กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกเพื่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3312-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านโคกแมว
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโชคชัย สิงห์ดำ , นางวรัตมา แสงจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่เขตเทศบาลตำบลโคกม่วง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละปริมาณการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดพัทลุง แสดงถึงจำนวน ผู้ถือครอง และใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จำนวนครัวเรือนที่ใช้สารเคมี 888 ครัวเรือน พบจำนวนหมู่บ้านที่มีเกณฑ์การใช้สารเคมี
88.71
2 ร้อยละข้อมูลการใช้สารเคมี โดยเฉพาะหมู่ที่ 10 บ้านโคกแมว มีครัวเรือนทำการเกษตร จำนวน129 ครัวเรือน พบว่า มีครัวเรือนใช้สารเคมี จำนวน 105 ครัวเรือน
81.40

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลโคกม่วงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก มีการปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล และพืชไร่ ส่วนหนึ่งมีใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง การใช้สารเคมีในกำจัดศัตรูพืช ส่งผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทําให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงเกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรเอง
สำหรับการรับประทานผัก และผลไม้ที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรที่เป็นสารก่อโรค เช่น โรคมะเร็งนับเป็นสาเหตุหนึ่ง โดยเฉพาะจากยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งสมอง และมะเร็งเม็ดเลือด และยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตบางชนิดเช่น คาร์บาริล (Carbaryl) และคาร์โบฟูแรน (Carbofuran) ที่เป็นสารก่อมะเร็งนอกจากนี้ปริมาณไนเตรท และไนไตรท์ ที่ไม่เพียงแต่ได้รับจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูปเท่านั้น แต่ยังได้รับจากพืชผักด้วย โดยในการปลูกผักใบ เกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม ไนเตรท ปุ๋ยยูเรีย เพื่อส่งเสริมการเจริญของยอดและใบ ทำให้ผลผลิตเจริญเติบโตเร็ว แต่การใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป ทำให้มีการตกค้างของไนเตรทปริมาณสูงในผัก และการได้รับสารไนเตรตสะสมเป็นเวลานานๆ นี้เองที่กลายเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มไนโตรซามีน (Nitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร
จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดกระแสการบริโภคผักปลอดสารพิษ โดยเฉพาะผักอินทรีย์ เนื่องจากผักในระบบนี้มีความปลอดภัย ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีในระบบการผลิต แต่การบริหารจัดการในแปลงค่อนข้างยุ่งยากกว่าการปลูกในระบบเคมี การถ่ายทอดความรู้เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ผลิต คือตัวเกษตรกร มีความสำคัญยิ่งในการสนับสนุนให้เกิด ผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทางกลุ่มจึงจัดทำโครงการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกเพื่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพแก่เกษตรกร

เกษตรกรมีความรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพได้

20.00 20.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกของเกษตรกร

เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกได้

20.00 20.00
3 เพื่อส่งเสริมการบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษ

จำนวนครัวเรือนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษ

246.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
17 ม.ค. 67 - 21 ก.พ. 67 ฝึกอบรมความรู้พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ 0 1,800.00 -
2 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 พัฒนาทักษะการเพาะปลูกพืชแบบปลอดภัยต่อสุขภาพ 0 8,200.00 -
24 เม.ย. 67 - 9 พ.ค. 67 ตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิต 0 5,000.00 -
10 พ.ค. 67 - 15 ส.ค. 67 กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรมีความรู้ถึงพิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรต่อสุขภาพ
2.เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพาะปลูกของเกษตร
3.เกษตรกรมีทักษะการเพาะปลูกพืชแบบปลอดภัยต่อสุขภาพ 4.ผู้บริโภคได้บริโภคผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรไม่มีสารเคมีปนเปื้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 09:37 น.