กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ทันป้องกันภัยโรคสครัปไทฟัส ปี2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พรวน
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพรชัย กลัดเข็มทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1112 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคสครัปไทฟัสเป็นโรคหนึ่งในกลุ่มกลุ่มโรคไข้รากสาด ที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานาจนถึงปัจจุบันโดยโรคนี้ยังมีอยู่ในหลายพื้นที่กระจายทั่วทุกภาคแต่เนื่องจากอาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง การรักษาง่าย อัตราการแต่เนื่องจากอาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง การรักษาง่าย อัตราการตายต่ำ และการวินิจฉัยโรคยังไม่มีการพัฒนาทั้งองค์ความรู้และห้องปฏิบัติการดีพอที่จะช่วยในการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงการรายงานโรคจึงมีความคาดเคลื่อนไปจากสถานการณืจริงที่เกิดขึ้นส่งผลให้การรักษาที่การรักษาที่ไม่ถูกต้องเท่าที่ควรส่งผลต่อการดำเนินไปของโรคให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นมีโรคแทรกซ้อนต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ตับม้ามโต ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะหายใจล้มเหลวทำให้เสียชีวิตได้ สถานการณ์โรคสครัปไทฟัสจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค แต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 27 ตุลาคม 2564มีรายงานพบผู้ป่วยโรคสครัปไทฟัส 2506 รายผู้เสียชีวิต 1 รายโดยพบว่าเครือข่ายบริการสุขภาพเขตที่ 12 ผู้ป่วยสูงสุด จำนวน 1246 รายผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบในชนบทร้อยละ 76.48-88.42 ช่วงฤดูฝนหรือเดือนพฤษภาคม ของทุกๆปีและจะมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม จากรายงานสถานการณ์ของเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน หมู่ที่ 7-9 ตำบลท่าหิน มีผู้ป่วยในปีปี 2562 จำนวน 2 รายคิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.15 ปี 2563 พบผู้ป่วย 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ0.14 และปี 2566( กรกฎาคม 2566) พบผู้ป่วย 1ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 0.07 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา)ทำสวน ทำไร่ ทำนา เคี่ยวน้ำตาลโตนด)โดยกลุ่มเป้าหมายที่มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 298 หลังคาเรือนจากจำนวนหลังคาคาเรือนทั้งหมด 359 หลังคาเรือน คิดร้อยเป็นละ 83 มีโอกาสในการรับเชื้อโรคซึ่งไรหนูเป็นพาหะในการนำโรคหากเกษตรกรมีโอกาสไปสัมผัสแล้วไม่รู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้องมีโอกาสสูงในการก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้มากกว่าปกติและหากผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคสครัปไทฟัสก็จะสามารถสังเกตตนเองพร้อมกับให้ประวัติแก่แพทย์ผู้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องก็สามารถส่งผลต่อการ วินิจฉัยโรคได้ทันท่วงทีการรักษาก็จะสามารถหายได้อย่างรวดเร็ว และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้การรู้เท่าทันต่อโรคและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะสามารถทำให้การเกิดอัตราการป่วย/ตายลดลง เพื่อป้องกันการเกิดโรคสครัปไทฟัส ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวนจึงได้จัดทำโครงการรู้ทัน ป้องกันโรคสครัปไทฟัสเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้มีองค์ความรู้และสามารถป้องกันโรคได้ด้วยตนเอง ลดภาวะค่าใช้จ่ายและการสูญเสียชีวิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในทุกหลังคาเรือน มีความรู้ในการป้องกันโรคสครัปไทฟัส ร้อยละ 100

เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงสาเหตุและการป้องกันโรคสครัปไทฟัสที่ถูกต้อง

359.00 200.00
2 เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยขณะก่อนและหลัง การไปทำงานเกษตรกรรม(ทำนา ทำสวนทำ ไร่ เคี่ยวน้ำตาลโตนด )ทุกครั้ง

เพื่อให้ประชาชนเข้าใจการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัยขณะก่อนและหลัง การทำกิจกรรมด้านการเกษตรทุกประเภท

740.00 140.00
3 อัตราป่วยตายของผู้ป่วยโรคสครัปไทฟัส 5 ปี ย้อนหลังลดลง

เพื่อให้จำนวนผู้ป่วยและอัตราป่วยด้วยโรคสครัปไทฟัสในพื้นที่รับผิดชอบลดลงเมื่อเทียบกับค่า MEDIAN ย้อนหลัง 5 ปี

10.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,000.00 0 0.00
12 ก.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 เดินรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคสครัปไทฟัส 0 3,500.00 -
12 ก.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 เยี่ยมบ้านแบบเคาะประตู 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคสครัปไทฟัส สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
  2. ลดอัตราการป่วยตายจากโรคสครัปไทฟัส
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2567 00:00 น.