กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอย่างยั่งยืนโรงเรียนบ้านอ่างทอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

โรงเรียนบ้านอ่างทอง นางสาวรักษณา ลีหมื่นแกว้น

โรงเรียนบ้านอ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

10.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

7.00

โรงเรียนบ้านอ่างทองมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีทักษะด้านการคิด และทักษะในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งความสมบูรณ์ด้านร่างกายนับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการพัฒนาด้านสติปัญญาและด้านอื่นๆ หากผู้เรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีย่อมส่งผลต่อสุขภาพกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส ตลอดจนสติปัญญาที่ดีพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกทั้งการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงและการสร้างอาชีพในอนาคต จึงได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางสารอาหารอย่างเพียงพอ และครบถ้วน สมวัย อีกทั้งเป็นการลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิตวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ประกอบอาหารกลางวัน และกระจายผลิตผลออกสู่ชุมชนเพื่อนำไปจำหน่ายเป็นรายได้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

10.00 7.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

7.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 39
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 84
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คณะครูประชุมเพื่อหาแนวทางในการทำกิจกรรมและสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน
2.ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อหาความร่วมมือในการเชื่อมโยงกับชุมชน
3.ชี้แจงและมอบหมายงานให้กับนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะครูและนักเรียนทราบบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน
2.เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถานศึกษาและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การลงมือปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
การลงมือปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ดำเนินงานตามโครงการโดยแบ่งเป็น 2 ฐาน คือ ฐานผักปลอดสารพิษ (ดินเพาะพันธ์ จำนวน 40 กระสอบ ๆ 30 บาทเงิน 1,200 บาท ,ปุ๋ยหมัก จำนวน 20 กระสอบ ๆ 40 บาทเงิน 800 บาท รวม2,000 บาท)
ฐานเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ (ลูกปลาดุกพันธ์บิ๊กอุย จำนวน 2,000 ตัว ๆ ละ 2 บาท เงิน 4,000 บาท,อาหารปลาดุกขนาดเล็ก/กลาง/ใหญ่ (เฉลี่ย ตัวละ 7 บาท) เงิน 14,000 บาท รวม 18,000 บาท
2. จัดซื้อวัสดุ/พืช/สัตว์ตามโครงการ
3.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายในการดูแลฐานต่างๆในศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 2 ศูนย์การเรียนรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนได้ทำกิจกรรมแปลงเกษตรและฐานการเรียนรู้ต่างที่ได้รับมอบหมาย ร้อยละ 100
2.จัดซื้อวัสดุในกิจกรรมการดำเนินงานโครงการทั้งหมด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสอบและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจสอบสภาพความพร้อมของวัสดุ/ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการว่ามีความพร้อมเพียงใด และยังขาดอะไรบ้าง
2) ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการรวมทั้งการใช้งบประมาณเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่โดยให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานโดยภาพรวมของแต่ละกิจกรรมว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การสรุปและรายงานผล

ชื่อกิจกรรม
การสรุปและรายงานผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นำผลการดำเนินงานมาสรุปร่วมกันกับคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง นักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อดีข้อเสียของโครงการแล้วนำมาปรับปรุง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้ข้อมูลจากการดำเนินงานมาสรุปโครงการ
  2. โครงการที่ดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 5
2. เด็กเล็ก (อายุ 2 - 6 ปี) มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 5
3. โรงเรียนพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรให้เหมาะแก่การศึกษาและนำผลิตผลมาใช้ประโยชน์ในโครงการอาหารกลางวัน
4. นักเรียนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางการเกษตรร้อยละ 100


>