อสุขภาพ -เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพาะปลูกของเกษตร
-ผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรไม่มีสารเคมีปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิต

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าชุดตรวจสอบสารพิษตกค้างในผัก,ผลไม้ GT พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 1 ชุด (30 ตัวอย่าง)จำนวน 5,000 บาท
1.จัดซื้อชุดตรวจเคมีตกค้างในผัก 1 ชุด (30 ตัวอย่าง) ประกอบด้วย
- ตรวจ กลุ่มสารประกอบคาร์บาเมต
- ตรวจ กลุ่มสารประกอบออการ์โนฟอตเฟต

2.สุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ราย รวม 30 ตัวอย่าง

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2567 ถึง 9 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.จัดซื้อชุดตรวจเคมีตกค้างในผัก 1 ชุด(30 ตัวอย่าง) ประกอบด้วย -ตรวจ กลุ่มสารประกอบคาร์บาเมต
-ตรวจ กลุ่มสารประกอบออการ์โนฟอตเฟต

2.สุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 ตัวอย่าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
- เก็บตัวอย่างผลผลิต ตรวจสารตกค้างหลังจากเริ่มการปลูก เวลา 30 วัน
- เก็บข้อมูลครัวเรือนที่นำผลผลิตไปบริโภค หลังจากครบอายุการเกี่ยว

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ติดตามประเมินผล 1 ครั้ง
ทราบผลการดำเนินงาน / ปัญหาอุปสรรค / ข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ
รายงานสรุปผล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกรมีความรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ
2.เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพาะปลูกของเกษตร
3.เกษตรกรมีทักษะการเพาะปลูกพืชแบบปลอดภัยต่อสุขภาพ
4.ผู้บริโภคได้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรไม่มีสารเคมีปนเปื้อน


>