กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
รหัสโครงการ 67-L2490-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ อำภอเมืองนราธิวาสจังหวัด
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 14,575.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวบิสมี สูยี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนทั่วไปที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง (คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ยังขาดภูมิคุ้มกันและทักษะในการดำเนินชีวิตภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมในยุคปัจจุบันมาตรการที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในประชาชนได้อย่างแท้จริงและมีความยั่งยืนประการหนึ่งคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนโดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่จะปฏิเสธและหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้ประชาชนต้องมีความตระหนักถึงการมีพฤติกรรมปลอดภัยต่อตนเองและสังคมด้วยการให้ความสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเรื่องโรคเอดส์ยังคงเป็นมาตรฐานที่ต้องดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงของปัญหาตลอดจนผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นซึ่งที่ผ่านมาทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปัญหาโรคเอดส์ไม่มีมาตรการและแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาจึงเห็นควรให้หน่วยงานต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์และร่วมมือกันรณรงค์ป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนในการลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างมีคุณภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอซึ่งมีอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 6)พ.ศ. 2552มาตรา67(2)กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อและตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2542 มาตรา 16(10) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่การสาธารณสุขการอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยการนำความรู้ที่ได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินการป้องกันและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ลดการแพร่ระบาดของโรค มีทักษะการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์และการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ด้วยความเข้าใจต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์

50.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยเอดส์

มีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยเอดส์ได้

40.00 45.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ และนำไปสู่แนวทางการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักถึงปัญหาโรคเอดส์เเละช่วยกันรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์

40.00 45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,575.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ 0 14,100.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมการสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคเอดส์ (แลกน้ำ) 0 475.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ป่วยเอดส์
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ และมีแนวทางการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 00:00 น.