กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านน้อย
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ธันวาคม 2566 - 15 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 23,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเรียม เข็มครุฑ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวปาจรีย์ เนียมจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ธ.ค. 2566 15 ส.ค. 2567 23,050.00
รวมงบประมาณ 23,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การมีสุขภาพดีของประชาชน ถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน ในการดำรงชีวิตและพัฒนาประเทศ การส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพดี ไม่เกิดการเจ็บป่วย เป็นสิ่งสมควร ให้การสนับสนุน โดยในปีงบประมาณ 2548เป็นต้นมา รัฐบาลมีนโยบายประกาศให้มีการรณรงค์ด้านอาหารปลอดภัย เพราะฉนั้นอาหารที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพหรือก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่ส่งผลในระยะยาว ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดภัย จึงต้องมีระบบการดูแล ตรวจสอบคุณภาพที่ผลิตขึ้นทุกขั้นตอน ตั้งแต่วัตถุดิบ ( การเพาะปลูก หรือเพาะเลี้ยง ) การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่ายถึงผู้บริโภค ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการกำกับดูแล เฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภค จากการดำเนินงานเมืองไทยแข็งแรงในปี 2550ในตัวชี้วัดเรื่องอาหาร สถานีอนามัยตำบลบ้านน้อยได้เก็บตัวอย่างอาหารส่งตรวจเพื่อค้นหารสารปนเปื้อนในอาหาร 5 ประเภท คือ ยาฆ่าแมลงสารกันรา สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ และสารฟอร์มาลิน พบยาฆ่าแมลงตกค้างในอาหารแต่ปลอดภัยจำนวน7 ตัวอย่างจากที่ส่งทั้งหมด50ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 14.00 และผลจากการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างจำนวน323คน พบไม่ปลอดภัยจำนวน15คนคิดเป็นร้อยละ4.6 ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคตำบลบ้านน้อยได้เห็นความสำคัญของนโยบายอาหารปลอดภัยและเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษตำบลบ้านน้อยและสนับสนุนนโยบายเมืองไทย แข็งแรงจึงได้จัดทำโครงการกินดีปลอดภัยร่างกายปลอดสารพิษขึ้น เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลเฝ้าระวังอาหารที่ผลิตและบริโภคให้มีความปลอดภัยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความตั้งใจผลิตอาหารที่ดี มีคุณภาพ และผู้บริโภคได้บริโภคอาหารและเลือกซื้ออาหารที่มีความปลอดภัยต่อตนเองและครอบครัว มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปแบบของชมรมและยั่งยืน ประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ส่วนรวม ไม่เจ็บป่วยจากการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกระแสเลือดและเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอาทิเช่น ดิน แม่น้ำ ของตำบลบ้านน้อยและหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านแผงลอย ร้านอาหารและประชาชนทั่วไปมีความรู้เรื่องการ เลือกซื้อและการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้ร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายเครือข่ายกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ

 

0.00
4 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 23,050.00 0 0.00
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านโดยมีกิจกรรมดังนี้ 0 0.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ดำเนินกิจกรรมงานคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้ 200 23,050.00 -
13 ธ.ค. 66 - 15 ส.ค. 67 ส่งเสริมการขยายเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
  2. มีกลุ่มผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ
  3. มีการเฝ้าระวังงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
  4. ลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร และแพ้สารเคมีทางการเกษตร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2567 00:00 น.