กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลจะนะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวจะนะร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลจะนะ

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลจะนะ

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลฮาเล็ม เปาะอีแต

พื้นที่ 9 ชุมชน เทศบาลตำบลจะนะ (1.ชุมชนบ้านนา 2.ชุมชนอัตตักวา 3.ชุมชนบ้านนาใต้4.ชุมชนร่มเย็น 1 5.ชุมชนร่มเย็น 26.ชุมชนคลองลึก 7.ชุมชนก้าวหน้า 8. ชุมชนร่มเกล้า 9.ชุมชนชวาทอง)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่า

 

0.00

1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI - CI ในชุมชนยังเกินร้อยละ 10 ทำให้เกิดความชุกของลูกน้ำยุงลายเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก
2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย CI ในโรงเรียน และศาสนสถานยังเกินค่าที่กำหนดคือ (0)
3. ประชาชนบางส่วนยังไม่ค่อยตระหนักในมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค ร้อยละ 60

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลจะนะไม่ให้เกินเป้าหมายที่กำหนด

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

0.00
2 เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

เพื่อลดดัชนีลูกน้ำยุงลายค่า HI และค่า Cl ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 และในศาสนสถานเท่ากับ 0

0.00
3 ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกมากกว่าร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 830
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุม ปรึกษาหารือคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงาน (20 คน×30 บาท ×1 มื้อ)    เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อวางแผนในการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ และประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกรายชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกรายชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะทำงาน (30 คน x 20 บาท x 9 ชุมชน x 3 ครั้ง)  เป็นเงิน 16,200 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการพร้อมออกแบบ เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ชุมชนละ 1,000 บาท x 9 ชุมชน) เป็นเงิน 9,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนพื้นที่ 9 ชุมชน ร่วมกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Big cleaning) เชิงรุกรายชุมชนเพื่อตัดวงจรชีวิตของยุงลาย  / ผลลัพธ์ : ทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25700.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่เทศบาลตำบลจะนะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกพื้นที่เทศบาลตำบลจะนะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายพร้อมน้ำมันในโรงเรียนก่อนเปิดทำการเรียนการสอน  เป็นเงิน 14,700  บาท
  • ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายพร้อมน้ำมันในชุมชนที่เกิดโรคไข้เลือดออก (ครั้งละ 600 บาท x 50 ครั้ง ) เป็นเงิน 30,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : โรงเรียนได้รับการพ่นยุงก่อนเปิดทำการเรียนการสอนทุกครั้ง และพ่นยุงในชุมชนที่เกิดโรคไข้เลือดออก ผลลัพธ์ : เพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษาและในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44700.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะทำงาน (20 คน×30 บาท ×1 มื้อ) เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต : สอบถามปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา ผลลัพธ์ : สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ และวางแผนโครงการในปีถัดไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,600.00 บาท

หมายเหตุ :
จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,600 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด ดังนี้
- งวดที่ 1 เป็นเงิน 15,450 บาท เพื่อใช้ดำเนินงานกิจกรรมที่ 1,3 ช่วงเดือน ต.ค.66 ถึง ธ.ค.66
- งวดที่ 2 เป็นเงิน 56,150 บาท เพื่อใช้ดำเนินงานกิจกรรมที่ 2,3,4 ช่วงเดือน ม.ค.67 ถึง ก.ย.67
หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลจะนะลดลง
2. ค่า HI - CI ในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 และในโรงเรียน ศาสนสถานเท่ากับ 0
3. สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายให้น้อยลง


>