กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่ รหัส กปท. L0330

อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตเบาหวาน ด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ขยับกายสบายชีวี ประจำปี 2561
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่
3.
หลักการและเหตุผล

ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านชุมชน และวัฒนธรรม รวมทั้งภาวะสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะวิถีชีวิต พฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน พฤติกรรมการบริโภคมีการเปลี่ยนแปลง การทํางานอย่างเร่งรีบโดยเฉพาะกลุ่มที่มีเวลาจํากัด เป็นเหตุให้เกิดความสนใจและเอาใจใส่ต่อสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวน้อยลงทําให้เกิดปัญหาสาธารณสุข ซึ่งสาเหตุการตายของประเทศไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ อุบัติเหตุ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งตามลําดับ โรคดังกล่าวประเทศไทยเรียกว่า โรควิถีชีวิต คือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคแต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป โดยบริโภคอาหารหวาน มัน และเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาล อาหารสําเร็จรูปประเภทถุงมีวางจําหน่ายหาซื้อง่าย ราคาถูก การโฆษณาอาหารที่ให้พลังงานสูง อาหารบริการด่วนและบริการส่งถึงบ้าน ทําให้อาหารที่ให้พลังงานสูงที่นานๆ เคยได้กินทีกลายเป็นสิ่งที่กินได้ทุกวัน กินผักผลไม้น้อย คนไทยเฉลี่ยกินผักและผลไม้วันละ 270 กรัม ซึ่งต่ำกว่าปริมาณที่แนะนําวันละ 400 กรัมต่อวัน และขาดการออกกําลังกาย จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนเพิ่มขึ้น จากสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปีงบประมาณ 2557-2559 จํานวน 16, 73 และ 32 ราย ตามลําดับ โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีงบประมาณ 2557-2559 จํานวน 52, 65 และ 42 ราย ตามลําดับ (ข้อมูลจากโปรแกรมคลินิกมินิ โรงพยาบาลคำม่วง ปี 2557, 2558 และ 2559) และจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว (FCG) ผู้ป่วยเบาหวานในเขตตำบลดินจี่ ล่าสุด เดือนพฤศจิกายน 2560 พบ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ (>125 mg/dl) จำนวน 170 ราย จากการสอบถามกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำไม่ได้ กลุ่มดังกล่าวอยู่ในช่วงวัยทํางานเป็นส่วนมากต้องทํางานหาเลี้ยงครอบครัว ไม่ค่อยมีเวลาในการปรุงหรือประกอบอาหารจึงซื้ออาหารปรุงสําเร็จซึ่งสะดวกกว่า ขาดการออกกําลังกายที่เหมาะสม อีกทั้งสังคมวัฒนธรรม งานบุญประเพณีต่างๆ มักจัดเลี้ยงอาหารที่มีไขมันสูง รสจัดและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ส่งผลให้มีดัชนีมวลกายเกิน รอบเอวเกิน
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน ด้วยวิถีธรรม ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑” ขึ้น โดยการประยุกต์ใช้การแพทย์วิถีธรรมเป็นแนวทางในการเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในครั้งนี้ ซึ่งหลักการคือ “ใช้สิ่งที่ประหยัดที่สุดแต่ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดด้วยวิธีที่เรียบง่าย ได้ผลรวดเร็ว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น เป็นหลัก ประยุกต์เข้ากับวิถีชีวิตได้ และมีความยั่งยืน” โดยการเรียนรู้เทคนิค 9 ข้อ (ยา 9 เม็ด) ซึ่งได้แก่ ยาเม็ดที่ 1 น้ำสมุนไพรไทยปรับสมดุลร้อนเย็น, ยาเม็ดที่ 2 การกัวซา หรือขูดซา, ยาเม็ดที่ 3 การสวนล้างพิษออกจากลำไส้ใหญ่ (ดีท็อกซ์) , ยาเม็ดที่ 4 การแช่มือแช่เท้าหรือส่วนที่ไม่สบายในน้ำสมุนไพร, ยาเม็ดที่ 5 การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ เช็ด ด้วยสมุนไพร, ยาเม็ดที่ 6 การออกกำลังกายด้วยโยคะ กดจุดลมปราณ แกว่งแขน สมาธิบำบัด SKT, ยาเม็ดที่ 7 การรับประทานอาหารปรับสมดุล ตามภาวะร้อนเย็น, ยาเม็ดที่ 8 การใช้หลักธรรมะลดกิเลสเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค, ยาเม็ดที่ 9 รู้เพียรรู้พัก ด้วยนาฬิกาชีวิต และร่างกายบอกโรค เป็นหมอด้วยตนเองเพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ และสามารถนำความรู้และทักษะไปดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ให้มีสุขภาวะที่ดี ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1. ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2. เสนอโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ต่อคณะกรรมการกองทุนสุขภาพระดับตำบล และติดตามการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 1.3. ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล, อสม. แกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับตำบล Case manager ระดับอำเภอ ผู้ประสานงานระดับอำเภอ 1.4 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทบทวนความรู้และพิจารณาหลักสูตร (พิจารณาจากยา 9 เม็ด) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง 1.5. คัดเลือก กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี (>125 mg/dl) ตามความพร้อมและความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ และผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคเบาหวาน เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลักสูตรสุขภาพดี วิถีธรรม
    1.6. ประชาสัมพันธ์ ส่งหนังสือเชิญผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ การจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ผ่านทางแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับตำบล

    งบประมาณ 49,800.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน
    รายละเอียด

    กิจกรรมที่ 2การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน
    2.1. จัดอบรมค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สุขภาพดี วิถีธรรม ระยะเวลา 3 วัน ไป–กลับ ดำเนินการแบบเข้าค่าย ไป–กลับ จำนวน 1 ค่าย โดยบูรณาการการให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน จาก Case manager ระดับอำเภอมาให้สุขศึกษาแบบเข้มข้น รวมทั้งเรื่องเล่าประสบการณ์การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมาโดยตลอด รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมินผล 6 เดือน 2.2. ใช้สุขศาลาเป็นศูนย์กลางประสานงานของ รพ.สต. อสม. และแกนนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯ ในการป้องกัน ควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตามแนวทางสุขภาพดี วิถีธรรม โดยมีการประเมินพฤติกรรม และสุขภาวะตามเครื่องมือที่กำหนด
    2.3. คณะกรรมการดำเนินงานหมู่บ้านต้นแบบสุขภาพดี วิถีธรรม ตำบลดินจี่ ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร ทุก 3 เดือน
    2.4 จัดกิจกรรมถอดบทเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านค่ายฯ และเชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี 2.5 สรุปผลการดำเนินโครงการ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ

    งบประมาณ 4,600.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561

8.
สถานที่ดำเนินการ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 54,400.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้ผ่านการอบรมจะสามารถนำความรู้และทักษะไปดูแลสุขภาพ ของตนเองและผู้อื่นได้
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดีขึ้นไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
  4. เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่ รหัส กปท. L0330

อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่ รหัส กปท. L0330

อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 54,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................