กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ “ผู้สูงวัยฟันสวย สุขภาพช่องปากดี”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.ปันแต

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อการทำงานของระบบบดเคี้ยวส่งผลต่อภาวะโภชนาการ และสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันเพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย
เป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๓ ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป คือ ร้อยละ ๘๐ ของผู้สูงอายุมีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้ อย่างน้อย ๒๐ ซี่จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ ในกลุ่มอายุ๖๐ ปี ขึ้นไป พบว่าร้อยละ๕๗.๘ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้๒๐ ซี่ ส่วนในภาคใต้พบว่าร้อยละ๕๑.๗ของผู้สูงอายุ มีฟันอยู่ในสภาพใช้งานได้๒๐ ซี่ ผู้สูงอายุมีฟันแท้คู่สบ๔ คู่ ขึ้นไป (ฟันแท้ทั้งหมด) ร้อยละ๓๗.๔มีค่าเฉลี่ยคู่สบฟันหลัง ๓.๐ คู่/คน และผู้สูงอายุร้อยละ ๑๑.๒ ไม่มีฟันทั้งปาก
จากการสำรวจสภาวะช่องปาก ผู้สูงอายุตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปาก คิดเป็นร้อยละ 34.98 ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ที่พบคือ ตอฟันผุ คิดเป็นร้อยละ 30.28 ซึ่งการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดความผิดปกติ หรือรอยโรคใหม่ในช่องปาก เพื่อคงสภาพการใช้งานให้ได้ในวัยนี้ เป็นสิ่งจำเป็น ที่ต้องให้ความสำคัญ ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องสม่ำเสมอ ทั้งโดยผู้สูงอายุเอง หรือโดยผู้ดูแล เพื่อควบคุมป้องกัน และส่งเสริมการมีสุขภาพช่องปากที่ดี
ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ ในหมู่ที่ 1บ้านปลายคลอง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้ความสำคัญของทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น และเป็นการส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้โรคในช่องปากลุกลามและทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนแก้ไขปัญหา เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดีต่อไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น ข้อที่ 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถตรวจฟันด้วยตัวเองได้ข้อที่ 4 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำความสะอาดฟันแท้ และฟันเทียมได้ถูกวิธี ข้อที่ 5 ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่

ข้อ 1 ร้อยละ 62ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น  ข้อ 2ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น ข้อ 3 ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุสามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้ ข้อ 4ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุสามารถทำความสะอาดฟันแท้ และฟันเทียมได้ถูกวิธี  ข้อ 5 ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 100

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 97
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. ขออนุมัติโครงการ ๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดทำโครงการ ๔. สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
๑. ขออนุมัติโครงการ ๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. จัดทำโครงการ ๔. สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมหลัก ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับโรคฟันผุและอาหารที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 60 คน x 1 มื้อ x      25 บาท   เป็นเงิน 1,500 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการจำนวน 60  แผ่น x 0.5 บาท  เป็นเงิน 30  บาท 3. ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 240 แผ่น   x 0.5 บาท เป็นเงิน 120  บาท 4. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 แผ่น x 0.5 บาท     เป็นเงิน 30  บาท 5. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 แผ่น x 450  เป็นเงิน 450 บาท 2.กิจกรรมย่อย ตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ/สาธิตวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง/ฝึกทักษะการแปรงฟัน 1. ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 60 ด้าม  x 10  บาท  เป็นเงิน  600 บาท 2. ค่ายาสีฟัน จำนวน ด้าม 60 x 16 บาท     เป็นเงิน  960 บาท 3.ค่ากระเป๋าตาข่ายสำหรับใส่อุปกรณ์แปรงฟัน จำนวน  60 ใบ x 15 บาท เป็นเงิน 900 บาท 3.กิจกรรมย่อย  ตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง  ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 2.ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง 3.เกิดความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาระหว่างทันตบุคลากร อสม. ผู้สูงอายุ บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ 4. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข และได้รับการวางแผนการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4590.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,590.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
2.ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง
3.เกิดความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาระหว่างทันตบุคลากร อสม. ผู้สูงอายุ บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
4. ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข และได้รับการวางแผนการรักษา


>