กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขให้ผู้สูงวัย ด้วยสมุนไพรและหลักโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองสะเตงนอก จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 เพื่อวัตถุประสงค์จริง เสริมความรักสามัคคีส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมพลังการส่งเสริมอาชีพให้เหมาะสมกับวัย ซึ่งอยู่ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนจากเทศบาลเมืองสะเตงนอก แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณเพื่อทำกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จึงระดมความคิดแผนและมีมติที่ประชุม ขอสนับสนุนงบประมาณ โดยมีกิจกรรม ดังต่อไปนี้
กิจกรรม ที่ 1 การทำลูกประคบจากพืชสมุนไพร
พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี ซึ่งในปัจจุบันยังมีการใช้พืชสมุนไพรสำหรับอุปโภคและบริโภคเพื่อสุขภาพ แม้ว่าทางการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามีบทบาททางการรักษาโรคเพิ่มขึ้น ทำให้การใช้พืชสมุนอาจลดลงบ้าง สืบเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้การใช้สมุนไพรในประเทศไทยลดลงน้อยลงแต่ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์พืชสมุนไพร เพราะพืชสมุนไพรยังคงเป็นกลุ่มพืชที่คนให้ความสนใจอยู่เป็นจำนวนมาก และมีการประยุกย์ใช้สมุนไพรในงานทางการแพทย์ด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางการรักาที่ควบคู่กับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบัน และเป็นการลดการใช้ยาที่ส่งผลต่อการโรคไตในระยะยาว และในปัจจุบันจะสังเกตุได้ว่าผู้สูงอายุจะมีอาการปวดเมื่อยตามกระดูกและข้อ มีการปวดเมื่อยตามร่างกายอันเนื่องจากการทำงาน และเมื่อร่างกายถูกนำไปใช้งานในการประกอบอาชีพมากขึ้น อาจเกิดข้อติดได้ในผู้สูงอายุบางราย ดังนั้นทางชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสะเตงนอก จึงเห็นความสำคัญในการดูแลและป้องกันการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุด้วยกัน
กิจกรรมที่ ๒ การส่งเสริมการโภชนาการให้เหมาะกับวัย
การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมพบว่ามีความสำคัญก็คือ ภาวะโภชนาการ และวิถีทางดำเนินชีวิต การที่ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้มากเกินไป มีผลซ้ำเติมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อมอยู่แล้วให้เสื่อมยิ่งขึ้น การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงต้องคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร โดยเน้นความสมดุลความพอเหมาะพอดี และความหลากหลายของอาหาร นอกจากรี้การออกกำลังกายการผ่อนคลายทางกายและจิตและการหลีกเลี่ยงสิ่งเป็นพิษก็เป็นพิษก็เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับพื้นฐานการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการเนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำงานด้อยลง การรับรู้รสและกลิ่นน้อยลง ทำให้ความอยากอาหารลดลงด้วย ประกอบกับมีปัญหาเรื่องเหงือกและฟันและระบบการย่อยการดูดซึมอาหารไม่ดี จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บางที่ก็ท้องผูกมีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายปัญหาของผู้สูงอายุในเรื่องอาหารการกิน จึงมีปัญหาทั้งกินไม่ได้และกินไม่พอจนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เช่น การขาดแร่ธาตุแคลเซียมและเหล็กและขาดวิตามินต่างๆ และถ้าผู้สูงอายุได้อาหารบางอย่างมากไปไม่ถูกส่วน หรือไม่ได้ครบ 5 หมู่ ก็อาจเกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันอุดตันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะชลอหรือป้องกันได้ถ้าผู้ใกล้ชิดหรือมีความเกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความเอาใจใส่ แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคอาหาร
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองสะเตงนอก มีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายแข็งแรง จึงได้จัดทำ โครงการสร้างสุขให้ผู้สูงวัย ด้วยสมุนไพรและหลักโภชนาการ นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยการใช้ลูกประคบสมุนไพรในการรักษาอาการป่วยเบื้องต้น

 

0.00
2 2.เพื่อให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมกับวัย

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 210
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้การทำลูกประคบจากพืชสมุนไพร และการส่งเสริมการโภชนาการให้เหมาะกับวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้การทำลูกประคบจากพืชสมุนไพร และการส่งเสริมการโภชนาการให้เหมาะกับวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 75 บาท x 3 รุ่น          15,750  บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 35 x 2 มื้อ x 3 รุ่น            14,700  บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 500 บาท x 3 รุ่น              9,000    บาท 4.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตรๆละ 300 บาท จำนวน 1 ผืน              900      บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ลูกประคบ) ประกอบด้วย    - ไพล จำนวน 40 กก. x 150 บาท                            6,000    บาท    - ขมิ้นชัน จำนวน 16 กก. x 100 บาท                          1,600    บาท    - ตะไคร้ จำนวน 16 กก. x 100 บาท                        1,600    บาท    - มะกรูด จำนวน 8 กก. x 100 บาท                          800      บาท    - ข่า จำนวน 8 กก. x 80 บาท                              640      บาท    - เกลือ จำนวน 4 กก. x 50 บาท                            200      บาท    - พิมเสน จำนวน 4 กก. x 1,000 บาท                            4,000   บาท    - การบูร จำนวน 4 กก. x 800 บาท                          3,200   บาท    - ผ้าขาวบาง ขนาด 30 ซม. x 30 ซม. x 70 ผืน x 20 บาท x 3 รุ่น        4,200   บาท    - เชือกยาว 1 เมตร x 70 เส้น x 10 บาท x 3 รุ่น                  2,100   บาท    - มีด จำนวน 21 เล่ม x 20 บาท                            420      บาท    - เขียง จำนวน 21 อัน x 50 บาท                          1,050   บาท    - กะละมัง จำนวน 21 ใบ x 50 บาท                          1,050   บาท 6.ค่าวัสดุอุปกรณ์ (อาหารเพื่อสุขภาพ) ประกอบด้วย    - ปูอัด จำนวน 15 แพ็ค x 55 บาท x 3 รุ่น                    2,475   บาท    - แผ่นเมียง จำนวน 60 ห่อ x 8 บาท x 3 รุ่น                      1,440   บาท    - แตงกวา จำนวน 5 กก. x 40 บาท x 3 รุ่น                      600      บาท    - ผักสลัด จำนวน 3 กก. x 120 บาท x 3 รุ่น                        1,080   บาท    - พริก จำนวน 0.5 กก. x 120 บาท x 3 รุ่น                    180      บาท    - มะนาว จำนวน 2 ขวด x 80 บาท x 3 รุ่น                      480      บาท    - กระเทียม จำนวน 0.5 กก. x 100 บาท x 3 รุ่น                150      บาท    - น้ำตาล จำนวน 3 กก. x 30 บาท x 3 รุ่น                      270      บาท    - มายองเนส จำนวน 4 ถุง x 60 บาท x 3 รุ่น                        720      บาท    - ผักชี 50 บาท x 3 รุ่น                            150      บาท    - แครอท จำนวน 1 กก. x 70 บาท x 3 รุ่น                      210      บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
74965.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 74,965.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยการใช้ลูกประคบสมุนไพรในการรักษาอาการป่วยเบื้องต้น
2. สมาชิกผู้สูงอายุมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภชที่เหมาะสมกับวัย


>