กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรู้ทันป้องกันภัยโรคสครัปไทฟัส ปี2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้ทันป้องกันภัยโรคสครัปไทฟัส ปี2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหิน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พรวน

-

ม.7-ม.9ตำบลท่าหินอำเภอสทิงพระจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคสครัปไทฟัสเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มกลุ่มโรคไข้รากสาด ที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานาจนถึงปัจจุบันโดยโรคนี้ยังมีอยู่ในหลายพื้นที่กระจายทั่วทุกภาคแต่เนื่องจากอาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง การรักษาง่าย อัตราการแต่เนื่องจากอาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง การรักษาง่าย อัตราการตายต่ำ และการวินิจฉัยโรคยังไม่มีการพัฒนาทั้งองค์ความรู้และห้องปฏิบัติการดีพอที่จะช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงการรายงานโรคจึงมีความคาดเคลื่อนไปจากสถานการณืจริงที่เกิดขึ้นส่งผลให้การรักษาที่การรักษาที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรส่งผลต่อการดำเนินไปของโรคให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นมีโรคแทรกซ้อนต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ตับม้ามโต ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะหายใจล้มเหลวทำให้เสียชีวิตได้
สถานการณ์โรคสครัปไทฟัสจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค แต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 27 ตุลาคม 2564มีรายงานพบผู้ป่วยโรคสครัปไทฟัส 2506 รายผู้เสียชีวิต 1 รายโดยพบว่าเครือข่ายบริการสุขภาพเขตที่ 12 ผู้ป่วยสูงสุด จำนวน 1246 รายผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบในชนบทร้อยละ 76.48-88.42 ช่วงฤดูฝนหรือเดือนพฤษภาคม ของทุกๆปีและจะมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม จากรายงานสถานการณ์ของเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน หมู่ที่ 7-9 ตำบลท่าหิน มีผู้ป่วยในปีปี 2562 จำนวน 2 รายคิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.15 ปี 2563 พบผู้ป่วย 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ0.14 และปี 2566( กรกฎาคม 2566) พบผู้ป่วย 1ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.07 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา)ทำสวน ทำไร่ ทำนา เคี่ยวน้ำตาลโตนด)โดยกลุ่มเป้าหมายที่มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 298 หลังคาเรือนจากจำนวนหลังคาคาเรือนทั้งหมด 359 หลังคาเรือน คิดร้อยเป็นละ 83 มีโอกาสในการรับเชื้อโรคซึ่งไรหนูเป็นพาหะในการนำโรคหากเกษตรกรมีโอกาสไปสัมผัสแล้วไม่รู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้องมีโอกาสสูงในการก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้มากกว่าปกติและหากผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคสครัปไทฟัสก็จะสามารถสังเกตตนเองพร้อมกับให้ประวัติแก่แพทย์ผู้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องก็สามารถส่งผลต่อการ วินิจฉัยโรคได้ทันท่วงทีการรักษาก็จะสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้การรู้เท่าทันต่อโรคและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถทำให้การเกิดอัตราการป่วย/ตายลดลง เพื่อป้องกันการเกิดโรคสครัปไทฟัส ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวนจึงได้จัดทำโครงการรู้ทัน ป้องกันโรคสครัปไทฟัสเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้มีองค์ความรู้และสามารถป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง ลดภาวะค่าใช้จ่ายและการสูญเสียชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในทุกหลังคาเรือน มีความรู้ในการป้องกันโรคสครัปไทฟัส ร้อยละ 100

เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงสาเหตุและการป้องกันโรคสครัปไทฟัสที่ถูกต้อง

359.00 200.00
2 เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยขณะก่อนและหลัง การไปทำงานเกษตรกรรม(ทำนา ทำสวนทำ ไร่ เคี่ยวน้ำตาลโตนด )ทุกครั้ง

เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยขณะก่อนและหลัง การทำกิจกรรมด้านการเกษตรทุกประเภท

740.00 140.00
3 อัตราป่วยตายของผู้ป่วยโรคสครัปไทฟัส 5 ปี ย้อนหลังลดลง

เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคสครัปไทฟัสในพื้นที่รับผิดชอบลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDIAN ย้อนหลัง 5 ปี

10.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,112
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เดินรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคสครัปไทฟัส

ชื่อกิจกรรม
เดินรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคสครัปไทฟัส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นกิจกรรมเดินรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคสครัปไทฟัส มีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาดป้าย 2.8 x 1.2เมตร จำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
2.ป้ายเดินรณรงค์ ขนาดป้าย 2.8 x 1.2 เมตร จำนวน 3 ป้าย ๆ ละ 500บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคสครัปไทฟัสและสามารถปฎิบัติตนได้อย่างถูกต้องและลดอัตราป่วยตาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมบ้านแบบเคาะประตู

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านแบบเคาะประตู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นกิจกรรมเดินเยี่ยมบ้านแบบเคาะประตูบ้านพร้อมแจกแผ่นพับ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 1,000 แผ่น ๆ ละ 0.50 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคสครัปไทฟัส สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
2. ลดอัตราการป่วยตายจากโรคสครัปไทฟัส


>