กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโกตาสดใส ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านโกตา

1.นางรัชนี เรืองติก
2.นางยลรดี ทองรักษา
3.นายอิสมาแอล เหร็มเหมาะ
4.นายนิรัตน์ อนุรักษ์วิริยะกุล
5.นางมาลิวัลย์ อนรรฆวี

โรงเรียนบ้านโกตา ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล

วัยเด็กเป็นวัยกำลังเจริญเติบโต การดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้ดียิ่งขึ้น แต่การที่จะให้เด็กพัฒนาได้เต็มศักยภาพจริงเด็กต้องบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งโดยธรรมชาติเด็กมีนิสัยชอบเล่นอยู่แล้วและยิ่งเป็นระยะที่เด็กมีพัฒนาการในอัตราสูงเด็กจะชอบเล่นในสิ่งที่ต้องใช้กำลังด้วย เช่น กระโดดโลดเต้น เล่นชกต่อย เล่นวิ่งไล่จับกัน เป็นต้น จนบางครั้งผู้ใหญ่เป็นห่วงเกรงว่าเด็กจะเจ็บป่วย เนื่องจากการเล่นที่เหนื่อยมาก แต่แท้ที่จริงการเล่นออกกำลังกายเป็นประโยชน์และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เด็กพัฒนาการสมส่วนตามวัยได้เต็มศักยภาพ ดังนั้นควรส่งเสริมให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

โภชนาการเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการตามวัยของเด็ก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้เด็กวัยเรียนจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้าลงกว่าวัยก่อนเรียนและวัยทารก แต่ร่างกายยังมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เด็กวัยนี้มีพัฒนาการของร่างกายที่โตพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ในเรื่องการรับประทานอาหารอยู่แล้ว แต่ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งผลภาวะโภชนาการของเด็กวัยนี้ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของครอบครัว การควบคุมและการจัดการบริการอาหารในโรงเรียน อาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนได้ ซึ่งในปี 2561 พบ นักเรียนที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน เช่น ชอบกินขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม และไม่ชอบกินผัก การกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พัฒนาการล่าช้าและไม่สมวัย อาหารนับว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพ และอาหารที่บริโภคนั้นต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรค ปัจจุบันกระแสของผู้บริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยจากสารพิษมีการตอบรับมากขึ้น แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากผู้ใช้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด ก็คงจะไม่เกิดปัญหาสารพิษตกค้าง และในชุมชนหมู่ที่ 7 บ้านโกตา การบริโภคผักส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะซื้อจากร้านค้าในชุมชน ซึ่งร้านค้าในชุมชนก็ซื้อผักมาจากตลาด การเลือกบริโภคผักถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องให้ความสำคัญ และโรงเรียนบ้านโกตาเองส่วนหนึ่งก็ซื้อผักมาจากตลาดเพื่อที่จะประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนบริโภค ฉะนั้นการส่งเสริมการปลูกผักให้ปลอดจากสารเคมีทั้งในโรงเรียนและชุมชนเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนและลดปริมาณการบริโภคสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย โรงเรียนบ้านโกตาจึงได้จัดทำโครงการ “โกตาสดใส ใส่ใจสุขภาพ” เพื่อให้ความรู้การปลูกผัก การบริโภคผักอย่างปลอดภัย และสามารถคิดค้นเมนูอาหารจากผักได้อย่างหลากหลายซึ่งสามารถแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่ชอบทานผัก พร้อมทั้งส่งเสริมการปลูกผักในโรงเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันและขยายผลการปลูกผักไปสู่ครัวเรือนในชุมชนบ้านโกตาได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้สนใจ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารเคมีและสามารถขยายผลไปยังครัวเรือนได้
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้สนใจ ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารเคมี
  2. ร้อยละ 80 ของโรงเรียนนำผักที่ปลูกไปใช้เป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน
  3. นักเรียนร้อยละ 80 ขยายผลการปลูกผักไปยังครัวเรือน
80.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับภาวะ โภชนาการ และนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้สนใจ ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
  2. นักเรียนร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
80.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย และสนับสนุนเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน
  1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู นักการและผู้ที่สนใจ 10
ผู้ปกครองนักเรียน 37

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้สนใจ หลักสูตร 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้สนใจ หลักสูตร 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
  2. สอน/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ
  3. สอน/สาธิต ลงมือปฏิบัติจริงการสร้างแปลงผัก ย้ายต้นกลา การปลูก การดูแลรักษา
  4. นำผักที่ได้จากการปลูกไปใช้เป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน
  5. ขยายผลกการปลูกผักไปยังครัวเรือนของนักเรียน คณะครูผู้รับผิดชอบลงเยี่ยม ติดตามผล

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วัน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 4,050 บาท
  • ค่าถ่ายเอกสาร 300 แผ่นๆ ละ 0.45 บาทเป็นเงิน 135 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์(เสาร์-อาทิตย์) จำนวน 90 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน5,850 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์ (เสาร์-อาทิตย์) จำนวน 90 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.5 x 3 ตารางเมตร เป็นเงิน 675 บาท

ค่าชุดสาธิตการทำน้ำหมัก

  • ถังหมัก ขนาด 160 ลิตร จำนวน 2 ถังๆละ 580 บาท เป็นเงิน 1,160 บาท
  • กากน้ำตาล จำนวน 25 ลิตรเป็นเงิน 380 บาท
  • EM จำนวน 2 ลิตรๆละ 90 บาท เป็นเงิน 180 บาท

ค่าวัสดุในการปลูกผัก ดังนี้

  • ถาดหลุมเพาะ 7 ถาดๆ ละ 27 บาทเป็นเงิน 189 บาท
  • แกลบ 10 กระสอบๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • พลั่ว 1 อันๆละ 250 บาท เป็นเงิน 250 บาท
  • จอบ 2 ด้ามๆละ 200 บาทเป็นเงิน 400 บาท
  • ช้อนปลูก 6 อันๆละ 25 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • ช้อนพรวน 6 อันๆละ 25 บาท เป็นเงิน 150 บาท
  • บัวรดน้ำขนาดกลาง 4 ใบๆละ 70 บาท เป็นเงิน 280 บาท
  • พันธุ์ผักต่างๆ 20 ห่อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 500 บาท
  • ล้อยางรถยนต์เก่า จำนวน 15 ล้อๆละ 40 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • มูลวัว มูลไก่ จำนวน 20 กระสอบๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ตาข่ายกรองแสง จำนวน 5 ผืนๆละ 180 บาท เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักสวนครัวและบริโภคผักอย่างปลอดภัย

2.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองได้ภายในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25199.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร แก่นักเรียนและผู้ปกครอง (สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน) หลักสูตร 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร แก่นักเรียนและผู้ปกครอง (สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาทางด้านทุพโภชนาการ จำนวน 37 คน) หลักสูตร 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

  2. สอน/สาธิต ลงมือปฏิบัติการประกอบเมนูอาหารผัก โดยแบ่งผู้เข้ารับอบรมออกเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้ปกครอง คละกับนักเรียน ครู ผู้สนใจ ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ขนมจวักผัก

  • กลุ่มที่ 2 ผักชุบแป้งทอด น้ำจิ้ม

  • กลุ่มที่ 3 ยำแซบผัก

  • กลุ่มที่ 4 ข้าวผัดผักรวมมิตรห่อไข่

3 ติดตามผลการบริโภคผักไปยังผู้ปกครอง

4 ติดตามภาวะโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่อง

งบประมาณ

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์ (เสาร์-อาทิตย์)จำนวน 84 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์(เสาร์-อาทิตย์)จำนวน 84 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาทเป็นเงิน5,460 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับทำเมนูขนมจวักผักเป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับทำเมนูผักชุบแป้งทอด เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับทำเมนูยำแซบผัก เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับทำเมนูข้าวผัดผักรวมมิตรห่อไข่เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้สนใจ ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
  2. นักเรียนร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13460.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาการ สนับสนุนการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมพัฒนาการ สนับสนุนการออกกำลังกาย และส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ส่งเสริมพัฒนาการโดยใช้ตารางเก้าช่อง
  2. ออกกำลังกาย โดย ฮูลาฮุป ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น
  3. ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากรไม่ขอเบิก
  • ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 130 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท
  • ค่าฮูลาฮูป 40 อันๆละ 120 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าลูกฟุตบอล เบอร์ 5 จำนวน 2 ลูกๆละ 690 บาทเป็นเงิน 1,380 บาท
  • ค่าลูกวอลเลย์บอล1 ลูกๆละ 990 บาทเป็นเงิน 990 บาท
  • ค่าลูกตะกร้อ 2 ลูกๆละ 318 บาท เป็นเงิน 636 บาท
  • ค่าอุปกรณ์สูบลมแบบเหยียบ 1 ตัวราคาตัวละ 700 บาท
  • ค่าอุปกรณ์กีฬาพื้นบ้าน (ไม่ขอเบิก)
  • ค่าอุปกรณ์สำหรับตารางเก้าช่อง เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนร้อยละ 80 ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายและสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15756.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง
  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

    งบประมาณ
  • ค่าเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,815.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ และสามารถขยายผลการปลูกผักไปยังครัวเรือนได้
2. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ และนักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักได้เพิ่มขึ้น
3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมตามวัย


>