กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันอย่างยั่งยืนโรงเรียนบ้านอ่างทอง
รหัสโครงการ 67-L3365-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านอ่างทอง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิต ทองเกตุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 39 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 84 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
10.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
7.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านอ่างทองมีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีทักษะด้านการคิด และทักษะในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งความสมบูรณ์ด้านร่างกายนับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการพัฒนาด้านสติปัญญาและด้านอื่นๆ หากผู้เรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีย่อมส่งผลต่อสุขภาพกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส ตลอดจนสติปัญญาที่ดีพร้อมที่จะเรียนรู้ อีกทั้งการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงและการสร้างอาชีพในอนาคต จึงได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางสารอาหารอย่างเพียงพอ และครบถ้วน สมวัย อีกทั้งเป็นการลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิตวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ประกอบอาหารกลางวัน และกระจายผลิตผลออกสู่ชุมชนเพื่อนำไปจำหน่ายเป็นรายได้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

10.00 7.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

7.00 5.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 67 ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน 0 0.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 การลงมือปฏิบัติงาน 0 20,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 67 การตรวจสอบและประเมินผล 0 0.00 -
1 - 30 ก.ย. 67 การสรุปและรายงานผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 5
  2. เด็กเล็ก (อายุ 2 - 6 ปี) มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 5
  3. โรงเรียนพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรให้เหมาะแก่การศึกษาและนำผลิตผลมาใช้ประโยชน์ในโครงการอาหารกลางวัน
  4. นักเรียนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางการเกษตรร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2566 12:03 น.