กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

1. นางสำลี ลัคนาวงศ์
2. ว่าที่ ร.ต. สุกลพรหมรักษ์
3. นายกิตติศักดิ์ สุวรรณรัตน์
1. นายลิขิตอังศุภานิชผู้ประสานงาน คนที่ 1 (08-24310006)
2. นางสาวสุรีย์คงแก้วผู้ประสานงาน คนที่ 2 ( 09-58629050 )

หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

163.00

โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสถิติระบาดวิทยาพบว่า ทั้งอัตราป่วยและอัตราตายยังสูงอยู่พบได้ทุกวัย ปัจจุบันไม่สามารถค้นคว้าวัคซีนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้คือ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อควบคุมยุงพาหะให้มีจำนวนน้อยลงจนไม่เป็นปัญหาในการระบาด ของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา จำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการควบคุมอย่างทั่วถึงให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบพร้อมๆกันอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐเอกชน องค์กรท้องถิ่น และประชาชนในชุมชน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดยุงลายจึงจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้ ปัจจัยที่มีความสำคัญ ต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ คือ ภูมิต้านทานของประชาชน ชนิดของเชื้อไวรัส ความหนาแน่นและการเคลื่อนย้ายของประชากร สภาพภูมิอากาศ ชนิดของยุงพาหะ ความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ของประชาชนในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา และนโยบายในระดับชาติ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีการแปรเปลี่ยนและมีผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาเป็นอย่างยิ่ง และยังมีส่วนทำให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี

จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24กันยายน 2562 พบว่า ผู้ป่วย93,007 ราย ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ.2561 ถึง 1.6 เท่า เสียชีวิต 98 ราย สูงกว่าปกติ คือร้อยละ 0.11 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในปีนี้พบในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กวัยเรียน และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น พบมากที่สุดคือกลุ่ม 5-14 ปี รองลงมา 15-34 ปี และแรกเกิด-4 ปี ตามลำดับ ( ที่มา: จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 24 กันยายน 2562) ส่วนสถานการณ์โรคชิคุนกุนยาหรือไข้ป่วยข้อ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 16 กันยายน 2562 พบผู้ป่วย 7,481 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ 25-34 ปี รองลงมาคือ 35-44 ปี และ 15-24 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ปัตตานี ระนอง ตาก ภูเก็ต และสงขลา ตามลำดับ (ที่มา :สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จ.สระบุรี/กองโรคติดต่อนำโดยแมลง/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค ลงวันที่ 20 กันยายน 2562)

ตำบลกำแพง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยามาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูล E1 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี 2560-2562 พบว่า ในปี 2560 มีอัตราป่วย เท่ากับ 131.52 ( 126 ราย) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2560)ในปี 2561 มีอัตราป่วย เท่ากับ 1015.72 (190 ราย) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561)และปี 2562 มีอัตราป่วย เท่ากับ 871.38 (163 ราย ) ต่อแสนประชากร ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2562)ส่วนโรคชิคุนกุนยา ข้อมูล E1 พบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่ 2561-2562 พบว่า ในปี 2561 มีอัตราป่วยเท่ากับ 972.95 (182 ราย) ต่อแสนประชากร (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561) ในปี 2562 มีอัตราป่วยเท่ากับ 58.80 (11 ราย) ต่อแสนประชากร (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ตุลาคม 2562) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมา 10-14 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ ( ที่มา : จากศูนย์ระบาดอำเภอละงู ) จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรค เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ผู้นำชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาของประชาชน/นักเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงลดลง

  2. แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

  3. แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90

  4. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90

  5. มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบ ในพื้นที่ตำบลกำแพง ร้อยละ 100

  6. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และค่า CI = 0

871.38 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค 84

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมและจัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมและจัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1. ประสานงานกับกลุ่มแกนนำ ผู้เข้าร่วมโครงการ

1.2 ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

  • การบรรยายโดยวิทยากร ฉายวิซีดี วงจรการเกิดโรค การติดต่อ อาการ การดูแลผู้ป่วย วงจรชีวิตของยุงลาย การทำลายแหล่งภาชนะ การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การกำจัดยุงลาย การปฏิบัติตัวตามหลัก 3 เก็บ การหาค่า HI ,CI

  • ให้ความรู้เรื่องการใช้ทรายอะเบท การผสมน้ำยาการดูแล การซ่อมบำรุง เครื่องพ่นหมอกควัน กิจกรรมสาธิตย้อนกลับและประเมินผลเป็นรายบุคคล เรื่องการผสมน้ำยา การใช้เครื่องพ่นหมอกควัน

1.3 ประเมินแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ

เป้าหมาย

  • คณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้าน จำนวน84คน


    งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 90คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 90 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 5,850 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เอกสารที่ใช้ในการอบรม เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะเดินทางไป-กลับ จำนวน 84 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน
  • แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29025.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ของคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน เพื่อแจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาและหาแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนยา เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 เดือน

เป้าหมาย

  • คณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้าน จำนวน84คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 90คนๆละ 4 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ เอกสารที่ใช้ในการอบรม จำนวน 4 ครั้งๆละ 1,000 เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะในการเดินทางไป-กลับ จำนวน 4 ครั้งๆละ 84 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 33,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำ เครือข่าย ทีมเฝ้าระวัง มีแผนงานและมีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นซีดี ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ในหมู่บ้านและโรงเรียน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน

3.2 รณรงค์ดำเนินกิจกรรม ( Big Cleaning) ในหมู่บ้าน/ โรงเรียน พร้อมสำรวจค่า HI,CI เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 เดือน

3.2 ประเมินบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา โดยการคัดเลือกหมู่บ้านละ 1 ครัวเรือนและโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่ผ่านการประเมิน จำนวน 2 รอบ ( 3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง) เพื่อมอบสัญลักษณ์บ้าน/โรงเรียน สะอาด ปลอดโรค ไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

เป้าหมาย

  • หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์( สปอตโฆษณา ) เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับทีมคณะเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 หมู่บ้าน 7 คนละๆ 20 บาท จำนวน 8 ครั้ง เป็นเงิน 13,440 บาท
  • ค่าแบบสำรวจ จำนวน 500 ชุดละ 1 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าธง ขนาด 30 x 45 cm เสาอะลูมิเนียม สูง 70 cm ราคาชุดละ 250 จำนวน 26 ผืน เป็นเงิน 6,500 บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประเมินบ้านต้นแบบ จำนวน 5 คนๆละ 200 บาท จำนวน 2 ครั้งๆละ 2 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาที่ถูกวิธี และเหมาะสมร้อยละ 90

  • มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบ ในพื้นที่ตำบลกำแพง ร้อยละ 100

  • ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI ไม่เกินร้อยละ 10 และค่า CI = 0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26440.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา กรณีเกิดการระบาด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา กรณีเกิดการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

4.1 จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย

4.2 รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากศูนย์ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงและลงดำเนินการควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ของแต่ละหมู่บ้าน โดยลงพ่นสารเคมีและแจกทรายอะเบท พร้อมลงสืบสวนโรค เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วัน

4.3 จัดทำแผนปฏิบัติงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ในช่วงปิดภาคเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประชาชน/เด็กนักเรียน กลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

งบประมาณ

  • ค่าเคมีภัณฑ์กำจัดยุงตัวเต็มวัยสำหรับพ่นหมอกควัน ขนาด 1 ลิตร จำนวน 3 ขวดๆละ 1,650 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ ( ทรายอะเบท) จำนวน 2 ถังๆละ 4,900 บาท เป็นเงิน 9,800 บาท
  • ค่าน้ำมันสำหรับผสมเคมีภัณฑ์ในการพ่นหมอกควันกำจัด เป็นเงิน 30,000 บาท แยกเป็น น้ำมัน เบนซิล 200 ลิตร เป็นเงิน 10,000 บาท และน้ำมัน ดีเซล 600 ลิตร เป็นเงิน 20,000 บาท
  • หน้ากากเซฟตี้กันเคมี จำนวน 3 โหล ๆละ 1,080 บาท เป็นเงิน 3,240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาของประชาชน/นักเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47990.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

5.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

5.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำเอกสารการนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการนำเสนอโครงการเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  • มีการจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 152,055.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุน ไม่เกิน 50 คน ต่อแสนประชากร ของประชาชนและนักเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
2. มีแกนนำ เครือข่าย ทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาแต่ละหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
3. แกนนำ/ประชาชน/มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ตลอดจนตระหนักถึงภัยของโรคไข้เลือดออก /โรคชิคุนกุนยา และมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. มีครัวเรือน/โรงเรียน ต้นแบบในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย


>