กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำภอเมืองนราธิวาสจังหวัด

ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนทั่วไปที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง (คน)

 

50.00

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังขาดภูมิคุ้มกันและทักษะในการดำเนินชีวิตภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมในยุคปัจจุบันมาตรการที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประชาชนได้อย่างแท้จริงและมีความยั่งยืนประการหนึ่งคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนโดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่จะปฏิเสธและหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้ประชาชนต้องมีความตระหนักถึงการมีพฤติกรรมปลอดภัยต่อตนเองและสังคมด้วยการให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรคเอดส์ยังคงเป็นมาตรฐานที่ต้องดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงของปัญหาตลอดจนผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นซึ่งที่ผ่านมาทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปัญหาโรคเอดส์ไม่มีมาตรการและแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาจึงเห็นควรให้หน่วยงานต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์และร่วมมือกันรณรงค์ป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนในการลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างมีคุณภาพ
องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2552มาตรา67(2)กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อและตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542 มาตรา 16(10) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยการนำความรู้ที่ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินการป้องกันและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ลดการแพร่ระบาดของโรค มีทักษะการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์และการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ด้วยความเข้าใจต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์

50.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยเอดส์

มีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ได้

40.00 45.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ และนำไปสู่แนวทางการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักถึงปัญหาโรคเอดส์เเละช่วยกันรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์

40.00 45.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป จำนวน 50คนในพื้นที่ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาสจังหวัดนราธิวาส งบประมาณ :
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50คนๆ ละ60 บาท เป็นเงิน3,000บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 50คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ25 บาท เป็นเงิน2,500บาท 3.ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมวัสดุอุปกรณ์จำนวน50 ชุดๆ ละ85 บาท เป็นเงิน 4,250บาท ประกอบด้วย
-กระเป๋า 1 ใบ -สมุด1เล่ม
-ปากกา1แท่ง
4.ค่าวิทยากรจำนวน1คนๆละ6 ชั่วโมงๆ ละ 600บาท เป็นเงิน3,600บาท 5. ค่าป้ายโครงการขนาด 1×3 เมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน750บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน50คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู่ในการป้องกันเเละเเก้ไขปัญหาโรคเอดส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคเอดส์ (แลกน้ำ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคเอดส์ (แลกน้ำ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม :
1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่นๆ
- กระดาษบรู๊ฟจำนวน10 แผ่น ๆ ละ15 บาท เป็นเงิน 150บาท - ปากกาเคมีจำนวน16 ด้ามๆ ละ15 บาท เป็นเงิน 240บาท - สีผสมอาหารจำนวน8 ซองๆ ละ5 บาท เป็นเงิน 40บาท - หลอด จำนวน2 ถุงๆ ละ10 บาท เป็นเงิน 20บาท - แก้วน้ำ จำนวน1 แถวๆ ละ25 บาท เป็นเงิน 25 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) : มีผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน  50  คน ผลลัพธ์ (Outcome) : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักในการป้องกันโรคเอดส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
475.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,575.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยเอดส์
3. ผู้เข้าร่วมโครงการระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ และมีแนวทางการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์


>