กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการสมวัย ใส่ใจลูกรัก สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโหนด

สำนักงานเทศบาลตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

 

2.00

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร"ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร"จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในวัยเด็กก่อนเรียน เป็นวัยที่อยู่ช่วงสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจิรญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจิรญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสิรมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจิรญเติบโต และพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจิญเติบโตไม่สมวัย ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไดโอดีน ภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจิญเติบโตเท่าที่ควร
นอกจากนั้น ยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กทีมีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพขของเด็กในอนาคต โดยการสะสมของพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่มื่อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่าง ๆที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้ดำหนดให้เด็กซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาตต ดังนั้น จีงเป็นหน้าที่ที่จะช่วยกันดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อช่วยให้เด็กได้มีอาหารกการกินที่ดี มีคุณค่าทางอาหาร และได้มาิมาณครบถ้วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการอาหาร ให้มีความรู้ตามมาตรฐานการป้องกันด้านสุขอนามัยต่าง ๆ และการจัดโภชนาการสำหรับเด็ก

ร้อยละ 90 ของผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการ ได้รับความรู้ด้านสุขอนามัย โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

2.00 180.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขลักษณะนิสัยอันดี เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

ร้อยละ 90 ของเด็ก มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์

1.00 150.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 180
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2019

กำหนดเสร็จ 30/06/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้แก่ พ่อ แม่ ผุ้ปกครอง ครู ผุ้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบการอาหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลนาโหนด จำนวน 4 ศูนย์ รวม 180 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 1 มื้อ จำนวน 180คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท จำนวน 180คน เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าจ้างถ่ายเอกสารสำหรับแจกผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 180 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
5.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท
6 ค่าเช่าเครื่องเสียง เป็นเงิน 2,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งส้ิน 22,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบการอาหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลนาโหนด เข้าร่วมโครงการ จำนวน 180 คน และผู้เข้าร่วมโครงการ มีความเข้าใจเรื่องภาวะโภชนการของเด็กร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กเล็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลนาโหนด จำนวน 150 คน มีภาวะโภชนาการปกติ
พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความรู้เรื่องโภขนาการเด็ก การป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร


>