กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2561 (เพิ่มเติม)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2561 (เพิ่มเติม)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

เทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา ได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลเชิกรุก ให้แก่ประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง และสร้างหลักประกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือองค์กรประชาชน ให้คลอบคลุมเป้าหมายกลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุน และแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่
ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา ได้วางแผนระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพภายใต้การอภิบาลผ่านความร่วมมือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างความเป็นเจ้าของของทุกภาคส่วนในพื้นที่เทศบาล เป็นเครื่องมือสำคัญสนับสนุนการจัดทำแผนงาน โครงการและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละ 80 ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนมีการเข้าร่วมประชุมตามกำหนดการที่กำหนด
80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของกองทุน หลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา และส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายต่างๆ มีส่วนร่วมการของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ
  1. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน กองทุนฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. กองทุนมีการสนับสนุนงบประมาณให้ภาคีเครือข่ายในปีงบประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
60.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกองทุน หลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา และเน้นการส่งเสริมให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข
  1. ร้อยละ 80 ของชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา มีความพึงพอใจ ในการดำเนินงานกองทุนฯ
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 65

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/02/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ (19 คน) 4 ครั้ง/ปี เพิ่มเติม พี่เลี้ยงกองทุนฯ จำนวน 1 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ (19 คน) 4 ครั้ง/ปี เพิ่มเติม พี่เลี้ยงกองทุนฯ จำนวน 1 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเบี้ยประชุม 1 คนๆ ละ 400.-บาท จำนวน 4  ครั้ง
                                           เป็นเงิน     1,600.-บาท
  2. ค่าพาหนะในการเดินทาง 1 คนๆ ละ 100.-บาท จำนวน 4 ครั้ง                       เป็นเงิน      400.-บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  1 คนๆ ละ 25.-บาท/ มื้อ  จำนวน 4 ครั้ง          เป็นเงิน      100.-บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1 คน (กรณีคาบเกี่ยวเวลาอาหารกลางวัน) คนละ 80 บาท/มื้อ  จำนวน 4 ครั้ง
                                             เป็นเงิน     320.-บาท
  5. ค่าถ่ายเอกสารการประชุม จำนวน  1  เล่มๆ ละ    80.-บาท จำนวน 4 ครั้ง             เป็นเงิน    320.-บาท
                     รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน  2,740.-บาท
                         (เงินสองพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนสามารบริหารจัดการที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2740.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ กองทุนฯ (21 คน) 4 ครั้ง/ปี เพิ่มเติม ผู้นำเสนอโครงการ จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน/โครงการ กองทุนฯ (21 คน) 4 ครั้ง/ปี เพิ่มเติม ผู้นำเสนอโครงการ จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้นำเสนอโครงการ จำนวน 30 คนๆ ละ 25.- บาท/ มื้อ  จำนวน 4 ครั้ง
                                            เป็นเงิน    3,000.-บาท
                      รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน  3,000.-บาท
                         (เงินสามพันบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้โครงการตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 11 กิจกรรมบริหารจัดการกองทุนฯ (เพิ่มเติม)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 11 กิจกรรมบริหารจัดการกองทุนฯ (เพิ่มเติม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดซื้อโทรศัพท์สำนักงานแบบไร้สาย
       จำนวน 1 เครื่อง                  เป็นเงิน   2,500.-บาท
  2. ค่าจัดซื้อโต๊ะและเก้าอี้สำนักงาน
        จำนวนอย่างละ 1 ตัว           เป็นเงิน   6,000.-บาท

               รวมกิจกรรมที่ 11 เป็นเงิน 8,500.-บาท
                          (เงินแปดพันห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนบริหารจัดการที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา สามารถบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. องค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลามีความเข้าใจใน
บทบาทหน้าที่สามารถดำเนินงานกองทุนฯเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
3. ประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา มีส่วนร่วมและเข้าถึงบริการของกองทุนฯ
4. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา มีการเผยแพร่การดำเนินงานของกองทุนฯ


>