กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลา ครั้งที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของโรคหัดจังหวัดยะลา (1 ก.ย. – 20 ต.ค. 61)จำนวนผู้ป่วย 641 รายพบผู้ป่วยสูงสุดคือ อ.ยะหา 147 ราย รองลงมา อ.บันนังสตา 114 รายอ.กาบัง 95 รายอ.ธารโต 75 รายอ.เมืองยะลา 74 รายอ.กรงปินัง 69 รายอ.รามัน 52 รายและ อ.เบตง 15 รายตามลำดับ(1 ก.ย. – 22 ต.ค. 61)เสียชีวิต 9 ราย
อ.กรงปินัง 4 รายอ.บันนังสตา 2 รายอ.ธารโต 2 รายอ.กาบัง 1 ราย

และรายงานสถานการณ์ของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลา จากกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลศูนย์ยะลาพบผู้ป่วยสงสัยโรคหัด เพิ่มขึ้นจาก 7 ราย(1 ก.ย. – 11 ต.ค. 61) เป็น 15 ราย(1 ก.ย. – 22 ต.ค. 61) เป็นเด็กอายุ 0 – 4 ปีจำนวน 10 รายอายุ 5 – 9 ปีจำนวน 1 รายอายุ 15 – 19 ปีจำนวน 1 รายอายุ 20 – 24 ปีจำนวน 1 รายอายุ 35 – 39 ปีจำนวน 1 ราย อายุ 45 – 49 ปีจำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นเด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดไม่ครบตามเกณฑ์และไม่ทราบหรือไม่แน่ใจว่าได้รับวัคซีนหรือไม่และจากรายงานผลการรณรงค์เร่งรัดติดตามให้วัคซีนรวมป้องกันโรคหัดคางทูมและหัดเยอรมัน(MMR)เด็กอายุตั้งแต่ 9 เดือน – 5 ปี ในเขตเทศบาลนครยะลาของกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลยะลาณ วันที่ 23 ตุลาคม2561 พบว่า MMR 1 เป้าหมายจำนวน 136 รายผลงาน 36 รายคิดเป็น ร้อยละ 25.89และMMR 2 เป้าหมายจำนวน 242 รายผลงาน 37 รายคิดเป็น ร้อยละ 15.28
ในการนี้เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น และเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลาจึงขอจัด“โครงการป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคหัดในเขตเทศบาลนครยะลาครั้งที่ 2” โดยเพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมายคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรีกลุ่มอาชีพครูอนามัยโรงเรียนครูประจำชั้นอนุบาลและครูที่เกี่ยวข้องช่วยดำเนินการประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคหัด และช่วยตรวจสอบและติดตามการได้รับวัคซีนในกลุ่มเด็กเล็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจเรื่องโรคหัด และวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรี  กลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง จำนวน  300  คน         2. ครูอนามัยโรงเรียน  ครูประจำชั้นอนุบาล และครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง
100.00
2 2. เพื่อให้ความรู้เรื่อง โรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง แก่ครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้นอนุบาล และครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง
  1. ครูและผู้ดูแลเด็ก  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีผลการเรียนรู้เฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
            2. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการประชุม/อบรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/10/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทางวิชาการ แนวทางการป้องกันโรคหัดระบาด แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน (อสม.) กลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 300 คน ระยะเวลาครึ่งวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทางวิชาการ แนวทางการป้องกันโรคหัดระบาด แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน (อสม.) กลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 300 คน ระยะเวลาครึ่งวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 300 คนๆ ละ     1 มื้อๆ ละ 25.-บาท            เป็นเงิน    7,500.-บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง
        ชั่วโมงละ 600.-บาท        เป็นเงิน     1,800 บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องเขียน
                                         เป็นเงิน   5,000.-บาท

            รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 14,300.-บาท
             (เงินหนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่อง โรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง แก่ครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้นอนุบาล และครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เรื่อง โรคหัดและวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง แก่ครูอนามัยโรงเรียน ครูประจำชั้นอนุบาล และครูที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 แห่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องเขียน
                                         เป็นเงิน  10,000.-บาท      รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 10,000.-บาท            (เงินหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน(อสม.) กลุ่มสตรีกลุ่มอาชีพครูอนามัยโรงเรียนครูประจำชั้นอนุบาล ครูที่เกี่ยวข้องและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจเรื่องโรคหัด และวัคซีนป้องกันโรคหัดที่ถูกต้อง
2. ไม่เกิดการระบาดของโรคหัดเพิ่มขึ้น และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคหัด ในเขตเทศบาลนครยะลา


>