กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครยะลา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสอง และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศ และระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมทางสุขภาพไม่เหมาะสมจากการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผักผลไม้น้อย) และการเคลื่อนไหวทางร่างกายน้อยลง
จากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป พ.ศ.2554 พบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่กว่า 300,000 ราย พบผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินปกติ เสี่ยงจะป่วยอีก 2.4 ล้านคน พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่กว่า 800,000 รายพบผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ เสี่ยงจะป่วยอีก 3.7 ล้านคน และพบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนแล้วรวม 176,000 ราย (ไตเสื่อม 96,000 ราย มีปัญหาทางตา 50,000รายและมีอาการชาที่เท้าหรือเท้าเป็นแผล 30,000 ราย) และจากคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 ประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เทศบาลนครยะลา พบอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร คิดเป็นร้อยละ 1.71อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร คิดเป็นร้อยละ 28.97 อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 11.63 และอัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง คิดเป็นร้อยละ 1.98
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครยะลาทั้ง 4 แห่ง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและควบคุมโรควิถีชีวิต จึงจัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครยะลาทั้ง 4 แห่ง เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนไปจนถึงลดการเสียชีวิตและการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถควบคุมโรคได้ตามเกณฑ์
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถควบคุมโรค (ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันในเลือด) ได้ตามเกณฑ์
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดโครงการให้ความรู้การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/03/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงและเตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ จำนวน 2 ครั้ง เป้าหมาย คณะทำงานศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงและเตรียมความพร้อมในการจัดโครงการ จำนวน 2 ครั้ง เป้าหมาย คณะทำงานศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆ ละ 1 มื้อๆ 25.- บาท จำนวน 2 ครั้ง
                                          เป็นเงิน        500.- บาท

รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 500.-บาท (เงินห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคติดต่อ ไม่เรื้อรัง เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 4 แห่งๆ ละ 20 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 90 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคติดต่อ ไม่เรื้อรัง เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 4 แห่งๆ ละ 20 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 90 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแขกผู้มีเกียรติ       ในพิธีเปิดการอบรม จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 30.-บาท       
                                           เป็นเงิน       600.- บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม     90 คนๆ ละ 2 มื้อๆ 30.-บาท
                                           เป็นเงิน    5,400.- บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 90 คน     คนละ 1 มื้อๆ ละ 80.-บาท                                        เป็นเงิน     7,200.- บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ                          ละ 600.-บาท      
                                           เป็นเงิน     3,600.- บาท
  5. ค่ากระเป๋าใสเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 80 ใบ                  ใบละ 50.- บาท
                                           เป็นเงิน    4,000.- บาท
    1. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 80 เล่มๆ ละ 45.-บาท
                                             เป็นเงิน    3,600.- บาท
  6. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืนๆ ละ 1,200.- บาท
                                           เป็นเงิน    1,200.-บาท
  7. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์    - ปากกา จำนวน 80 ด้ามๆ ละ 5.-บาท เป็นเงิน       400.-บาท    - สมุดบันทึก จำนวน 80 เล่มๆ ละ 20.-บาท เป็นเงิน    1,600.-บาท    - กระดาษ A4 จำนวน 2 รีมๆ ละ 135.-บาท เป็นเงิน       270.-บาท                                       เป็นเงิน  2,270.- บาท

รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 27,870.-บาท (เงินสองหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27870.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเอง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 4 แห่ง เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 4 แห่งๆ ละ 20 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในแต่ละแห่งๆ ละ 5 คน รวม 20 คน รวมทั้งสิ้น 10

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพตนเอง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 4 แห่ง เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 4 แห่งๆ ละ 20 คน รวม 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในแต่ละแห่งๆ ละ 5 คน รวม 20 คน รวมทั้งสิ้น 10
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน รวม     100 คนๆ ละ 1 มื้อๆ 25.-บาท
                                            เป็นเงิน    2,500.-บาท
  2. ค่าวัสดุเครื่องเขียนและอุปกรณ์     - ปากกา จำนวน 80 ด้ามๆ ละ 5.-บาท เป็นเงิน       400.-บาท     - กระดาษ A4 จำนวน 2 รีมๆ ละ 135.-บาท เป็นเงิน       270.-บาท                                         เป็นเงิน   670.- บาท

              รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 3,170.-บาท               (เงินสามพันหนึ่งร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การเข้าถึงการบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย


>