กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตเบาหวาน ด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกายสบายชีวี ประจำปี 2561

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตเบาหวาน ด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกายสบายชีวี ประจำปี 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านชุมชน และวัฒนธรรม รวมทั้งภาวะสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะวิถีชีวิต พฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน พฤติกรรมการบริโภคมีการเปลี่ยนแปลง การทํางานอย่างเร่งรีบโดยเฉพาะกลุ่มที่มีเวลาจํากัด เป็นเหตุให้เกิดความสนใจและเอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวน้อยลงทําให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ซึ่งสาเหตุการตายของประเทศไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ อุบัติเหตุ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งตามลําดับ โรคดังกล่าวประเทศไทยเรียกว่า โรควิถีชีวิต คือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคแต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล อาหารสําเร็จรูปประเภทถุงมีวางจําหน่ายหาซื้อง่าย ราคาถูก การโฆษณาอาหารที่ให้พลังงานสูง อาหารบริการด่วนและบริการส่งถึงบ้าน ทําให้อาหารที่ให้พลังงานสูงที่นานๆ เคยได้กินทีกลายเป็นสิ่งที่กินได้ทุกวัน กินผักผลไม้น้อย คนไทยเฉลี่ยกินผักและผลไม้วันละ 270 กรัม ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่แนะนําวันละ 400 กรัมต่อวัน และขาดการออกกําลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น
จากสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปีงบประมาณ 2557-2559 จํานวน 16, 73 และ 32 ราย ตามลําดับ โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีงบประมาณ 2557-2559 จํานวน 52, 65 และ 42 ราย ตามลําดับ (ข้อมูลจากโปรแกรมคลินิกมินิ โรงพยาบาลคำม่วง ปี 2557, 2558 และ 2559) และจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว (FCG) ผู้ป่วยเบาหวานในเขตตำบลดินจี่ ล่าสุด เดือนพฤศจิกายน 2560 พบ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ (>125 mg/dl) จำนวน 170 ราย จากการสอบถามกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำไม่ได้ กลุ่มดังกล่าวอยู่ในช่วงวัยทํางานเป็นส่วนมากต้องทํางานหาเลี้ยงครอบครัว ไม่ค่อยมีเวลาในการปรุงหรือประกอบอาหารจึงซื้ออาหารปรุงสําเร็จซึ่งสะดวกกว่า ขาดการออกกําลังกายที่เหมาะสม อีกทั้งสังคมวัฒนธรรม งานบุญประเพณีต่างๆ มักจัดเลี้ยงอาหารที่มีไขมันสูง รสจัดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลให้มีดัชนีมวลกายเกิน รอบเอวเกิน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน ด้วยวิถีธรรม ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑” ขึ้น โดยการประยุกต์ใช้การแพทย์วิถีธรรมเป็นแนวทางในการเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในครั้งนี้ ซึ่งหลักการคือ “ใช้สิ่งที่ประหยัดที่สุดแต่ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดด้วยวิธีที่เรียบง่าย ได้ผลรวดเร็ว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น เป็นหลัก ประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตได้ และมีความยั่งยืน” โดยการเรียนรู้เทคนิค 9 ข้อ (ยา 9 เม็ด) ซึ่งได้แก่ ยาเม็ดที่ 1 น้ำสมุนไพรไทยปรับสมดุลร้อนเย็น, ยาเม็ดที่ 2 การกัวซา หรือขูดซา, ยาเม็ดที่ 3 การสวนล้างพิษออกจากลำไส้ใหญ่ (ดีท็อกซ์) , ยาเม็ดที่ 4 การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร, ยาเม็ดที่ 5 การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร, ยาเม็ดที่ 6 การออกกำลังกายด้วยโยคะ กดจุดลมปราณ แกว่งแขน สมาธิบำบัด SKT, ยาเม็ดที่ 7 การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็น, ยาเม็ดที่ 8 การใช้หลักธรรมะลดกิเลสเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค, ยาเม็ดที่ 9 รู้เพียรรู้พัก ด้วยนาฬิกาชีวิต และร่างกายบอกโรค เป็นหมอด้วยตนเองเพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ และสามารถนำความรู้และทักษะไปดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ให้มีสุขภาวะที่ดี ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล ระยะเวลา ๓ วัน
จำนวน 1 ค่าย
2. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เข้าร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
สุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระดับตำบล
3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น (

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 170
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1. ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2. เสนอโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล และติดตามการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 1.3. ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล, อสม. แกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับตำบล Case manager ระดับอำเภอ ผู้ประสานงานระดับอำเภอ 1.4 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทบทวนความรู้และพิจารณาหลักสูตร (พิจารณาจากยา 9 เม็ด) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง 1.5. คัดเลือก กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี (>125 mg/dl) ตามความพร้อมและความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ และผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคเบาหวาน เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลักสูตรสุขภาพดี วิถีธรรม
1.6. ประชาสัมพันธ์ ส่งหนังสือเชิญผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ การจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ผ่านทางแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน
2.1. จัดอบรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระยะเวลา 3 วัน ไป–กลับ ดำเนินการแบบเข้าค่าย ไป–กลับ จำนวน 1 ค่าย โดยบูรณาการการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน จาก Case manager ระดับอำเภอมาให้สุขศึกษาแบบเข้มข้น รวมทั้งเรื่องเล่าประสบการณ์การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมาโดยตลอด รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมินผล 6 เดือน 2.2. ใช้สุขศาลาเป็นศูนย์กลางประสานงานของ รพ.สต. อสม. และแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯ ในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามแนวทางสุขภาพดี วิถีธรรม โดยมีการประเมินพฤติกรรม และสุขภาวะตามเครื่องมือที่กำหนด
2.3. คณะกรรมการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ตำบลดินจี่ ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร ทุก 3 เดือน
2.4 จัดกิจกรรมถอดบทเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯ และเชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี 2.5 สรุปผลการดำเนินโครงการ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ผ่านการอบรมจะสามารถนำความรู้และทักษะไปดูแลสุขภาพ ของตนเองและผู้อื่นได้
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดีขึ้นไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
4. เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี


>