กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย จังหวัดยะลา
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
3.
หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและพัฒนาการในทุกๆ ด้านของบุคคล การอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างถูกต้องเหมาะสมย่อมนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใหญ่ในอนาคต ดังนั้น เป้าหมายการพัฒนาเด็กคือการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ เพื่อให้สามารถเติบโตมีสุขภาพดี มีคุณภาพ และทำประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม การที่จะให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพได้นั้นต้องรับการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์ แข็งแรง โดยเฉพาะสุขภาพช่องปากเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กสามารถบริโภคอาหารได้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปเสริมสร้างอวัยวะส่วนต่าง ๆ ให้เติบโตแข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ (สุนิภา ชินวุฒิ, 2558) จากสถานการณ์ปัญหาทันตสุขภาพในเด็กส่วนใหญ่ พบว่า ปัญหาโรคฟันผุซึ่งจะพบทั้งฟันแท้และฟันน้ำนมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟันน้ำนมมีอัตราการฟันผุสูงมาก การเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มมีการผุในเด็กอายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป (วีระนุช ไชยศรี และคนอื่นๆ, 2553) และจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า ความชุกของโรคฟันผุในฟันน้ำนมเด็กอายุ 3 ปี คือ ร้อยละ 52.9 และเด็กอายุ 5 ปี มีความชุกของโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 75.6 พบฟันผุระยะเริ่มต้นในเด็กอายุ 3 ปี และ 5 ปี ร้อยละ 31.1 และร้อยละ 31.3 ตามลำดับ เมื่อแบ่งลำดับตามภูมิภาคพบว่าภาคใต้มีฟันผุมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.2 (สำนักทันตสาธารณสุข, 2560)
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน สาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ได้แก่ การปล่อยให้เด็กแปรงฟันเอง ผู้ปกครองตามใจ ใจอ่อน สงสารลูกเมื่อลูกร้องขณะแปรงฟัน แปรงฟันแค่วันละครั้งไม่สะอาดทั่วถึง ไม่ได้แปรงฟันให้เด็กก่อนนอน (วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 2558) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่มีอายุ 1 - 3 ปี ของผู้ปกครอง ได้แก่ การบริโภคอาหารของเด็ก การดูแลความสะอาดช่องปากของเด็ก การตรวจสุขภาพช่องปากของเด็ก นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งบางคนมีความเชื่อว่าฟันน้ำนมไม่มีความสำคัญ เมื่อผุควรถอนทิ้งไม่ต้องรักษา แต่ฟันน้ำนมมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของใบหน้า ช่วยให้ฟันแท้เจริญเติบโตได้อย่างปกติ และขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง หากเด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด จะทำให้ไม่มีฟันเคี้ยวอาหารหรือเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก โดยจะพบฟันผุในเด็กที่มีสภาวะทุพโภชนาการมากกว่าเด็กปกติ (เมธินี ศุปพิทยานนท์ และสุพรรณี ศรีวิริยกุล, 2556) ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่มีอายุ 1 - 3 ปีของผู้ปกครองได้แก่ ความรู้ของ ผู้ปกครอง พบว่า ความรู้ด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากบุตรของ ผู้ปกครองทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย ซึ่งสอดคล้องตามหลักเหตุผลที่ว่าเมื่อบุคคลมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องทันตสุขภาพก็จะมีผลในพฤติกรรมกาปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้อง เพราะความรู้เป็นปัจจัย สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งผู้ปกครอง พบว่า การรับรู้ต่อปัญหาด้านทันตสุภาพมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางช่องปากของเด็กทำให้มีความตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและจะนำไปสู่การรักษาหรือการป้องกันพฤติกรรมการดูแลสุขภาพทางช่องปากของเด็ก (พัทธนันท์ ศิริพรวิวัฒน์, 2552) จากรายงานข้อมูล HDC (Health Data Center : ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปี 2561 สาขาสุขภาพช่องปาก พบว่า เด็กอายุ 3 ปี ที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทั้งหมดร้อยละ 45.52 มีฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 51.81 สำหรับในพื้นที่ตำบลสะเตง มีจำนวนเด็กอายุ 3 ปี ที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทั้งหมดร้อยละ 31.46 พบว่า มีฟันน้ำนมผุถึงร้อยละ 28.57 ประกอบกับข้อมูลการตรวจฟันของเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ปี 2561 พบว่ามีเด็กที่มีโรคฟันผุ ร้อยละ 44.19 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคฟันผุสูงอยู่
จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้มีแนวคิดที่จะสร้างเสริมทักษะ และให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีกิจกรรมร่วมกันจัดทำสื่อการสอนแปรงฟันเพื่อกระตุ้นความสนใจให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดูแลสุขภาพช่องปาก ให้มีความรู้ด้านการทำความสะอาดช่องปาก การเลือกรับประทานอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุ โดยการจัดกิจกรรมที่เน้นกิจกรรมการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับการให้ความรู้ ฝึกทักษะลงมือปฏิบัติจริง เพื่อสร้างความตระหนัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในแนวทางที่พึงประสงค์ จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย จังหวัดยะลา เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการดูแลตนเอง รวมถึงเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจเรื่องด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กในระดับดี
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก สามารถแปรงฟันให้เด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเด็กได้
    ตัวชี้วัด : 2. ร้อยละ100 ของผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก สามารถแปรงฟันให้เด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมผ่านเกณฑ์ทุกข้อของการประเมิน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ข้อที่ 3 เพื่อให้เด็กสามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเอง
    ตัวชี้วัด : 3. ร้อยละ 60 ของเด็กสามารถแปรงฟันด้วยตนเองครบทุกด้าน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. ข้อที่ 4 เพื่อให้เด็กได้รับการตรวจฟันและได้รับการทาฟลูออไรด์ วานิชป้องกันฟันผุ
    ตัวชี้วัด : 4. ร้อยละ 100 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจฟัน และได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. ข้อที่ 5 เพื่อสร้างความพึงพอใจในความร่วมมือการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
    ตัวชี้วัด : 5. ร้อยละ 80 ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็กมีความพึงพอใจในความร่วมมือการจัดกิจกรรมของโรงเรียนและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา ในระดับดีขึ้นไป
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 6. ข้อ 6 เพื่อประเมินผลโครงการหลังจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพ 3 เดือน
    ตัวชี้วัด : 6. ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มีรอยผุใหม่
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงการดำเนินงาน เป้าหมาย คณะทำงาน ครูผู้ดูแลเด็ก ตัวแทนผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างจำนวน  10 คนๆ ละ
          25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                             เป็นเงิน      250.-บาท
    2. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม
          จำนวน 10 เล่มๆ ละ 10 บาท                             เป็นเงิน      100.-บาท รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 350 บาท (เงินสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
    งบประมาณ 350.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการแปรงฟันและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก การฝึกทักษะการตรวจฟัน การทาฟลูออไรด์ให้เด็ก และการจัดทำโมเดลฟันจำลองเพื่อเป็นสื่อการสอนแปรงฟัน เป้าหมาย เด็กเล็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแ
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน
          115 คนๆ 2 มื้อๆ ละ 30.-บาท
                                            เป็นเงิน  6,900.-บาท
    2. ค่าอาหารกลางวัน (ผู้ปกครอง
        ครูผู้ดูแลเด็ก) จำนวน 59 คนๆ ละ
        1 มื้อๆ ละ 80.-บาท
                                  เป็นเงิน  4,720.-บาท
    3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน
        3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                            เป็นเงิน  1,800.-บาท
    4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มย่อยภาคปฏิบัติ
          จำนวน 5 กลุ่มๆ ละ 2 คนๆ ละ
          3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท
                                  เป็นเงิน 18,000.-บาท
    5. ค่ากระเป๋าเอกสารการอบรม จำนวน
          59 ใบๆ ละ 50.-บาท
                                              เป็นเงิน    2,950.-บาท
    6. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม
        จำนวน 59 เล่มๆ ละ 20.-บาท
                                              เป็นเงิน  1,180.-บาท
    7. ค่าไวนิลความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ   ช่องปาก พร้อมขาตั้ง X-stand (ขนาด
        80X180 cm) จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 1,200                               เป็นเงิน  2,400.-บาท
    8. ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ (ขนาด 1X2 m.)
          จำนวน 1 ผืนๆ ละ 600.-บาท
                                              เป็นเงิน    600.-บาท
    9. ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์   - ปากกา จำนวน 59 ด้ามๆ ละ 5.-บาท                                         เป็นเงิน      295.-บาท   - สมุดบันทึก จำนวน 59 เล่มๆ ละ
          15.-บาท                                         เป็นเงิน    885.-บาท
    10. ค่าชุดแม่พิมพ์ยางโมเดลฟัน 2 ชุดๆ ละ
          1,000 บาท
                                    เป็นเงิน  2,000.-บาท
    11. ปูนพลาสเตอร์ 4 ถุงๆ ละ 35 บาท                               เป็นเงิน    140.-บาท
    12. สีอะครีลิคสีขาว และสีชมพู จำนวน
          2 กระป๋องๆ ละ 200 บาท                               เป็นเงิน    400.-บาท
    13. พู่กันทาสี จำนวน 20 อันๆละ 30 บาท                               เป็นเงิน    600.-บาท
    14. ค่าวัสดุทางการแพทย์
          - สีย้อมฟัน erythrosine จำนวน
            1ขวดๆ 100.-บาท
                                    เป็นเงิน    100.-บาท
      • ถุงมือยาง จำนวน  2  กล่องๆ ละ
            200.-บาท              เป็นเงิน  400.-บาท
        • ผ้าปิดจมูก  จำนวน 1 กล่องๆ ละ     80 บาท                เป็นเงิน    80.-บาท   - ค่าแปรงสีฟันสำหรับเด็ก จำนวน
              56 ด้ามๆ ละ 25.-บาท
                                        เป็นเงิน 1,400.-บาท     - ค่ายาสีฟัน จำนวน 56 หลอดๆ ละ
                15.-บาท
                                        เป็นเงิน    840.-บาท     - ก้านสำลี จำนวน 1 ห่อๆ ละ 50 บาท                               เป็นเงิน    50.-บาท

    รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 45,740 บาท (เงินสี่หมื่นห้าพันเจ็ดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

    งบประมาณ 45,740.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 การติดตามและประเมินผล ประเมินประสิทธิผลหลังจากการดำเนินโครงการฯ 3 เดือน การตรวจฟันเด็ก และประเมินความรู้ของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก เป้าหมาย เด็กเล็ก ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย (เด็กเล็ก จำนวน 56 คน ผู้ปกค
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างจำนวน  115 คนๆ ละ
          25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                             เป็นเงิน    2,875.-บาท
    2. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมิน จำนวน
          59 ชุด ๆ ละ 3 บาท
                                  เป็นเงิน      177.-บาท
    3. ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน
          จำนวน 5 เล่มๆ ละ 80 บาท                             เป็นเงิน      400.-บาท รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 3,452.-บาท (เงินสามพันสี่ร้อยห้าสิบสองบาทถ้วน)
    งบประมาณ 3,452.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กห้าแยกกำปงบาโงย จังหวัดยะลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 49,542.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. เป็นแนวทางการป้องกัน และการส่งต่อเพื่อให้เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษาตามความเหมาะสม
  3. การให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบรรจุเนื้อหาความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากไว้ในหลักสูตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 49,542.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................