กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมู่บ้านปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านน้อย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านน้อย

นางเรียมเข็มครุธ
นายศิริพันธ์ เพ็ญนคร

ตำบลบ้านน้อย หมู่ที่ 1-6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพดีของประชาชน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน
ในการดำรงชีวิตและพัฒนาประเทศ การส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี ไม่เกิดการเจ็บป่วย เป็นสิ่งสมควร ให้การสนับสนุน โดยในปีงบประมาณ 2548เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายประกาศให้มีการรณรงค์ด้านอาหารปลอดภัย เพราะฉนั้นอาหารที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพหรือก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่ส่งผลในระยะยาว ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย จึงต้องมีระบบการดูแล ตรวจสอบคุณภาพที่ผลิตขึ้นทุกขั้นตอน ตั้งแต่วัตถุดิบ ( การเพาะปลูก หรือเพาะเลี้ยง ) การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่ายถึงผู้บริโภค ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแล เฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภค
จากการดำเนินงานเมืองไทยแข็งแรงในปี 2550ในตัวชี้วัดเรื่องอาหาร สถานีอนามัยตำบลบ้านน้อยได้เก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจเพื่อค้นหารสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ประเภท คือ ยาฆ่าแมลงสารกันรา สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ และสารฟอร์มาลิน พบยาฆ่าแมลงตกค้างในอาหารแต่ปลอดภัยจำนวน7 ตัวอย่างจากที่ส่งทั้งหมด50ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 14.00 และผลจากการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างจำนวน323คน พบไม่ปลอดภัยจำนวน15คนคิดเป็นร้อยละ4.6
ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลบ้านน้อยได้เห็นความสำคัญของนโยบายอาหารปลอดภัยและเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลบ้านน้อยและสนับสนุนนโยบายเมืองไทย แข็งแรงจึงได้จัดทำโครงการกินดีปลอดภัยร่างกายปลอดสารพิษขึ้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลเฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภคให้มีความปลอดภัยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความตั้งใจผลิตอาหารที่ดี มีคุณภาพ และผู้บริโภคได้บริโภคอาหารและเลือกซื้ออาหารที่มีความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปแบบของชมรมและยั่งยืน ประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ส่วนรวม ไม่เจ็บป่วยจากการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดและเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอาทิเช่น ดิน แม่น้ำ ของตำบลบ้านน้อยและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านแผงลอย ร้านอาหารและประชาชนทั่วไปมีความรู้เรื่องการ เลือกซื้อและการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้ร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายเครือข่ายกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ

 

0.00
4 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 160
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/12/2023

กำหนดเสร็จ 15/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านโดยมีกิจกรรมดังนี้

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านโดยมีกิจกรรมดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้บริโภคทั่วไป และสาธิตการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. เจาะโลหิตตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด พร้อมทั้งแจ้งผลให้ทราบ
  3. สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจากร้านค้าและทดสอบสารไอโอดีนในเกลือ
  4. ประชาสัมพันธ์การต่อต้านการใช้สารเคมีและติดป้ายประชาสัมพันธ์การต่อต้านสารพิษและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลให้กับประชาชนในหมู่บ้านรับทราบผ่านเวทีการประชุมหมู่บ้าน
  5. ประสานงานกับโรงพยาบาลโพทะเลในการออกสุ่มประเมินการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและให้ความรู้เรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 ธันวาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินกิจกรรมงานคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินกิจกรรมงานคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อวางแผนการดำเนินงานการออกตรวจร้านแผงลอยและร้านชำในตำบล
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและดำเนินการตามแผน
  3. ออกตรวจและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการร้านชำประจำปีและให้คำแนะนำ จำนวน2ครั้ง
  4. ออกตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น และให้คำแนะนำร้านอาหารและแผงลอยจำนวน2ครั้ง
  5. เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจยาฆ่าแมลงตกค้างในผักและสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันราฟอร์มาลินในตำบล
  6. แจ้งผลการตรวจให้ร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผู้ประกอบการทราบและมอบป้ายCleanfoodgoodtasteให้กับร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์
  7. ประชาสัมพันธ์การเลือกซื้ออาหารที่ถูกต้องแก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวและสื่ออื่นๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 ธันวาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23050.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการขยายเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการขยายเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 ธันวาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,050.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (1 มื้อ)สำหรับประชาชนที่รับการตรวจสารพิษจำนวน160คนคนละ 25บาท เป็นเงิน 4,000.-บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2 มื้อ) อาหารกลางวัน (1 มื้อ) ในการอบรมผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารจำนวน 50 คนเป็นเงิน 5,000.- บาท
3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600.- บาท
4. ค่าวัสดุชันสูตร เป็นเงิน8,000.-บาท
3.ค่าอาหารสำหรับคณะกรรมการในการออกตรวจคนละ 100 บาท*10*2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ เป็นเงิน450.- บาท
เป็นเงินทั้งสิ้น 23,050.-บาท
หมายเหตุ:ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
2. มีกลุ่มผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ
3. มีการเฝ้าระวังงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
4. ลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร และแพ้สารเคมีทางการเกษตร


>