กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ชุมชนตำบลดินจี่ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2561

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะสำคัญ โดยสามารถนำเชื้อโรคจากผู้ป่วยไปแพร่ระบาดสู่คนอื่นได้ด้วยการกัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกาย โดยหลังจากได้รับเชื้อ 3-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลียซึม และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ร่วมด้วยในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเลือดออกในอวัยวะภายในทำให้เกิดอาการช็อคและอาจเสียชีวิตได้ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุ ที่พบมากอยู่ระหว่าง 2-10 ปี ในทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก มีวงจรการระบาดในลักษณะ ปีเว้นปีหรือปีเว้น 2 ปี แต่ในปัจจุบันพบว่ามีการระบาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคมของทุกปี
จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของตำบลดินจี่ในอดีตที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2558 พบผู้ป่วย จำนวน 4 ราย ปี 2559 พบผู้ป่วย จำนวน 6 ราย และปี 2560 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 8ราย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยเกือบทุกหมู่บ้าน ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดของโรคเกิดขึ้นแล้วหากการควบคุมโรคทำไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเกิดการระบาดของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้างขวางจะทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายในการรักษาและควบคุมโรคค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการพ่นยากำจัดยุงลาย ดังนั้น แนวทางการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ไห้เกิดในชุมชนที่ดีที่สุดคือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในทุกชุมชนประสานและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรต่างๆในชุมชน เช่น ผู้นำชุมชน คณะอสม. อบต. และภาคีเครือข่ายต่างๆดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนตำบลดินจี่ร่วมใจ ป้องกันภัย โรคไข้เลือดออก ปี 256๑ ขึ้น เพื่อดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลดินจี่และเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2. เพื่อการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน และเครือข่ายองค์กรในชุมชนในการกำจัดลูกน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนตำบลดินจี่ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนตำบลดินจี่ร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ขั้นเตรียมการ
1. เขียนโครงการและแผนงาน ขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
    2. ขั้นดำเนินการ         กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครไข้เลือดออกตำบลดินจี่ หลักสูตรมุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านการแก้ไชปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน จำนวน 150 คน (บูรณาการในเวทีการจัดประชุมประจำเดือน)         กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน โดยอาสาสมัครไข้เลือดออกตำบลดินจี่ ผ่านทางเสียงตามสายทุกหมู่บ้านทุกวันศุกร์         กิจกรรมที่ 3 รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายพร้อมกันทุกหมู่บ้าน จำนวน 1 วัน (กลุ่มผู้นำชุมชน คณะอสม. อบต.และภาคีเครือข่ายต่างๆ)
        กิจกรรมที่ 4 อาสาสมัครไข้เลือดออกและประชาชนที่เป็นเจ้าของบ้านในหลังคาเรือนนั้นๆ ร่วมกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ ทุกหมู่บ้าน         กิจกรรมที่ 5 สำรวจและประเมินหมู่บ้านปลอดลูกน้ำแบบไขว้หมู่บ้าน จำนวน 4 ครั้ง ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2561 (โดยอาสาสมัครไข้เลือดออกทุกหมู่บ้าน)
        กิจกรรมที่ 6 ประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายในระดับตำบล จำนวน 1 วัน (มอบเกียรติบัตรหมู่บ้านที่มีค่า HI, CI ไม่เกินร้อยละ10 และไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตลอดระยะเวลาของโครงการ)         กิจกรรมที่ 7 หากเกิดการระบาดของโรคในพื้นที่จะทำการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลาย และสำรวจค่า HI, CI ในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วย
กิจกรรมที่ 8 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 1 ครั้ง ในหัวข้อหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย พร้อมสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค จุดแข็ง จุดเด่น และกลวิธีดำเนินงานของแต่ละหมู่บ้าน มาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานในปีต่อไป และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ หมู่บ้านที่ชนะการประกวดหมู่บ้านปลอดลูกน้ำ (บูรณาการในเวทีการจัดประชุมประจำเดือน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
2. ค่า HI, CI ไม่เกินร้อยละ10 (ร้อยละของบ้านที่พบลูกน้ำ HI, ร้อยละของภาชนะที่พบลูกน้ำ CI)
3. ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักและช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ


>