กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานในกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพกรีดยาง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานในกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพกรีดยาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด( งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล)

สำนักงานเทศบาลตำบลนาโหนด หรือสถานที่อื่นที่เหมาะสม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ

 

0.00
3 จำนวนมาตรการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ หรือ โรคจากการทำงาน

 

0.00

เทศบาลตำบลนาโหนด ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลนาโหนด พบว่า มีกลุ่มแรงงานนอกระบบหลายกลุ่มที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งกลุ่มแรงงานภาคเกษตร กลุ่มแรงงานภาคการบริการ และกลุ่มแรงงานกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งกลุ่มแรงงานเหล่านี้ ขาดทักษะ และความรู้ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เนื่องจากขาดผู้นำ รวมถึงไม่มีมาตรการ ข้อบังคับ ใด ๆ ที่เป็นสื่อแสดงให้เห็นว่าถ้าปฏิบัติแล้ว จะทำให้การทำงานมีความปลอดภัย ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันในขณะทำงาน ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและเกิดโรคจากการทำงาน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานผู้ประกอบอาชีพกรีดยาง
เทศบาลตำบลนาโหนด โดยงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงานในกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพกรีดยางขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสามัครแรงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่เพ่ิมขึ้น

0.00 55.00
2 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพลดลง

0.00 10.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการ ในการทำงาน หรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ และโรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตรการในการทำงาน หรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ โรคจากการทำงานเพิ่มขึ้น

0.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลนาโหนด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ตำบลนาโหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย (อสอช.) ให้ความรูั และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4.ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 55 ชุด ๆ ละ30 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท
5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
6.ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
รวมเป็นเงิน 13950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดกลุ่มอาชีวอนามัย ตำบลนาโหนด จำนวน 55 คน
2.ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้แอพพลิเคชั่นในการสำรวข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราโดยใช้แอพพลิเคชั่น โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูลและบันทึกข้อมูล จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าจัดทำเอกสารรายงานผลการสำรวจข้อมูล เป็นเงิน 500 บาท
รวมเป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยง และภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในตำบลนาโหนด 2.เอกสารรายงานผลการสำรวจข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนามาตรการการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบ การจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนามาตรการการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทน อสอช. และตัวแทนผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา จำนวน 55 คนเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม และเพื่อร่วมกันพัฒนามาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพกรีดยาง
โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 60 คน ๆ ละ 70 บาท/มืื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท
2.ค่าอาหารว่าง ผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 60 คน ๆ ละ 2มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 55 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,200 5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
6.ค่าจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ มาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมงบประมาณ 15,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลนาโหนด 2.เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำส่วนยางพาราในพื้นที่ตำบลนาโหนด จำนวน 55 คน  โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
2.ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
4.ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 55 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท
5.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 13900

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ และระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลนาโหนด
2.เกิดกลุ่มอาสาสมัครอาชีวอนามัย ตำบลนาโหนด ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
3.เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผุ้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลนาโหนด
4.เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบาย ในการส่งเสริมการป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
5.กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราในพื้นที่ตำบลนาโหนด เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ


>