กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำลบลนาโหนด สำนักงานเทศบาลตำบลนาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)

 

2.00
2 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)

 

1.00
3 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

 

1.00

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรปกครองส่่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื้น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ในประเด็นต่าง ๆ คือ (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข (2) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสขภาพและการป้องกันโรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนและหน่วยงานอื้น (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล้ก หรือศูนย์ที่ดำเนินการกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกองทุน (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข และนอกเหนือจากการพิจารณาอนุมัติโครงการแล้ว คณะกรรมการกองทุน ยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติแผนการเงินประจำปี การออกระเบียบที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกองทุน สนับสนุนให้บุคคลในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งในที่บ้าน ในใชุมชน หรือหน่วยบริการให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูลและโครงการหรือกิจกรรมที่เกียวกับงานสาธารณสุขของกลุ่มเป้าหมาย แก่หน่วยงาน องค์กรหรือกลุ่มประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงาน รายงานการรับเงิน การจ่ายเงิน และเงินคงเหลือกองทุน และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานอื้น ๆ ตามความเหมาะสม
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการกองทุน และการดำเนินงานของสำนักงานเลขานุการกองทุนจึงเป็นกลไกสำคัญในความสำเร็จของการดำเนินงานของกองทุน การพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเข้าใจในระเบียบของกองทุน จะสามารถทำให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มีความถูกต้อง ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์และได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2563 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ จำนวน 20 คน

2.00 20.00
2 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ อย่างน้อย 5 หน่วยงาน

1.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ ร้อยละ 80 ของโครงการ

1.00 80.00
4 เพื่อให้คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของกองทุน

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง

2.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 18

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การบริหารจัดการกองทุน

ชื่อกิจกรรม
การบริหารจัดการกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การจัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานธุรการของกองทุน และเป็นค่าใช้จายในการเดินทางไปราชการให้กับคณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าจัดซ์้อวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน1,500 บาท
2.ค่าจัดซ์้อครุภัณฑ์ เช้น ตู้เก็บเอกสาร ชั้นวางเอกสาร ฯลฯ เป็นเงิน 6,000 บาท
3.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าเช่าที่พัก ฯลฯ เป็นเงิน 4,000 บาท
งบประมาณ 11,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สำนักบานเลขานุการกองทุน มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเพ่ิมศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเพ่ิมศักยภาพคณะกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับวิทยากร คณะกรรมการ อนุกรรมการ และผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 1 มื้อ จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับ วิทยากร คณะกรรมการ อนุกรรมการ และผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 2 มื้อ จำนวน 50 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
4.ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการอบรม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
6.ค่าเช่าสถานที่ เป็นเงิน 5,000 บาท
7.ค่าใช้จ่ายอื่่น ๆ เช่น ค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเงิน 20,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ ความเข้าใจในระเบียบการดำเนินงานของกองทุน ทำให้การดำเนินงานของกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพิจารณาอนุมัติข้อเสนอ และแผนการดูแลรายบุคคลของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาโหนด และรับทราบผลการดำเนินงานการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุตามแผนการดูแลจากผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (CG) จำนวน 5 ครั้งโดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการจำนวน 10 คน ๆ ละ 200 บาท /ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 10,000 บาท
2.ค่าตอบแทน CG ซึ่งเข้าประชุมเพื่อรายงานผลการติดตามการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุ จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 20 คน ๆ ละ 200 บาท/ครั้ง เป็นเงิน 8,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับคณะอนุกรรมการ และผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 12 คน ๆ ละ 5 ครั้ง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
4.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับ CG ซึ่งเข้าประชุมเพื่อรายงานผลการติดตามการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน ๆ ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
5.ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 22,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อเสนอการจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุและแผนการดูแลรายบุคคล ได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ครบถ้วน
คณะอนุกรรมการได้รับทราบผลการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวตามแผนการดูแลจากผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุครบถ้วนตามจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแลในรอบปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22000.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เช่น คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ อนุกรรมการฝ่ายการเงิน/พัสดุ อนุกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล เพื่อชี้แจง/รับทราบผลการดำเนินงานของกองทุน คณะละ 2 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ จำนวน  15 คน ๆ ละ 200 บาท/ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,000 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับคณะอนุกรรมการ จำนวน 15 คน  ๆล ะ2 คร้้ง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
3.ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 7,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ สามารถดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7750.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมปัญหาด้านสุขภาพจากประชาชน กลุ่ม องค์กร หน่วยงาน และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำปัญหา ความต้องการ มากำหนดเป็นประเด็นปัญหา สำหรับใช้ประกอบในการนำเสนอแผนงาน/โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลนาโหนด โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 2 คน ๆ ละ 600 บาท/ชั่วโมง เป็นเงิน 4,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับวิทยากร คณะกรรมการ และผู้เข้าร่วมประุชุม จำนวน 50คนๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากร คณะกรรมการ และผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 คนๆล ะ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
4.ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการจัดประชุม เช่น กระดาษบรูฟ ปากกาเคมี ปากกา สมุดเป็นต้น เป็นเงิน 1,500 บาท
6.ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
รวมเป็นเงิน 15,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนมีแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล ที่ครอบคลุมประเด็นปัญหาในทุก ๆ ด้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15900.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการกองทุน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการประชุมคณะกรรมการกองทุน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ การใช้จ่ายงบประมาณ การพิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบที่เกี่ยวข้องการติดต่มผลการดำเนินงานกองทุน ฯลฯ จำนวน 6 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าตอบแทนคณะกรรมการจำนวน18 คน ๆ ละ 300 บาท/ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 32,400 บาท
2.ค่าเลี้ยงรับรองอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน ๆละ 25 บาท/ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเงิน 36,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนงาน โครงการ ได้รับการอนุมัติอย่างถูกต้อง
กองทุน สามารถดำเนินงานได้ถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ
ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 113,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

คณะกรรมการได้รับการพัฒนาศักยภาพ ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานกองทุน สามารถดำเนินงานกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการต่าง ๆ ดำเนินการถูกต้อง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน
หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลนาโหนด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการในเรื่องของสุขภาพไม่น้อยกว่า 5 หน่วยงาน
สามารถติดตาม และรายงานผลการดำเนินการตามโครงการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณทั้งหมด
คณะอนุกรรมการ มีความเข้าใจในบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง ทำให้การดำเนินงานกองทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


>