กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการในทุกๆ ด้านของบุคคล การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสมย่อมนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใหญ่ในอนาคต ดังนั้น เป้าหมายการพัฒนาเด็กคือการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ เพื่อให้สามารถเติบโตมีสุขภาพดี มีคุณภาพ และทำประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม การที่จะให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพได้นั้นต้องรับการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ แข็งแรง โดยเฉพาะสุขภาพช่องปากเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กสามารถบริโภคอาหารได้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปเสริมสร้างอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ (สุนิภา ชินวุฒิ, 2558) จากสถานการณ์ปัญหาทันตสุขภาพในเด็กส่วนใหญ่ พบว่า ปัญหาโรคฟันผุซึ่งจะพบทั้งฟันแท้และฟันน้ำนมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟันน้ำนมมีอัตราการฟันผุสูงมาก การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มมีการผุในเด็กอายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป (วีระนุช ไชยศรี และคนอื่นๆ, 2553) และจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า ความชุกของโรคฟันผุในฟันน้ำนมเด็กอายุ 3 ปี คือ ร้อยละ 52.9 และเด็กอายุ 5 ปี มีความชุกของโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 75.6 พบฟันผุระยะเริ่มต้นในเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ร้อยละ 31.1 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ เมื่อแบ่งลำดับตามภูมิภาคพบว่าภาคใต้มีฟันผุมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.2 (สำนักทันตสาธารณสุข, 2560)
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ได้แก่ การปล่อยให้เด็กแปรงฟันเอง ผู้ปกครองตามใจ ใจอ่อน สงสารลูกเมื่อลูกร้องขณะแปรงฟัน แปรงฟันแค่วันละครั้งไม่สะอาดทั่วถึง ไม่ได้แปรงฟันให้เด็กก่อนนอน (วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 2558) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่มีอายุ 1 - 3 ปี ของผู้ปกครอง ได้แก่ การบริโภคอาหารของเด็ก การดูแลความสะอาดช่องปากของเด็ก การตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งบางคนมีความเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่มีความสำคัญ เมื่อผุควรถอนทิ้งไม่ต้องรักษา แต่ฟันน้ำนมมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของใบหน้า ช่วยให้ฟันแท้เจริญเติบโตได้อย่างปกติ และขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากเด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด จะทำให้ไม่มีฟันเคี้ยวอาหารหรือเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก โดยจะพบฟันผุในเด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการมากกว่าเด็กปกติ (เมธินี ศุปพิทยานนท์ และสุพรรณี ศรีวิริยกุล, 2556) ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่มีอายุ 1 - 3 ปีของผู้ปกครองได้แก่ ความรู้ของ ผู้ปกครอง พบว่า ความรู้ด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากบุตรของ ผู้ปกครองทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย ซึ่งสอดคล้องตามหลักเหตุผลที่ว่าเมื่อบุคคลมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องทันตสุขภาพก็จะมีผลในพฤติกรรมกาปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เพราะความรู้เป็นปัจจัย สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งผู้ปกครอง พบว่า การรับรู้ต่อปัญหาด้านทันตสุภาพมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางช่องปากของเด็กทำให้มีความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและจะนำไปสู่การรักษาหรือการป้องกันพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางช่องปากของเด็ก (พัทธนันท์ ศิริพรวิวัฒน์, 2552)
จากรายงานข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2561 สาขาสุขภาพช่องปาก พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทั้งหมดร้อยละ 45.52 มีฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 51.81 สำหรับในพื้นที่ตำบลสะเตง มีจำนวนเด็กอายุ 3 ปี ที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทั้งหมดร้อยละ 31.46 พบว่า มีฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 28.57 ประกอบกับข้อมูลการตรวจฟันของเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ปี 2561 พบว่ามีเด็กที่มีโรคฟันผุ ร้อยละ 44.19 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันผุสูงอยู่
จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างเสริมทักษะ และให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีกิจกรรมร่วมกันจัดทำสื่อการสอนแปรงฟันเพื่อกระตุ้นความสนใจให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดูแลสุขภาพช่องปาก ให้มีความรู้ด้านการทำความสะอาดช่องปาก การเลือกรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุ โดยการจัดกิจกรรมที่เน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับการให้ความรู้ ฝึกทักษะลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสร้างความตระหนัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในแนวทางที่พึงประสงค์ จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย จังหวัดยะลา เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการดูแลตนเอง รวมถึงเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในระดับดี
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก สามารถแปรงฟันให้เด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเด็กได้
  1. ร้อยละ100 ของผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก สามารถแปรงฟันให้เด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมผ่านเกณฑ์ทุกข้อของการประเมิน
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อให้เด็กสามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเอง
  1. ร้อยละ 60 ของเด็กสามารถแปรงฟันด้วยตนเองครบทุกด้าน
0.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจฟันและได้รับการทาฟลูออไรด์ วานิชป้องกันฟันผุ
  1. ร้อยละ 100 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจฟัน และได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ
0.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อสร้างความพึงพอใจในความร่วมมือการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
  1. ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีความพึงพอใจในความร่วมมือการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา ในระดับดีขึ้นไป
0.00
6 ข้อ 6 เพื่อประเมินผลโครงการหลังจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ 3 เดือน
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มีรอยผุใหม่
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 56
กลุ่มวัยทำงาน 59
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงการดำเนินงาน เป้าหมาย คณะทำงาน ครูผู้ดูแลเด็ก ตัวแทนผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงการดำเนินงาน เป้าหมาย คณะทำงาน ครูผู้ดูแลเด็ก ตัวแทนผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างจำนวน  10 คนๆ ละ
         25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                              เป็นเงิน      250.-บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม
        จำนวน 10 เล่มๆ ละ 10 บาท                              เป็นเงิน      100.-บาท รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 350 บาท (เงินสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการแปรงฟันและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการตรวจฟัน การทาฟลูออไรด์ให้เด็ก และการจัดทำโมเดลฟันจำลองเพื่อเป็นสื่อการสอนแปรงฟัน เป้าหมาย เด็กเล็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการแปรงฟันและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการตรวจฟัน การทาฟลูออไรด์ให้เด็ก และการจัดทำโมเดลฟันจำลองเพื่อเป็นสื่อการสอนแปรงฟัน เป้าหมาย เด็กเล็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน
         115 คนๆ 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท
                                           เป็นเงิน   6,900.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้ปกครอง
       ครูผู้ดูแลเด็ก) จำนวน 59 คนๆ ละ
       1 มื้อๆ ละ 80.-บาท
                                 เป็นเงิน   4,720.-บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน
       3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                           เป็นเงิน   1,800.-บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มย่อยภาคปฏิบัติ
        จำนวน 5 กลุ่มๆ ละ 2 คนๆ ละ
        3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                 เป็นเงิน 18,000.-บาท
  5. ค่ากระเป๋าเอกสารการอบรม จำนวน
        59 ใบๆ ละ 50.-บาท
                                            เป็นเงิน    2,950.-บาท
  6. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม
       จำนวน 59 เล่มๆ ละ 20.-บาท
                                            เป็นเงิน   1,180.-บาท
  7. ค่าไวนิลความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ    ช่องปาก พร้อมขาตั้ง X-stand (ขนาด
       80X180 cm) จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 1,200                               เป็นเงิน  2,400.-บาท
  8. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ (ขนาด 1X2 m.)
        จำนวน 1 ผืนๆ ละ 600.-บาท
                                             เป็นเงิน     600.-บาท
  9. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์    - ปากกา จำนวน 59 ด้ามๆ ละ 5.-บาท                                         เป็นเงิน      295.-บาท    - สมุดบันทึก จำนวน 59 เล่มๆ ละ
         15.-บาท                                         เป็นเงิน     885.-บาท
  10. ค่าชุดแม่พิมพ์ยางโมเดลฟัน 2 ชุดๆ ละ
         1,000 บาท
                                  เป็นเงิน  2,000.-บาท
  11. ปูนพลาสเตอร์ 4 ถุงๆ ละ 35 บาท                               เป็นเงิน     140.-บาท
  12. สีอะครีลิคสีขาว และสีชมพู จำนวน
         2 กระป๋องๆ ละ 200 บาท                               เป็นเงิน     400.-บาท
  13. พู่กันทาสี จำนวน 20 อันๆละ 30 บาท                               เป็นเงิน     600.-บาท
  14. ค่าวัสดุทางการแพทย์
         - สีย้อมฟัน erythrosine จำนวน
           1ขวดๆ 100.-บาท
                                   เป็นเงิน    100.-บาท
    • ถุงมือยาง จำนวน  2  กล่องๆ ละ
           200.-บาท              เป็นเงิน   400.-บาท
      • ผ้าปิดจมูก  จำนวน 1 กล่องๆ ละ      80 บาท                 เป็นเงิน    80.-บาท    - ค่าแปรงสีฟันสำหรับเด็ก จำนวน
             56 ด้ามๆ ละ 25.-บาท
                                       เป็นเงิน 1,400.-บาท     - ค่ายาสีฟัน จำนวน 56 หลอดๆ ละ
              15.-บาท
                                       เป็นเงิน    840.-บาท      - ก้านสำลี จำนวน 1 ห่อๆ ละ 50 บาท                                เป็นเงิน     50.-บาท

รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 45,740 บาท (เงินสี่หมื่นห้าพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45740.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผล ประเมินประสิทธิผลหลังจากการดำเนินโครงการฯ 3 เดือน การตรวจฟันเด็ก และประเมินความรู้ของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก เป้าหมาย เด็กเล็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย (เด็กเล็ก จำนวน 56 คน ผู้ปกค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผล ประเมินประสิทธิผลหลังจากการดำเนินโครงการฯ 3 เดือน การตรวจฟันเด็ก และประเมินความรู้ของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก เป้าหมาย เด็กเล็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย (เด็กเล็ก จำนวน 56 คน ผู้ปกค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างจำนวน  115 คนๆ ละ
        25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                             เป็นเงิน    2,875.-บาท
  2. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมิน จำนวน
        59 ชุด ๆ ละ 3 บาท
                                เป็นเงิน       177.-บาท
  3. ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน
        จำนวน 5 เล่มๆ ละ 80 บาท                             เป็นเงิน       400.-บาท รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 3,452.-บาท (เงินสามพันสี่ร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3452.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,542.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. เป็นแนวทางการป้องกัน และการส่งต่อเพื่อให้เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษาตามความเหมาะสม
3. การให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบรรจุเนื้อหาความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากไว้ในหลักสูตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน


>